ชาวพุทธบุกโรงพยาบาลยะลา ขอครัวชาวพุทธ ระบุต้องบริการเท่าเทียม

1473

ชาวพุทธจังหวัดยะลา บุกยื่นหนังสือ ถือป้ายขอครัวชาวพุทธในโรงพยาบาล-ที่พักสงฆ์

กลุ่มสมาพันธ์ไทยพุทธจังหวัดยะลา รวมตัวยื่นหนังสือ รพ.ยะลา เรียกร้องดำเนินการครัวไทยสากล-ที่พักสงฆ์ เพื่อความเท่าเทียมเสมอภาค


เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2562 เวลา 10.00 น. ที่โรงพยาบาลยะลา กลุ่มสมาพันธ์ไทยพุทธจังหวัดยะลา จำนวน 60 คน นำโดยนายพงศ์พันธ์ จันทร์เล็ก ประธานสมาพันธ์ไทยพุทธจังหวัดยะลา ได้ร่วมกันเดินแสดงพลังเรียกร้องขอให้โรงพยาบาลยะลา มีครัวไทยสากล ที่พักสงฆ์ และห้องพยาบาลสงฆ์ ภายในโรงพยาบาลยะลา โดยได้เริ่มเดินออกจากวัดนิโรธสังฆาราม (วัดหัวควน) อ.เมือง จ.ยะลา ไปยังโรงพยาบาลยะลา


โดยที่โรงพยาบาลยะลา นายพงศ์พันธ์ จันทร์เล็ก ประธานสมาพันธ์ไทยพุทธจังหวัดยะลา ได้อ่านแถลงการณ์ของสมาพันธ์ไทยพุทธจังหวัดยะลา โดยมีข้อความว่า ด้วยประชาชนคนไทยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่นับถือพุทธศาสนา และเป็นผู้รับบริการสาธารณะ ใช้บริการรักษาพยาบาลจากโรงพยาบาลศูนย์ยะลา ซึ่งเป็นโรงพยาบาลของรัฐ ซึ่งประชาชนคนไทยมีสิทธิเข้ารับบริการได้โดยเสมอภาพ ไม่ว่าด้วยเหตุฉุกเฉิน หรือเหตุปกติเมื่อต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ในการรับบริการสาธารณะด้านสาธารณสุขไม่พื้นที่ใดในประเทศไทย เป็นสิทธิ์ขั้นพื้นฐานของประชาชนคนไทยทุกคน ตามรัฐธรรมนูญ ทุกฉบับตลอดมา ประชาชนคนไทยไม่ว่าจะเชื้อชาติ นับถือศาสนาใด รัฐ หน่วยงาน ต้องให้บริการสาธารณะที่มีความเท่าเทียบกัน โดยเฉพาะข้าราชการซึ่งเป็นตัวแทนของรัฐ ต้องจัดบริการสาธารณะ ซึ่งสิทธิขั้นพื้นฐานให้เท่าเทียมกันเสมอภาคกัน ไม่ว่าประชาชนคนไทยในพื้นที่ไหนรับผิดชอบจะนับถือศาสนา ประเพณี ต่างกัน จำนวนคนจะมาก จะน้อย รัฐ หน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่รัฐ ต้องจัดบริบริการสาธารณะอย่างเสมอภาค เท่าเทียมกัน ไม่มีข้อยกเว้น แต่ห้วงหลายปีหลายปีที่ผ่านมา การบริการด้านสาธารณสุข ในโรงพยาลของรัฐ โดยเฉพาะคนไทยที่นับถือพุทธศาสนา ในพื้นที่จังหวัด ชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นคนไทยส่วนน้อยในพื้นที่ หลายต่อหลายโรงพยาบาลกลับ ละเว้น หรืองดเว้น ที่จะดำเนินการสิทธิขั้นพื้นฐานให้แก่ประชาชนคนไทยที่รับบริการจากโรงพยาบาล หลายเรื่อง โดยเฉพาะด้านอุปโภค เกี่ยวอาหาร ของผู้ป่วย ญาติผู้ป่วยซึ่งใช้บริการสาธารณะของโรงพยาบาล กลับได้รับการปฏิบัติ ละเว้น งดเว้น การปฏิบัติ ที่ให้เท่าเทียมกัน เสมอภาคกัน หนึ่งในโรงพยาลเหล่านั้น มีโรงพยาบาลศูนย์ยะลาก็เช่นกัน ไม่ได้จัดให้มีบริการสาธารณะด้านอุปโภค โดยเฉพาะด้าน อาหาร เครื่องดื่ม สถานทีรับรองรักษา สำหรับบุคลากรด้านศาสนาพุทธ อธิ พระภิกษุ สามเณร เมื่อต้องอาพาธ เมื่อการเจ็บป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลซึ่งเป็นของรัฐ
“ตลอดเวลาก่อนหน้านี้ หลายต่อหลายครั้ง ประชาชนคนไทยที่นับถือพุทธศาสนา ไม่ว่า ผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย กลุ่มองค์กร ในพื้นที่ ที่รับบริการ ที่นับถือพุทธศาสนา แม้กระทั้งทางรัฐบาล ได้สั่งการ ให้โรงพยาบาลศูนย์ยะลา และโรงพยาบาลของรัฐในพื้นที่ดำเนินการด้านอุปโภค สาธารณูปโภค โดยเฉพาะต้องจัดให้มีครัวและอาหารสำหรับคนไทยพุทธ ดังนั้น โดยหนังสือฉบับนี้ สมาพันธ์ไทยพุทธ จังหวัดยะลา (สทพ.จ. ยล.) ได้รับมอบหมายจากสมาพันธ์ไทยพุทธ จังหวัดชายแดนใต้ (สทพ.จชต.) องค์กรอื่นที่เกี่ยวข้อง ประชาชนคนไทยที่นับถือพุทธศาสนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ขอเรียกร้องให้โรงพยาบาลศูนย์ยะลา และโรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง ต้องดำเนินการปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ ข้อที่ 1 โรงพยาบาลต้องจัดครัว-อาหาร คนไทยที่นับถือพุทธ เป็นสัดส่วน ข้อที่ 2 โรงพยาบาลต้องจัดให้มี อาคารหรือห้องพักรักษาสำหรับสงฆ์อาพาธ เป็นสัดส่วน หากโรงพยาบาลศูนย์ยะลา หรือ โรงพยาบาลของรัฐในพื้นที่ ไม่ดำเนินการหรือเพิกเฉย ที่เป็นรูปธรรมตามข้อเรียกร้องนี้ สมาพันธ์ไทยพุทธจังหวัดยะลา สมาพันธ์ไทยพุทธจังหวัดชายแดนชายใต้ และภาคีเครือข่าย องค์กร ประชาชนคนไทยพุทธ ทั่วพื้นที่ จักยกระดับการเรียก การดำเนินการต่อหน่วยงาน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวของข้อง ทั้งด้านกฎหมาย หรือด้านมวลชนเรียกร้องทันที” ในแถลงการณ์ ระบุ


