เกษตรฯ เร่งขับเคลื่อน สภาเกษตรอินทรีย์ พีจีเอส. ดันไทยขึ้นแท่นฮับอาเซียน

76

“กระทรวงเกษตรฯ.”เร่งขับเคลื่อน” สภาเกษตรอินทรีย์พีจีเอส.”ผนึกทุกเครือข่ายเดินหน้าเกษตรออร์กานิค เชื่อมศูนย์เทคโนฯและนวัตกรรม ทั้ง 77 จังหวัด ผลักดัน ประเทศไทยขึ้นแท่นฮับอาเซียน

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน เป็นประธานพิธีเปิดและปาถกฐาพิเศษ เรื่อง “เกษตรอินทรีย์และเกษตรอินทรีย์พีจีเอส.”ที่ โรงแรมอมารี ดอนเมือง ผ่านระบบออนไลน์ โดย กล่าวว่า รัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ให้ความสำคัญและสนับสนุนเกษตรอินทรีย์อย่างเต็มที่ เป็นอาหารแห่งอนาคต (Future Food) ที่มีโอกาสเติบโตในตลาดโลกได้อย่างมาก จึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ให้ประเทศไทยเป็นผู้นำในระดับภูมิภาค ด้านการผลิต การแปรรูป การบริโภค การค้าสินค้า และ การบริการเกษตรอินทรีย์ ที่มีความยั่งยืน และเป็นที่ยอมรับในระดับสากลภายใต้ ”ยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ.2560-2564”โดยมีคณะกรรมการเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ และ คณะกรรมบริหารการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืนที่มี ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน เป็นกลไกระดับนโยบายและมีคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืนเป็นกลไกในการขับเคลื่อนภายใต้ 3 คณะทำงานได้แก่ 1.คณะกรรมการด้านเกษตรอินทรีย์ 2. คณะทำงานด้านเกษตรทฤษฎีใหม่และเกษตรผสมผสาน และ 3. คณะทำงานด้านวนเกษตรและเกษตรธรรมชาติ ได้เร่งขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการปี 2564-2565 เดินหน้าจัดทำร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ 2566-2570 และ ร่างพ.ร.บ.เกษตรกรรมยั่งยืน พร้อมกับเห็นชอบให้มีการจัดตั้ง สถาบันเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ รวมทั้งการจัดทำโครงการเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง(Urban Farming)และ โครงการธนาคารสีเขียว (Green Bank) ประการสำคัญคือ การจัดตั้งสภาเกษตรอินทรีย์พีจีเอส.แห่งประเทศไทยขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2564 โดยมอบหมายให้สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)จัดทำหลักเกณฑ์การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (PGS)หรือ เกษตรอินทรีย์วิถีชุมชนวันนี้ถือเป็นวันสำคัญที่สภาเกษตรอินทรีย์ พีจีเอส.แห่งประเทศไทย ได้เห็นชอบธรรมนูญของสภาฯ.และ คณะกรรมการบริหารอย่างเป็นทางการชุดแรก แทนคณะกรรมการบริหารชุดเฉพาะกิจด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะเครือข่ายองค์กรเกษตรอินทรีย์หลักๆเช่น มูลนิธิเกษตรอินทรีย์ไทย มูลนิธิ เกษตรกรรมยั่งยืน สมาพันธ์เกษตรอินทรีย์ไทย พี จี เอส สหพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนแห่ง ประเทศไทย ยังมี กลุ่มเกษตรกรเกษตรอินทรีย์ พี จี เอส ในเครือข่ายอื่นๆ อีกเป็นจํานวนมาก ที่พร้อมจะร่วมกันขับเคลื่อน สภาเกษตรอินทรีย์ พี จี เอส และแผนดําเนินงานขับเคลื่อนระบบ พี จี เอส ของประเทศให้พัฒนาก้าวหน้าต่อไป เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ (1) เพิ่มพื้นที่และปริมาณการผลิตเกษตรอินทรีย์ (2) เพิ่มการค้าและการบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์ (3) เพื่อให้สินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ (4) เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลาง (Hub) ของสินค้าและบริการด้านเกษตรอินทรีย์ในระดับภูมิภาคอาเซียนการจะบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ โดยเชื่อมโยงการทำงานกับศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) ทั้ง77จังหวัด และ ศูนย์ความเป็นเลิศ(AIC-Center of Excellence)อย่างใกล้ชิด ด้านการวิจัยพัฒนา การถ่ายทอดเทคโนโลยีและการอบรมบ่มเพาะเกษตรกร และ ผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์ รวมทั้งการพัฒนาตลาดกลางสินค้าเกษตรอินทรีย์แบบออนไลน์ และ ออฟไลน์เป็นศูนย์กลางการค้าระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค การสร้างแบรนด์ของสินค้าเกษตรอินทรีย์ในระบบทรัพย์สินทางปัญญาและการเชื่อมโยงการแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรอินทรีย์จากผลผลิตทั้งพืชและสัตว์ กับ โครงการ1กลุ่มจังหวัด1นิคมเกษตรอุตสาหกรรม ตาม 5 ยุทธศาสตร์ของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ ตลาดนำการผลิต,เทคโนโลยีเกษตร 4.0,3S(safety-security-sustainability เกษตรปลอดภัย เกษตรมั่นคง เกษตรยั่งยืน,ศาสตร์พระราชาและบูรณาการเชิงรุกทุกภาคส่วน

เพื่อบรรลุเป้าหมาย 4 ประการ (1) เพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์ไม่น้อยกว่า 1.3 ล้านไร่ (2) เพิ่มจำนวนเกษตรกรเกษตรอินทรีย์ไม่น้อยกว่า 30,000 ราย (3) เพิ่มสัดส่วนตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศต่อตลาดส่งออกโดยให้มีสัดส่วนตลาดในประเทศร้อยละ 40 ต่อตลาดส่งออกร้อยละ 60 (4) ยกระดับกลุ่มเกษตรอินทรีย์วิถีชุมชนเพิ่มขึ้น “สภาเกษตรอินทรีย์ พี จี เอส ต้องเปิดกว้างสร้างพันธมิตรทำงานเชิงโครงสร้างและระบบ เปรียบเสมือนคานงัดที่จะสร้างจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญต่ออนาคตของเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทยของเรา.