ฟาร์มหมูศิริวรรรณ ปรับปรุงแก้ไขแล้ว ชาวบ้านบอกกลิ่นเหม็นไม่แรงเหมือนเมื่อก่อน

913

กรณีที่ชาวบ้านกว่า 50 คน ถือป้ายเดินไปที่ด้านหน้า ที่ทำการ อบต.คอโค เพื่อยื่นหนังสือคัดค้านการต่อใบอนุญาตฟาร์มหมูศิริวรรณ ให้กับนายธเนศ สาแก้ว ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลคอโค ที่ชาวบ้านทนเหม็นมากว่า 10 ปี ยื่นหนังสือไปหลายที่แต่เงียบไม่มีการแก้ไขกลิ่นเหม็นกว่าเดิม โดยป้ายมีใจความว่า “ นายกประยุทธ์ จันทร์โอชา ช่วยด้วย ชาวบ้านได้รับผลกระทบจากฟาร์มมา 10 กว่าปีแล้ว ”

“ ชาว ต.คอโค ต.นอกเมือง ต.ท่าสว่าง ขอคัดค้านการต่อใบอนุญาตเลี้ยงหมูฟาร์มศิริวรรณ ” และป้ายเล็กอีกหลายป้าย เพื่อไปยื่นหนังสือขอคัดค้านการต่อใบอนุญาตที่ส่งกลิ่นเหม็นไปทั่วทั้งสามตำบล หลายหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบ

วันนี้(6 ม.ค.2563) ที่ฟาร์มหมูศิริวรรณ ที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้านสนายดวจ(สะ-หนาย-ดวด) ม.5 ต.คอโค อ.เมือง จ.สุรินทร์ ซึ่งติดกับ สามตำบล ต.คอโค ต.นอกเมือง ต.ท่าสว่าง ห่างจากตัวจังหวัดสุรินทร์เพียง 5 กิโลเมตร ทีมข่าวได้ลงพื้นที่ขออนุญาตเข้าภายในเขตฟาร์มหมูศิริวรรณ  พร้อมกับสอบถามเรื่องที่มีชาวบ้านเดือดร้อนเรื่องดังกล่าว ซึ่งทางนายทวีศักดิ์ คำทวี ผู้จัดการฟาร์มศิริวรรณ ได้นำทีมข่าวเข้าไปบริเวณภายในฟาร์มหมู และได้แจ้งว่าทางฟาร์มนั้นได้ทำการแก้ไขเป็นที่เรียบร้อยแล้วเพียงบางช่วงจะมีกลิ่นเหม็นเล็กน้อยแต่ไม่มาก โดยฟาร์มศิริวรรณ เองก็ได้นำต้นไม้มาปลูกเพื่อปลูกเป็นแนวข้างริมบ่อบำบัดน้ำเสีย เพื่อให้เกิดโอโซนออกมาซึ่งจะบรรเทาในเรื่องกลิ่นได้อย่างมากส่วนโรงเรือนเลี้ยงสุกรนั้น ได้ทำการล้างโรงเรือน 2 เวลา คือช่วงเช้าและช่วงบ่าย พร้อมทั้งยังแก้ไขปัญหาและการจัดการฟาร์มเพื่อลดปัญหากลิ่นเหม็น จากปัญหาน้ำเสีย ฟาร์มนั้นได้ก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย โดยมีอาจารย์ ดร.วรรธนะชัย ปฐมสิริวงศ์ วิศวกรรม ควบคุมสิ่งแวดล้อมเป็นผู้ออกแบบระบบบำบัดน้ำเสีย ส่วนปัญหากลิ่นเหม็นจากโรงเรือนเลี้ยงสุกรได้ปฏิบัติตามคำแนะนำที่ปรึกษาที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการกลิ่นและน้ำเสีย  โดยนายการัณ ศิริพานิช วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งได้ปลูกต้นไม้เพื่อทำสวนป่า ในปี 2562 ปลูกต้นยูคา 1,000 ต้น ปี 2563 ปลูกต้นยูคาเพิ่มอีก 3,000 ต้น, ต้นไผ่ 100 ต้น รวมถึงไม้ผลและไม้ยืนต้นชนิดต่างๆ ทางฟาร์มได้ใช้สแลนกั้นแนวหลังพัดลมหนึ่งชั้น อีกหนึ่งชั้นปลูกต้นไทรเกาหลีและต้นชาดัด เพื่อชะลอและลดกลิ่นที่ออกมากับพัดลมหลังโรงเรือน จำนวน 3,000 ต้นพร้อมกันนี้ยังใช้กระเบื้องขนาด 0.5 x 1.5 เมตร ปิดบริเวณรางระบายน้ำและบ่อพักน้ำเสียเพื่อลดกลิ่น และยังใช้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์  EM. ที่ผ่านการขยายอัตราส่วน 10 ซีซี. ผสมน้ำ 1 ลิตร พ่นภายในโรงเรือนสุกร พร้อมทั้งยังใช้  Agro-2,000 ( ดอปเปอร์ ซัลเฟตเพนตาไฮเครท  CuSO4.5H20 23%( w/v) อัตราส่วน 1ซีซี. ผสมน้ำ 1 ลิตร พ่น ร่องน้ำเสีย และบ่อพักน้ำเสีย  และได้ ผสมสารดับกลิ่นสมุนไพรยักฆ่า ( Yucca) ใน อาหารสุกร ปริมาณ 120 กรัม/ตันอาหาร ตามคำแนะนำ ของที่ปรึกษาด้านอาหารสัตว์ รศ.ดร.เยาวมาลย์  ค้าเจริญ ประกอบกับได้ผสมโปรไบโอติก ( Ecobiol ) ในอาหารสุกรแม่พันธุ์ ปริมาณ 500 กรัม/ตันอาหาร และยังผสมสารช่วยย่อยเอนไซม์ ( Zynergy one) ในอาหารสุกร ปริมาณ 500 กรัม/ตันอาหาร เพื่อให้สุกรได้ย่อยสารอาหาร คาร์โบไฮเดรต  แป้ง ไขมัน และกากเพิ่มขึ้น เพื่อถ่ายมูลออกมาน้อยลง ซึ่งได้ผสมจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ Micro Guard P เพื่อลดกลิ่นในอาหารสุกรขุน ปริมาณ 500 กรัม/ตัน และทำความสะอาดโรงเรือนทุกวันอย่างสม่ำเสมอ