จากนั้นนายพงศ์พันธ์ จันทร์เล็ก ประธานสมาพันธ์ไทยพุทธจังหวัดยะลา ได้มอบแถลงการณ์ดังกล่าวให้กับ นางนาตยา ศรีสุวรรณ รองผู้อำนวยการ ฝ่ายบริหาร โรงพยาบาลยะลา เพื่อให้ทางโรงพยาบาลยะลา ดำเนินการตามที่ทางสมาพันธ์ฯ เรียกร้อง


ด้าน นส.นภศร ศิริมังคะโล ตัวแทนชาวไทยพุทธ ในพื้นที่จังหวัดยะลา เปิดเผยว่า ในวันนี้ก็ต้องการมาเรียกร้องสิทธิ์ อันพึงได้ของพวกเรา พวกเราอาจจะเป็นกลุ่มที่มีเป็นจำนวนน้อยในพื้นที่สามจังหวัด แต่ความเสมอภาคก็จำเป็นจะต้องมี พวกเราจะไม่ละเมิดสิทธิ์ซึ่งกันและกัน ในเรื่องนี้ก็คงจะต้องโทษว่าเป็นผิดของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ทำให้ประชาชนเกิดความขัดแย้งขึ้นมาในใจ เป็นสิทธิ์พึงมีและพึงได้ การเรียกร้องครั้งนี้อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกลับไปทบทวนสิ่งที่ทำว่าถูกหรือผิด ทำให้เกิดความขัดแย้งที่บานปลายไปหรือไม่ ความขัดแย้งที่อยู่ในใจ ทำให้มองหน้ากันไม่ได้ อยากให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องออกคำสั่งไปเลยว่าจะดำเนินการอย่างไร เมื่อวันที่ 25 พย ที่ผ่านมาในเรื่องนี้ ท่านนายกรัฐมนตรี ก็ได้สั่งการมาแล้วเมื่อครั้งที่เดินทางมาที่ พล.ร.15 แต่เรื่องก็เงียบมาตลอด จึงต้องออกมาเรียกร้องสิทธิ์ที่ควรมีควรได้ ความเสมอภาคต่างๆ ที่จะทำให้ความขัดแย้งหมดไป


“การมีครัวไทยในโรงพยาบาลเป็นสิ่งที่จำเป็น ที่ผ่านมาทราบว่ามีการดำเนินการไปบ้างแล้ว แต่เรื่องก็เงียบไป ยังไม่เห็นว่าจะมีอะไรเคลื่อนไหว เพราะฉะนั้น อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกลับไปทบทวน แก้ไขปัญหาอย่างไร หน่วยงานต่างๆต้องมาร่วมกันประชุม หรือถ้าหากขาดแคลนทุนทรัพย์ พวกเราชาวพุทธก็พร้อมที่จะยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือกันคนละไม้คนละมือ เพื่อที่จะทำให้สิ่งที่เรียกร้องไปเป็นผล” นางสาวนภศร กล่าว

ทั้งนี้ ยังมีการระบุว่า โรงพยาบาลยังป้ายติดให้ญาติผู้ป่วยที่นำอาหารข้างนอกเข้ามารับทานแล้วมีส่วนประกอบเป็นหมู ต้องนำถ้วยจานชามช้อนแยกมาต่างหาก อ้างว่า กระทบความรู้สึกพี่น้องชาวไทยพุทธตลอดมา