จุฬาราชมนตรี เรียกร้องผลักดันแนวทาง 2 รัฐแก้ปัญหาปาเลสไตน์-อิสราเอลอย่างถาวร

159

จุฬาราชมนตรี เรียกร้อง ผลักดันทาง 2 รัฐอิสเราเอล-ปาเลสไตน์ ระบุ จะแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างปาเลสไตน์กับอิสราเอลได้อย่างถาวร จะนำมาซึ่งสันติภาพที่มั่นคง ด้านประธานรัฐสภา ระบุ จะมีการนำปัญหาปาเลสไตนืเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภาเอเชียและสมัชช่รัฐสภาโลกเพื่อหาทางออกด้านมนุษยธรรม

วันที่ 30 มกราคม 2567 ณ ห้องประชุม 801 อาคารจามจุรี 10 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนายอรุณ บุญชม จุฬาราชมนตรี กล่างในงานงานสัมมนาวิชาการระดับนานาชาติปาเลสไตน์: นโยบายแห่งความจริงว่า ปัญหาปาเลสไตน์เป็นเรื่องที่สำคัญต่อประชาคมโลก โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่เข้าเดือนที่ 4 ได้สร้างความสูญเสีย ทั้งชีวิตและทรัพย์สิน โดยเฉพาะชีวิตของผู้บริสุทธิ์เป็นจำนวนมาก บ้านเรือนที่พักอาศัยเสียหาย ตลอดจนมัสยิดและโบสถ์ถูกทำลายราบเป็นหน้ากลอง ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของชาวปาเลสไลตน์ที่ต้องกลายเป็นผู้อพยพ ละทิ้งถิ่นฐานอันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของตน และมีความเป็นอยู่ที่ยากลำบากทั้งเด็ก สตรีและคนชรา

‘งานสัมมนาวิชาการระดับนานาชาติปาเลสไตน์: โมงยามแห่งความจริง จะเป็นการสร้างการตระหนักรู้ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเกี่ยวกับปัญหาปาเลสไตน์แก่สังคมและสาธารณชนทั่วไป และเป็นการส่งเสริมแนวทางการแก้ไขปัญหาแบบ 2 รัฐ(2 state Solution)อันเป็นหลักประกันต่ออิสรภาพของชาวปาเลสไตน์ จะนำมาซึ่งสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงของโลกโดยรวม’ จุฬาราชมนตรี กล่าว

นายอรุณ กล่าวว่า ประเทศไทย เป็นหนึ่งในเสียงของนานาชาติที่ให้การรับรองปาเลสไตน์ เป็นรัฐ มีเสียงรับรองอย่างท่วมท้น 131 ประเทศ และภายหลังมีการลงนามได้เพิ่มเป็น 135 ประเทศ ถือว่าไทยเป็นชาติแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้แสดงจุดยืนดังกล่าว ทว่าแนวทาง2 รัฐก็ยังไม่อาจเกิดขึ้นเป็นจริงเนื่องจากเหตุผลหลายประการ อาทิ การไม่สามารถอาฉันทายุมัติเกี่ยวกับพรมแดนและขอบเขตการปกครอง โดยเฉพาะพื้นทีเยรูซาเล็มหรือไตตุลมัฆดิส ซึ่งเป็นดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของพี่น้องมุสลิม พี่น้องชาวคริสต์และชาวยิว เป็นพื้นที่ๆครั้งหนึ่งสหประชาชาติเคยประกาศให้เป็นดินแดนนานาชาติไม่มีใครเป็นเจ้าของครอบครองแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่มาสหรัฐฯได้ยื่นญัตติให้เยรูซาเล็มเป็นเมืองหลวงของอิสราเอล ซึ่งในที่ประชุมมี 128 ประเทศปฏิเสธและเพิกถอนมติของสหรัฐฯ และไทยก็เป็นประเทศที่ลงนามคัดค้านในปี 2560