ทีมข่าวลงพื้นที่ใกล้กับฟาร์หมูศิริวรรณห่างกันประมาณ 1 กิโลเมตร เพื่อสอบถามชาวบ้านหมู่บ้านสนายดวจ(สะ-หนาย-ดวด) ม.5 ต.โคคอ อ.เมือง จ.สุรินทร์ กล่าวว่า กลิ่นที่ฟาร์มหมูศิริวรรณ นั้น เมื่อก่อนกลิ่นเหม็นแรงมาก แรงจนอยู่บ้านไม่ได้ พอมาช่วงหลังรู้สึกว่ากลิ่นเหม็นจากฟาร์มหมูศิริวรรณ จะได้กลิ่นเป็นช่วง ๆ แต่กลิ่นไม่แรง และบางช่วงก็ไม่ได้กลิ่น รู้สึกว่าทางฟาร์มได้แก้ไขแล้วนางบุษยมาส  ใจบุญ ส.อบต.คอโค ม. 5 กล่าวว่า พูดถึงถ้าหมู่บ้านสนายดวจ นั้น กลิ่นมีบ้างไม่มีบ้าง บางครั้งเช้าถึงเย็นแทบจะไม่มีกลิ่น ส่วนมากเส้นทางมาบ้านดงมันช่วงเย็นจะได้กลิ่นเหม็นแต่ไม่มากเท่าไหร่นัก

นายประหยัด เสพสุข ผู้ใหญ่บ้านสนายดวจ ม. 5 กล่าวว่าเรื่องที่ฟาร์มหมูศิริวรรณส่งกลิ่นเหม็นมาก เป็นเมื่อก่อนนั้นจะมีกลิ่นเหม็นมาก มาช่วงนี้ตนรู้สึกว่าทางฟาร์มหมูนั้นน่าจะมีการแก้ไขแล้ว เพราะว่ากลิ่นเหม็นจากฟาร์มหมูรู้สึกว่าบางวันแทบจะไม่ได้กลิ่นเลย บางวันได้กลิ่นแต่ไม่มากเหมือนเมื่อก่อนนี้ที่มีกลิ่นแรงมาก

นายทวีศักดิ์ คำทวี ผู้จัดการฟาร์มศิริวรรณ ได้กล่าวว่า ทางฟาร์มศิริวรรณ นั้นได้แก้ไขปัญหาตลอดเวลาที่ผ่านมา ได้นำเอาจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์มาใช้บำบัดกลิ่น เพื่อไม่ให้เกิดกลิ่นที่ไปรบกวนชุมชน จึงได้ดำเนินการแก้ไขในเบื้องต้นแล้ว ในส่วนของการพัฒนานั้น ทางฟาร์มศิริวรรณ เองก็ได้สั่งต้นไม้มาเพื่อปลูกเป็นแนวข้างริมบ่อบำบัดน้ำเสียเพื่อให้เกิดโอโซนออกมาซึ่งจะบรรเทาในเรื่องกลิ่นอย่างมาก ซึ่งทางฟาร์มศิริวรรณเองก็ได้แก้ไขปรับปรุงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ภาพ/ข่าว: ทีมข่าวเฉพาะกิจ จ.สุรินทร์