สหประชาชาติลงมติท่วมท้นประณามยิว สร้างนิคมบนที่ดินปาเลสไตน์

767
เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๙ ที่ผ่านมา ที่ประชุมสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้รับเรื่องจากการที่ ๔ ชาติสมาชิก (นิวซีแลนด์,เซเนกัล,มาเลเซีย และเวเนซูเอลา) ยื่นให้พิจารณา “พฤติกรรมคุกคามอำนาจทางอธิปไตย” ของอิสราเอล sinv “Israeli settlement construction”
.
สรุปใจความได้ว่า “ไม่เห็นด้วยรวมทั้งประณาม” รัฐบาลเถื่อนไซออนิสต์อิสราเอล ที่ยังคงรุกคืบขับไล่ ยึด ทำลายแผ่นดินปาเลสไตน์พร้อมขยายฐานที่อยู่อาศัยและปลูกสิ่งก่อสร้างของตนเองอย่างผิดทำนองคลองธรรม มาในระยะเวลา 67 ปีที่ผ่านม
.
สิ่งที่อิสราเอลได้ก่ออาชญากรรมต่อประเทศปาเลสไตน์นี้ ได้เกิดมาเรื่อยๆ และเพิ่มความ “เหิมเกริม” มากขึ้น เมื่อมั่นใจได้ว่ารัฐบาลมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาไม่ต่อต้านหรือขัดขวางโดยประจักษ์ใดๆ ด้วยความฉลาดในการ “บงการ” อำนาจรัฐสหรัฐฯของยิวในหลายๆสมัยก่อนหน้านี้
.
ประกอบกับความอ่อนแอของเหล่าชาติอาหรับที่มีความวุ่นวายทั้งสถานการณ์ทางการเมืองทั้งภายในของแต่ละประเทศและการคุกคามทางอำนาจในภูมิภาค (โดยเฉพาะการขยายอิทธิพลของอิหร่าน) และวิกฤตเศรษฐกิจ (โดยเฉพาะความมั่นคงของราคาน้ำมัน)
.
สองประการนี้ทำให้ไม่ว่ากี่เรื่องๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ “อิสราเอล” ในเวทีสหประชาชาติก็ล้วนแต่ “ต้องทำใจ” แทบทั้งสิ้นสำหรับผู้รักความยุติธรรมทั้งหลาย
.
ดีขึ้นมาหน่อย ก็ต้องย้อนมติรับรองขยับสถานะของ “รัฐปาเลสไตน์” อย่างเป็นทางการในเวทีสหประชาชาติด้วยมติของชาติสมาชิกอย่างท้วมท้นเมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ หรือ ๔ ปีที่ผ่านมา
.
จำได้ว่าวันนั้น “ไซออนนิสต์” เหมือนถูก “ตบหน้า” กลางที่ประชุม
และ “ความหวัง” ของกลไกระหว่างประเทศอย่างสหประชาชาติก็สดใสอีกครั้ง