‘ความขัดแย้งระหว่างปาเลสไตน์กับอิสเราเอลได้ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้พิสูจน์ให้เห็นอีกครั้ง
ว่า ปัญหาปาเลสไตน์ไม่ควรถูกเพิกเฉยและละเลย แนวทางขั้นพื้นฐานในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งคือนโยายบายการปฏิบัติตามแผน 2 รัฐ และสร้างประเทศปาเลสไตน์ที่เป็นเอกภาพ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติระหว่างปาเลสไตน์และอิสราเอล และไทยของเราก็มีความสัมพันธ์อันดีกับอิสราเอลมามากกว่า 70 ปี ของวิงวอนจากเอกองค์อัลเลาะฮ์(ซบ.) การงารสัมมนาลุล่วงไปด้วยดี ให้พวกเราได้ถ่ายทอดข้อมูลที่ถูกต้องไปยังสาธารณชน และขอให้ทุกคนร่วมมือร่วมใจ ส่งต่อความช่วยเหลือแก่พี่น้องชาวปาเลสไตน์ และร่วมกันวิงวอนขอดุอาว์ให้ปาเลสไตน์กลับคืนสู่สันติสุข มีความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สินในแผ่นดินของตนเอง ขอให้มัสยิดอัลอักศอ และบัยตุลมัฆดิสพ้นจากการถูกยึดครองในเร็ววัน ขอให้ทุกฝ่ายที่มีส่วนรับผิดชอบในการแก้ปัญหาดำเนินการอันเป็นอารยะ มีความเป็นกลางและมีมนุษยธรรมและปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศในการที่จะนำไปสู่สันติ ถาวรตลอดไป’ จุฬาราชมนตรี กล่าว

ด้านนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา กล่าวว่า ปัญหาปาเลสไตน์เป็นเรื่องสำคัญและประเด็นของประชาคมโลก และต่างให้ความสนใจ ความเป็นมาความขัดแย้งของปาเลสไตน์และอิสราเอล ซึ่งมีทั้งช่วงของการสร้างสันติภาพและสงครามสลับกันไปมา แม้ว่า องค์การสหประชาชาติได้เข้ามาแก้ไขเพื่อให้เกิดสันติภาพแต่จนถึงบัดนี้ปัญหายังไม่ยุติและไม่สามารถนำสันติภาพมาสู่ดินแดนปาเลสไตน์ได้ สงครามล่าสุด ได้มีแรงงานไทยถูกจับเป็นตัวประกัน ผมก้ได้ประสานกับทุกฝ่ายเพื่่อช่วยเหลือแรงงานได้กลับมา

‘ในฐานะที่ดำรงตำแหน่งประมุขฝ่ายนิติบัญญัติได้สัมผัสถึงท่าทีท้าทายและประเด็นส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและการเคารพในหลักมนุษยธรรมของคณะผู้แทนรัฐสภา ไม่ว่า การประชุมรัฐสภาโลก ที่กำลังจะประชุมในเดือนมีนาคม ที่สวิสเซอร์แลนด์ คาดว่า ประเด็นปัญหาของปาเลสไตน์จะเป็นประเด็นหนึ่งสมัชชารัฐสภาโลก จะนำมากล่าวถึง การประชุมรัฐสภาอาเซียนและการประชุมรัฐสภาเอเชียที่ผ่านมาได้มีการพูดถึงเพื่อหาทางช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ชาวปาเลสไตน์’

ประธานรัฐสภา กล่าวว่า ปัญหาปาเลสไตน์เป็นวายิบที่ทุกคนต้องเรียนรู้ หากไม่รู้ก็จะเป็นความมืดบอดของสายตาและหัวใจ ผู้รู้จึงต้องบอกให้คนที่ไม่รู้ได้เข้าใจ เราอาจไม่สามรถไปร่วมสงครามจีฮาดในด้นแดนปาเลสไตน์ แต่การเรียนรู้ก็เป็นจีฮาดอันหนึ่ง อัลเลาะฮ์จะตอบแทนผู้ที่มาให้ความรู้และผู้ที่รับความรู้และขอให้กระจายความรู้นี้ออกไปอย่างกว้างขวางต่อไป