“สรรเพชญ”พบ กงสุลใหญ่อินโดฯ หารือความร่วมมือ”ท่องเที่ยว-การศึกษา”กระตุ้นศก.สงขลา

31

“สรรเพชญ” พบ กงสุลใหญ่สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ประจำจังหวัดสงขลา หารือ ความร่วมมือ 4 ด้าน การท่องเที่ยว การศึกษา เศรษฐกิจ เกษตรกรรม  และ เปิดสายการบิน เชื่อม “หาดใหญ่-จาการ์ตา” หวัง กระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่

วันที่ 11 สิงหาคม 2566 เวลา 14.00 น. ที่ สถานกงสุลอินโดนีเซีย จังหวัดสงขลา นายสรรเพชญ บุญญามณี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสงขลา พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ได้เข้าพบ นายซุวัรกานา ปริงกานู กงสุลใหญ่สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ประจำจังหวัดสงขลา เพื่อร่วมปรึกษาหารือในประเด็นความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างจังหวัดสงขลา กับสาธารณรัฐอินโดนีเซียนายสรรเพชญ กล่าวว่า “วันนี้มีโอกาสได้เข้าหารือกับ นายซุวัรกานา ปริงกานู กงสุลใหญ่แห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ซึ่งอินโดนีเซีย เป็นประเทศที่มาประชากร มากถึง 270 ล้านคน และจังหวัดสงขลา เป็นหนึ่งในห้าของสถานที่ยอดนิยมที่ชาวอินโดนีเซียจะมาเยือน โดยกำลังการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวชาวอินโดนีเซียสูงถึง 24,000 บาท/คน/ทริป ในการพบปะหารือกันในครั้งนี้ จึงเป็นโอกาสดีที่จะเชิญชวนนักท่องเที่ยวชาวอินโดนีเซีย ให้มาท่องเที่ยวประเทศไทยโดยเฉพาะจังหวัดสงขลามากยิ่งขึ้น” นายสรรเพชญ และว่าในอดีตเคยมีสายการบินระหว่างเมืองเมดาน ประเทศอินโดนีเซีย มายังสนามบินนานาชาติหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา แต่ก็ได้ปิดตัวไปเนื่องจากสภาวะทางเศรษฐกิจในขณะนั้น ซึ่งการหารือในครั้งนี้ ได้พูดคุยถึงการกลับมาเปิดเส้นทางการบินพาณิชย์ระหว่าง หาดใหญ่ – เมดาน และ หากเป็นไปได้ในอนาคต ก็หวังว่าจะมีการเปิดเส้นทางการบินพาณิชย์ หาดใหญ่ – จาการ์ตา เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเส้นทาง ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกของนักท่องเที่ยวในการเดินทางมาท่องเที่ยว รวมถึงการกระตุ้นเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศนอกจากนี้ ยังได้หารือในประเด็นเรื่องการศึกษา ซึ่งในปัจจุบัน อินโดนีเซีย มีนโยบายด้านการศึกษาที่เรียกว่า “Freedom to learn” เป็นนโยบายที่ส่งเสริมให้นักศึกษา ชั้นปีที่ 3 – 4 ได้ไปแลกเปลี่ยนที่ต่างประเทศ โดยในประเทศไทยมีมหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้ร่วมโครงการในการแลกเปลี่ยนสาขาต่าง ๆ อาทิ สาขา Entrepreneurship Coaching program สาขา Humanitarian Program สาขา Teaching & Learning with Industry สาขา Partners with inbound/outbound, private/public sectors เป็นต้น ซึ่งการศึกษาแลกเปลี่ยนเหล่านี้ จะเป็นการกระตุ้น และส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทั้งทางด้านภาษา วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวขณะเดียวกัน ยังได้มีการหารือในประเด็นอื่น ๆ อีกหลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็น ด้านเกษตรกรรม คือ ยางพารา ด้านการประมง และด้านเศรษฐกิจ การส่งเสริมการนำเข้า – ส่งออก สินค้าชนิดต่าง ๆ เนื่องจากอินโดนีเซีย และไทย มีมูลค่าการนำเข้าและส่งออก กว่าปีละ 3 แสนล้านบาท อีกทั้งยังได้หารือประเด็นด้านสิทธิมนุษชนที่จะร่วมมือกันผลักดันในอนาคตอีกด้วย”