‘โมดี’ขับเคลื่อน’คอนเสิร์ตการทูต’ระดมคนอินเดียโพ้นทะเล ช่วยเศรษฐกิจประเทศ

41

วิเคราะห์แนวนโยบายของ ‘นเรนทรา โมดี’ขับเคลื่อน’คอนสิร์ตการทูต’ระดมคนอินเดียโพ้นทะเล ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

ผศ.มาโนชญ์ อารีย์ อาจารย์ประจำภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรต ประสานมิตร ได้วิเคราะห์การเดินเกมการเมืองระหว่างประเทศของ นเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีประเทศอินเดีย โมดี ขับเคลื่อนด้านต่างประเทศ โดยใช้ Modi ‘s Concert-Style Diplomacy การทูตแบบคอนเสิร์ตชุมชนอินเดียโพ้นทะเล มาจากนโยบาย 4 D ของเขาตั้งแต่ปี 2014
D – Democracy ประชาธิปไตย
D – Demography ประชากร
D – Demand การตลาด เศรษฐกิจ การผลิต
D – Diaspora คนอินเดียโพ้นทะเล

https://fb.watch/lR6MUjLJJS/?mibextid=SDPelY

การทูตคอนเสิร์ตมาจาก D ตัวท้าย ที่โมดีให้ความสำคัญมาก การไปเยือนหลายประเทศทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศใหญ่ ๆ จะมีการจัดชุมนุมเหมือนการแสดงดนตรีหรือคอนเสิร์ตเพื่อรวมคนอินเดียในประเทศนั้น ๆ มาพบปะต้อนรับกับนายกรัฐมนตรีของตน

การทูตแบบนี้กลายเป็น brand ของโมดีไปแล้วแบบไม่ใช่ใครก็ทำได้ จริง ๆ การที่ผู้นำประเทศพบปะผู้คนของตนเองเมื่อไปเยือนต่างประเทศก็มีอยู่ประจำ ผู้นำหลายคนก็ทำกัน แต่เป็นการพบปะแบบไม่ได้จัดให้ยิ่งใหญ่อลังการเหมือนโมดีทำ

มองว่า ผู้นำหรือประเทศที่จะทำแบบนี้ได้ (บ่อย ๆ ในหลาย ๆ ที่) ต้องมีองค์ประกอบอย่างน้อย 3 ประการ 1) ความนิยมในผู้นำ แต่ก็ไม่พอ ต้องมี 2) ความรู้สึกชาตินิยมเข้มข้น มีการรวมกลุ่มแสดงพลังเมื่อไรไม่พลาด แต่ก็ไม่พอ ต้องมี 3) จำนวนประชากรมากพอ ซึ่งคนอินเดียกระจายอยู่ทั่วโลก ในแต่ละประเทศเกิดเป็นชุมชนอินเดียขนาดใหญ่ จะเห็นว่าอินเดียมีครบทั้งทุกข้อ บางคนอาจบอกว่าจีนก็น่าจะทำได้ ในแง่ประชากรและชุมชนจีนในต่างแดนแน่นอนว่ามีไม่น้อยไปกว่าอินเดีย แต่ไม่แน่ใจว่าคนจีนในต่างแดนมีความชาตินิยมขนาดไหน หรือนิยมในตัวผู้นำสีขนาดไหน โมดี นอกจากได้ภาพของความเป็นผู้นำที่ไปไหนก็ได้รับความสนใจ(ฮือฮาแล้ว การทูตคอนเสิร์ตของเขายังอาจจะช่วยเพิ่ม|กู้คะแนนนิยมเขาขึ้นมาได้บ้าง

นอกจากนั้น ยังทำให้เห็นถึง soft power ของอินเดียในหลายประเทศว่าเป็นคนกลุ่มก่อนใหญ่ที่รัฐต้องใสใจ คนกลุ่มนี้ยังเป็นสะพานเชื่อมความสัมพันธ์และผลประโยชน์นะหว่างอินเดียกับทั่วโลกได้เป็นอย่างดี มีผลต่อทั้งเศรษฐกิจของอินเดียและประเทศนั้น ๆ
ถือเป็น Public Diplomacy ที่น่าสนใจมากขณะนี้