คำพิพากษาจำคุก อ.พิรงรอง 2 ปี ไม่รอลงอาญา คดี “ทรู ดิจิทัล” ฟ้องอาญา ม.157

 คำพิพากษาจำคุก อ.พิรงรอง 2 ปี ไม่รอลงอาญา คดี “ทรู ดิจิทัล” ฟ้องอาญา ม.157 เผยถ้อยคำ’ล้มยักษ์’ เป็นเหตุ  
วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 09:40 น. ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางนัดฟังคำพิพากษา ในคดีหมายเลขดำดำที่ อท 147, 71/2566 คดีอาญาหมายเลขแดงที่ อท 164/2566, 26/2568 ระหว่าง บริษัท ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป จำกัด โจทก์ กับ นางสาวพิรงรอง รามสูต จำเลย เรื่อง เจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
โดยโจทก์ฟ้องว่า โจทย์เป็นผู้ให้บริการแอปพลิเคชัน “True ID” ประเภท Over The Top หรือ (OTT) ผ่านอินเทอร์เน็ตสาธารณะที่ไม่มีการบริหารจัดการโครงข่ายเป็นการเฉพาะ ซึ่งคณะกรรมการกิจการ กระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ไม่เคยกำหนดให้ผู้ให้บริการแอปลิเคชันหรือแพลตฟอร์มดังกล่าว ต้องขอรับใบอนุญาตจาก กสทช. จำเลยเป็นกรรมการใน กสทช.และได้รับตั้งให้เป็นประธานอนุกรรมการพิจารณาอนุญาตด้านกิจการโทรทัศน์ ใช้อำนาจหน้าที่โดยกระทำการเร่งรัดสั่งการหรือดำเนินการให้สำนักงาน กสทช. ทำหนังสือแจ้งไปยังผู้ให้บริการประกอบจายเสียงหรือโทรทัศน์ในนามสำนักงาน กสทช.
.
ภายหลังจากการประชุมคณะกรรมการ กสทช. ยังไม่ได้มีการพิจารณา มีมติ หรือมีคำสั่งการในเรื่องดังกล่าว โดยจำเลยได้กล่าวในที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯ ครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566 ที่แสดงให้เห็นถึงเจตนาที่จะล้มกิจการของโจทก์ โดยกล่าวทำนองว่า วิธีการที่เราจะจัดการเรื่องนี้ไม่ได้ไปทำที่โจทก์โดยตรง แต่ไปทำที่ช่องรายการที่รับใบอนุญาตจาก กสทช. เป็นการใช้วิธีตลบหลัง
.
โดยในที่ประชุมมีผู้เข้าประชุมไม่เห็นด้วยกับวิธีการของจำเลย เนื่องจากเป็นการกระทำเฉพาะการให้บริการแอปพลิเคชัน True ID ของโจทก์ แต่จำเลยพยายามโน้มน้าวและรวบรัดการพิจารณา และก่อนจบการประชุมของคณะอนุกรรมการฯ จำเลยให้เตรียมความพร้อมที่จะล้มหรือ ระงับการให้บริการแอปพลิเคชัน “True ID” ของโจทก์ โดยใช้คำพูดว่า “ต้องเตรียมตัว จะล้มยักษ์” และต่อมาจำเลยได้ให้ สำนักงาน กสทช. แจ้งไปยังผู้ได้รับอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ทุกราย ทราบเกี่ยวกับการให้บริการแอปพลิเคชัน True ID ของโจทก์เพียงรายเดียวว่ายังไม่ได้เป็นผู้รับอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ และยังมิได้แสดงความประสงค์ขอรับใบอนุญาตตามขอบเขตการได้รับบริการประเภทโครงข่ายไอพีทีวี
.
โดยการกระทำของจำเลยดังกล่าวทำให้ผู้ที่ได้รับหนังสือแจ้งของจำเลยมีความเข้าใจว่า โจทก์จงใจกระทำผิดกฎหมายไม่แสดงความประสงค์ขอรับใบอนุญาต ทั้งที่จำเลยทราบข้อเท็จจริงว่า การให้บริการแพลตฟอร์มโอทีที่ ในรูปแบบแอปพลิเคชัน True ID กสทช. ยังมิได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้บริการโครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ เป็นการเจตนาปฏิบัติหรือละเว้นหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อันเป็นการกระทำความผิดตามประอาญา มาตรา 157
ศาลพิเคราะห์แล้ว เห็นว่า โจทก์เป็นผู้ให้บริการแอปพลิเคชัน True ID มาตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน โดยแอปพลิเคชัน True ID เป็นการให้บริการประเภทผ่านอินเทอร์เน็ตสาธารณะ หรือ OTT การให้บริการผ่านอินเทอร์เน็ตสาธารณะของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วไป ซึ่งคณะกรรมการกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ไม่เคยกำหนดให้ผู้ให้บริการแอปพลิเคชัน หรือ แพลตฟอร์มดังกล่าว ต้องขอรับใบอนุญาตแต่อย่างใด
– จำเลยเป็นกรรมการใน กสทช. มีอำนาจหน้าหน้าที่ ที่ใช้ในการจัดทำแผนการบริหารคลื่นความถี่ ระหว่างกำหนดการจัดสรรคลื่นความถี่ระหว่างคลื่นความถี่ที่ใช้ในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคม กำหนดลักษณะและประเภทของกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และจำเลยยังได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานคณะอนุกรรมการพิจารณาอนุญาตด้านกิจการโทรทัศน์ มีอำนาจหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะ ข้อพิจารณา กลั่นกรอง และให้ความเห็นเกี่ยวกับการอนุญาต และกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรทัศน์ รวมทั้งปฏิบัติหน้าที่อื่นใดตามที่ กสทช. มอบหมาย
.
จำเลยจึงเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มาตรา 25 ในการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาอนุญาตด้านกิจการโทรทัศน์ ครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566 จำเลยทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุม โดยมีวาระที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับการตรวจสอบการแพร่เสียงแพร่ภาพผ่านการให้บริการกล่องรับสัญญาณโทรทัศน์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต และ แอปพลิเคชัน True ID
.
ในที่ประชุมได้มีการแสดงความเห็นเกี่ยวกับลักษณะหรือพฤติการณ์ในการให้บริการของ True ID แต่ที่ประชุมยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ ประกอบกับประชุมเห็นว่า ปัจจุบันมีผู้ให้บริการในลักษณะ OTT เช่นเดียวกับ True ID จำนวนมาก ซึ่งไป
นผู้รับใบอนุญาตและไม่ได้รับการกำกับดูแลจาก กสทช.
.
การนำเอาประเด็นลักษณะของการให้บริการของ True ID มาพิจารณาเพียงรายเดียว อาจส่งผลต่อการพิจารณาในประเด็นต่าง ๆ ในอนาคตได้ แสดงให้เห็นว่าในการประชุมของคณะอนุกรรมการพิจารณาอนุญาตด้านกิจการโทรทัศน์ คราวดังกล่าวยังไม่ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับการให้บริการ True ID ของโจทก์ว่า จะต้องขอรับใบอนุญาตจาก กสทช. หรือไม่ อย่างไร
.
อีกทั้งก่อนที่จำเลยจะได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการ กสทช. มีข้อมูลระบุว่า บริการ True ID ของโจทก์เป็นบริการโ OTT ไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับกฎหมายในการกำกับดูแล การประกอบกิจการดังกล่าว ซึ่งสอดคล้องกับคำชี้แจงข้อเท็จจริงของสำนักงาน กสทช. ที่ยื่นต่อศาลในคดีนี้ว่า กสทช. ยังไม่ได้มีการประกาศกำหนดนิยามของคำว่า OTT ไว้เป็นการเฉพาะ
.
ต่อมาได้มีหนังสือไปยังผู้ได้รับอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์แต่ปรากกว่าในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 เจ้าหน้าที่ฝ่ายเลขานการของคณะอนุกรรมการได้จัดทำบันทึกและร่างหนังสือของสำนักงาน กสทช. จะต้องระบุชื่อการให้บริการ True ID ของโจทก์เป็นการเฉพาะ ซึ่งได้รับแจ้งว่า จำเลยเป็นผู้สั่งการและเร่งรัดให้จัดทำบันทึกและร่างหนังสือดังกล่าวและ กสทช. ได้มีหนังสือไปยังผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์รวม 127 ราย
.
ต่อมาวันที่ 2 มีนาคม 2566 มีการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาอนุญาตด้านกิจการโทรทัศน์ ครั้งที่ 4/2566 ซึ่งจำเลยได้ทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุม จำเลยได้มีการต่อว่าและตำหนิฝ่ายเลขานุการ ที่มีการจัดทำหนังสือ โดยไม่ได้ระบุหรือเจาะจงถึงการให้บริการ True ID ของโจทก์
.
และในรายงานการประชุมของคณะอนุกรรมการพิจารณาอนุญาตด้านกิจการโทรทัศน์ ครั้งที่ 3/2566 ไม่ได้มีมติให้สำนักงาน กสทช. จะต้องมีหนังสือแจ้งไปยังผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ โดยระบุเจาะจงถึงบริการTrue ID ของโจทก์
.
แต่ตามบันทึกรายงานการประชุมกลับมีการระบุว่าที่ประชุมมีมติรับรองรายงานการประชุมที่ 3/ 2566 และเห็นควรมีหนังสือแจ้งผู้ให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ ทั้งที่ในความประชุมคณะอนุกรรมการ ครั้งที่ 4/ 2566 ไม่ได้มีมติดังกล่าวแต่อย่างใด อันเป็นการทำเอกสารรายงานการประชุมอันเป็นเท็จ เมื่อพิจารณาประกอบกับถ้อยคำที่จำเลยได้กล่าวในการประชุมชุมคณะอนุกรรมการครั้งที่ 3/2556 ที่ใช้ถ้อยคำทำทำนองพยายามโน้มน้าวและรวบรัดการพิจารณา
.
อีกทั้งก่อนจบการ ประชุมของคณะอนุกรรมการ จำเลยให้เตรียมความพร้อมที่จะล้มหรือระงับการให้บริการแอปพลิเคชัน True ID ของโจทก์ โดยใช้คำพูดว่า “ต้องเตรียมตัวจะ จะล้มยักษ์” และจำเลยก็ยอมรับว่า คำว่า “ยักษ์” หมายถึงโจทก์ถ้อยคำดังกล่าวเป็นการสื่อความหมายชัดเจนว่า ประสงค์ให้กิจการของโจทก์ได้รับความเสียหาย พฤติการณ์ของจำเลย เป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ เจตนามุ่งประสงค์กลั่นแกล้งโจทก์ใช้อำนาจหน้าที่ของตนไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด ทำให้โจทก์ได้
หาย เพราะภายหลังจากมีหนังสือดังกล่าวแจ้งไปยังผู้ประกอบการรวม 127 รายแล้ว มีผู้ประกอบการหลายรายได้ชะลอหรือขยายระยะเวลาเข้าทำนิติกรรมกับโจทก์
“..การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ส่วนพยานหลักฐานของจำเลยไม่มีนำหนักหักล้างพยานหลักฐานของ
โจทก์ได้
พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 จำคุก 2 ปี..”