สุดอนาถกับเด็กก็ทำลาย! กระแสพลิกกลับ Khamas ฟีเวอร์ยอดวิว”สุขสันต์วันฮารีรายา”พุ่งแตะ 4 ล้าน

4774

วันที่ 28 มิ.ย. วันฮารีรายอ เป็นวันที่มุสลิมทั่วโลกออกมาเฉลิมฉลองรื่นเริง ซึ่งเป็นปกติของทุกสังคมที่ในวันสำคัญจะมีการแสดงออกในรูปแบบต่างๆ และเพลงเป็นอีกแนวหนึ่งที่นำมาบอกกล่าวถึงสภาพความเป็นอยู่ ความเชื่อ “สุขสันต์วันฮารีรายา”ของ Khamas The Voice Kids หรือ คาร์มัส คาน เป็นเพลงที่นิยมเปิดในวันฮารีรายอ ต่อเนื่องกันมา 2-3 ปีแล้ว โดยเนื้อหาพูดถึงความสำคัญของฮารีรายอ การให้อภัยแก่กัน

อย่างไรก็ตาม ในกระแสที่มีการสร้างอคติ และความเกลียดชังอย่างรุนแรง เพลงที่สะท้อนวิถีชีวิต ความเชื่อ ได้ถูกนำมาเป็นเครื่องมือทำลายล้างกัน เพราะความเชื่อในทางศาสนาที่แตกต่างกัน กลายเป็นเพลงที่มีการส่งตามตามโลกโซเลียลให้หลีกเลี้ยงการฟัง อ้างเป็นอันตราย เพราะผู้ขับร้อง เป็นลูกหลานพี่น้องชีอะห์ เริ่มจากการส่งข้อความจากองค์กรอิสลามแห่งหนึ่ง กระจายไปอย่างรวดเร็ว

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีกระแสต่อต้าน แต่กระแสสนับสนุนก็มีจำนวนมาก มีการตอบโต่กันค่อนข้างรุนแรงในโลกโซเชียล อาทิ เป็นชีอะห์แล้วหนักหัวใคร

“เป็นชีอะห์ แล้วยังไงคะ ? จำเป็นต้องไปเกลียดเค้าเหรอ ต่างคน ต่างเชื่อ ต่างศรัทธากัน แค่ไม่มาเบียดเบียนกันก็พอ เลิกแบ่งแยกกันเองได้แล้วค่ะ ท่านนบี(ซ.ล) ท่านไม่เคยหยาบคายกับผู้ต่างศรัทธาต่างศาสนาเลยแม้แต่ครั้งเดียว จะผิดถูกยังไงก็ให้พระเจ้าเป็นผู้ตัดสินดีกว่านะคะ” ผู้โพสต์คนหนึ่งระบุ

“ชีอะห์ทำอะไรผิดงง ผมก็มีเพื่อนเป็นชีอะห์ เขาเป็นคนดีเรียบร้อย มารยาทดีคับ” อีกเสียงหนึ่งระบุ

ทั้งนี้ มีการติติงว่าไม่ควรสร้างความเกลียดชังกับเด็กที่ยังบริสุทธิ์ และเนื้อเพลงที่เขาร้องก็ไม่ได้สะท้อนความเชื่อทางศาสนาแต่อย่างใด ไม่ควรทำลายเด็กด้วยอคติทางความเชื่อส่วนตัว

อย่างไรก็ตาม ทั้งกระแสต่อต้านและสนับสนุน ส่งผลให้เพลงสุขสันต์วันฮารีรายา ดังทะลุ ยอดวิวในยูทูบทะลุเกือบ 4 ล้านวิว ส่งผลให้คาร์มาส ที่ยังไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้าง กลายเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น

คาร์มัส คาน เป็นชาวสุไหงโกลก จ.นราธิวาส ชมชอบในการร้องเพลง เคยประกวดในการรายการ เดอะว๊อยส์ คิด จนโด่งดัง ออกซิงเกิ้ลเพลงหลายเพลงที่สะท้อนอิสลามและมลายู สุขสันต์วันฮารีรายา เป็นเพลงหนึ่งที่ได้รับความนิยมเปิดและร้องกันในวันฮารีรายา

หมายเหต: Mtoday ไม่มีบุคคลากรในองค์กร เป็นชีอะห์ แต่ไม่ต้องการสร้างความเกลียดชัง ความรุนแรงในสังคม และต้องการให้แยกแยะความเชื่อทางศาสนากับเรื่องส่วนตัวออกจากกัน