ถอดแบบการศึกษาโมร็อกโค สร้างครูเป็นพลังขับเคลื่อนสังคมสู่สันติสุข

88

ผู้นำองค์การ ISESCO ระบุการปรับแนวคิดเพื่อสิ่งที่ดีขึ้นต้องอาศัยเวลาและความอดทน

ในงาน สัมมนา อิสลามศึกษา:พลังขับเคลื่อนการพัฒนาและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ณ วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ศาสตราจารย์ ดร.Mustapha Foudil ตัวแทนองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมอิสลาม ราชอาณาจักรโมร็อกโก หรือ ISESCO ซึ่งมีหน้าที่หลักในการดูแลการศึกษาทั้งในระดับโรงเรียนและมหาวิทยาลัยในโมร็อกโก ได้ปาฐกถาในหัวข้อ การศึกษาอิสลาม:พื้นฐานความเข้าใจนิยามอัตลักษณ์ โดยนำเสนอว่า ตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนศึกษาคือครูซึ่งครูที่ดีต้องมีทั้งความรู้และพลังสติปัญญา หลักในการพัฒนาครูและผู้เรียนเพื่อนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจเป็นหลักการสำคัญ ทั้งนี้ ความรู้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้มนุษย์ได้ทำความรู้จักซึ่งกันและกัน ยอมรับในการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น มีความเข้าใจตัวบทที่ถูกต้องและนำไปปฏิบัติในสังคม มีความเข้าใจที่ดีในสังคม ดังนั้น ถ้าเรามีความเข้าใจหลักศาสนาอิสลามที่ถูกต้องไม่บิดเบือน ทั้งครูและนักเรียนก็จะเป็นต้นแบบในการพัฒนาความรู้

“มนุษย์หนีไม่พ้นความหลากหลายและความแตกต่าง ซึ่งเป็นอยู่แล้วในธรรมชาติของมนุษย์ มนุษย์ถูกสร้างมาให้มีความแตกต่างทั้งสังคมและรูปร่างหน้าตา ตัวหลักการที่ทำให้เราอยู่ในได้ท่ามกลางความหลากหลาย ในกระบวนการสันติภาพและสันติสุข คือต้องมีการยอมรับ การพูดคุยที่ดี แต่การปรับเปลี่ยนแนวคิดต่างๆ เพื่อสิ่งที่ดีขึ้นต้องอาศัยเวลา ความอดทน และมีหลักการที่ชัดเจน” ศาสตราจารย์ ดร.Mustapha Foudil กล่าว