.
ที่ประชุมสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ มีมติเห็นชอบในการอยู่ตรงข้ามกับความพยายามของรัฐบาลเถื่อนอิสราเอลไซออนนิสต์ด้วยคะแนนเสียงท้วมท้น ๑๔ ต่อ ๐ จากสมาชิก ๑๕ ประเทศ โดยสหรัฐอเมริกาใช้สิทธิ์ “งดออกเสียง”
.
การงดออกเสียงของ “สหรัฐอเมริกา” ในครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ ๓๖ ปี ที่สวนทางกับนโยบายเคียงข้างอิสราเอล
.
สอดคล้องกับเจตนารมย์ส่วนตัวของ “ประธานาธิบดีบารัก โอบามา”ที่ย้ำเตือนผู้นำของอิสราเอลมาโดยตลอดถึงการหยุดยั้งความพยายามก่อสร้างใดๆในพื้นที่ขัดแย้งกับปาเลสไตน์
.
ผลของมติครั้งนี้ ทำให้นายกรัฐมนตรีอิสราเอล “เบนจามิน เนทันยาฮู” ประกาศเรียกเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศนิวซีแลนด์และเซเนกัลกลับเทลอาวีฟทันที พร้อมประกาศตัดความช่วยเหลือแก่เซเนกัล รวมทั้งยกเลิกกำหนดการเยือนของรัฐมนตรีต่างประเทศของเซเนกัลอย่างไม่แยแส
.
ในส่วนของ “ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐ” อย่าง “โดนัลด์ ทรัมป์” ก็แสดงอาการผิดหวังและโพสต์ทวิตเตอร์ส่วนตัว ย้ำถึงเหตุการณ์ครั้งที่ในสหประชาชาติว่า “จะ(ต้อง)มีการเปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอนภายหลังวันที่ ๒๐ มกราคม ที่จะถึงนี้” ซึ่งเป็นวันที่เขาจะเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ
.
ซึ่งก่อนหน้ามตินี้จะออกมาเพียงหนึ่งวัน “โดนัลด์ ทรัมป์” เพิ่งออกมากดดันประธานาธิบดี “บารัก โอบามา” ให้ตัดสินใจใช้อำนาจ “วีโต้” เพื่อทำให้คำร้องนี้ตกไป รวมถึงมีความเคลื่อนไหวว่าทางรัฐบาลอียิปต์ภายใต้การนำของ “พลเอกอับดุลฟาตาฮ์ อัลซีซี่” ที่ก่อรัฐประหารเมื่อ ๓ ปีก่อน จะขอเสนอ “ถอนมติดังกล่าว” ออกจากที่ประชุม
.
อย่างไรก็ตามยังคงต้องติดตามบทบาทของสหประชาชาติหลังจากนี้ ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อ “แผนขยายชุมชนยิวไซออนนิสต์“หลังจากนี้
.
สิ่งที่น่าสนใจอีกประการคือ คำยกย่องของ “นายกรัฐมนตรีเนทันยาฮู”แห่งรัฐเถื่อนไซออนิสต์ถึง “ว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์” ว่าเป็นดั่ง “ลมหายใจบริสุทธิ์” ภายหลัง ระยะเวลาแห่งความขัดแย้งตลอดมากับ “ประธานาธิบดีบารัก โอบามา”
.
แน่นอนว่า “การเมืองภายในมหาอำนาจสหรัฐอเมริกา” กำลังมีคลื่นแห่งการเปลี่ยนแปลงภายในอยู่ลึกๆ และระนาบของการเมืองระหว่างประเทศในนาม”สหประชาชาติ”กำลังเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงเช่นกัน
.
และก้าวย่างของ “ชาวปาเลสไตน์” ในวันนี้คือการเดินหน้า เช่นกันกับรัฐเถื่อนอย่าง”ยิวไซออนนิสต์”คือการถอยหลัง
.
แน่นอนว่า “ธรรมะย่อมชนะอธรรม”
แต่การต่อสู้ของสองสิ่งแตกต่างระหว่างกันนี้มันหนักหนา และต้องใช้ความสามารถมากมายในการยืนหยัด
.
หนึ่งในการ “หยัดยืน” ที่มีพลัง คือ “การสนใจรับรู้ความเคลื่อนไหว” ต่อสิ่งที่เกิดขึ้นของมหาชน ที่จะส่งต่อให้จุดยืนของบรรดา “รัฐชาติ”ในโลกนี้ มีความถูกต้อง กล้า และ มีศักดิ์ศรีบนความถูกต้องของสันติภาพยิ่งขึ้น.

ปล.ชาติที่เป็นสมาชิกถาวรของสหประชาชาติ ๕ ชาติเท่านั้นที่มีสิทธิพิเศษในการ “VETO” ซึ่งจะมีผลทำให้เรื่องใดๆก็ตามที่พิจารณานั้นตกไป ได้แก่ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส รัสเซีย จีน และสหรัฐอเมริกา หรือเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า กลุ่มประเทศ “P5”

ปล๒.”สมาชิกสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ” ประกอบด้วยชาติสมาชิก ๑๕ ชาติ แบ่งเป็นสองสถานะ คือ ๑.สมาชิกถาวรสหประชาชาติ อันได้แก่กลุ่มประเทศ P5 และ ๒.สมาชิกไม่ถาวร ประกอบด้วย ๑๐ ประเทศที่ได้รับเลือกเข้ามา ปัจจุบันมีประเทศ มาเลเซีย นิวซีแลนด์ เซเนกัล เวเนซุเอลา สเปน ยูเครน อุรุกวัย ญี่ปุ่น อียิปต์ และ แองโกลา

—cr.PrinceAlessandro