ขอเตือนนักท่องเที่ยวทุกท่านที่มาเที่ยวดอยอ่างขาง…!!! อ่านสักนิด เพื่อความปลอดภัยในทรัพย์สิน และ ตัวท่านเอง

4889

สำหรับนักท่องเที่ยว ที่มาเที่ยวดอยอ่างขาง เพื่อมาสัมผัสอากาศหนาว และ เที่ยวชมโครงการหลวง ตามรอยพระราชดำริ ของ ในหลวง ร.๙ นั้น อยากจะบอกให้ท่านนักท่องเที่ยวทุกท่าน เรื่องเส้นทางการขึ้นดอยอ่างขาง ซึ่งเป็นดอยเขาที่มีทางลาดชันที่อันตรายมาก ทั้งทางขึ้น ทางลง และ ทางโค้ง หากไม่มีประสบการณ์ หรือ ไม่รู้เส้นทาง ขอให้ใช้บริการรถสองแถวเถอะคับ มีนักท่องเที่ยวหลายๆท่าน ที่เคยผ่านเขาผ่านดอยมา ไม่ว่าจะ ดอยสุเทพ ดอยอินทนนท์ หรือ ดอยต่างๆในพื้นที่ใกล้เคียง จังหวัดเชียงใหม่ และ จังหวัดเชียงราย ขอบอกไว้ก่อนนะคับว่า ดอยอ่างขาง ไม่ใช่อย่างที่คุณคิด บางคนได้มาก็กลับไปอย่างปลอดภัยก็มี บางคนได้มา แต่กลับไปอย่างไร้ความรู้สึกก็มี บางคนขับรถมาดีๆ แต่กลับไปรถพังก็มี บางคนมา ยังไม่ถึงจุดหมาย รถพังก่อนก็มี ที่ผมพูดมานั้น อยากจะเตือนสติ เตือนใจท่านนักท่องเที่ยวทั้งหลายว่า หากไม่รู้เส้นทาง ไม่ชินทาง ไม่มีประสบการณ์ขับรถ มือใหม่หัดขับ หรือ อยากจะลองฝีมือ ขอร้องละคับ อย่าคิดแบบนี้เลยคับ เพราะถ้าคุณคิดแบบนี้ คุณคิดผิด หากมีการสูญเสียเกิดขึ้น ไม่ว่าจะทรัพย์สิน หรือ ตัวบุคคล บอกได้เลยว่า มันไม่คุ้มกันคับ

ในภาพอาจจะมี ภูเขา, ท้องฟ้า, สถานที่กลางแจ้ง และ ธรรมชาติ

เพิ่มเติม สำหรับนักท่องเที่ยวที่นำรถส่วนตัวมา แล้วต้องการจะขับขึ้นลงเขาเอง ขอละคับ ขอร้องเลย และ ช่วยปฏิบัติด้วยนะคับ เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ขึ้นลงเขา ช่วยลดกระจกลง เพื่อให้ได้ยินเสียงแตร สำหรับท่านที่ขับรถขึ้นเขา ช่วยกดแตรช่วงทางโค้งหักศอกทุกครั้งด้วยนะคับ เพื่อเป็นการเตือนรถที่กำลังลงจากเขามา ให้รถทางลงได้หยุด เพื่อให้รถทางขึ้น ได้ส่งกำลังรถขึ้นไปอย่างปลอดภัย และ ขอความกรุณาจริงๆคับ ขอร้องสำหรับรถขาลงเขา เมื่อได้ยินเสียงแตรแล้วนั้น ช่วยหยุดรถ ให้รถขาขึ้นได้ขึ้นมาอย่างปลอดภัยด้วยคับ

ถาม : ทำไมต้องหยุดรถให้ขาขึ้นด้วยละ
ตอบ : เพราะรถที่กำลังขับขึ้นมานั้น ต้องใช้กำลังเครื่องเร่งส่งรถให้ขึ้นทางลาดชันได้อย่างสะดวก และ ปลอดภัย จากการรถลื่นไถลไหลลงเขานั้นเอง
ถาม : รถขาลงไม่หยุดได้ไหม
ตอบ : ถ้ารถขาลงไม่หยุด รถขาขึ้นจะต้องจอด แล้วต้องใช้กำลังส่งใหม่ จะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ นั้นก็คือ รถอาจไม่มีกำลัง และ จะทำให้ไหลลงเขาได้นั้นเอง #แล้วตัวรถขาลงเองนั้นแหละ ที่เป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุได้

ขับรถขึ้นลงเขา ต้องรู้จัก กฏจารจร มารยาทในการใช้ถนน และ มีน้ำใจให้แก่เพื่อนร่วมทาง

แนะนำการใช้เกียร์ขึ้นเขาลงเขาคับ

เกียร์ธรรมดาขาขึ้น การขึ้นเขาจึงใช้เกียร์ต่ำอยู่แล้วในการขึ้นเขา ขึ้นที่สูง คือ เกียร์ 1 เกียร์ 2 ใช้รอบเครื่องไม่เกิน Redline (เรดไลน์) รถกระบะรอบตัดที่ 4500 รอบ ให้ขับขึ้นไม่เกิน 2500 รอบ รถเก๋งตัดที่ 6500 รอบ ให้ขับไม่เกิน 2500 รอบ หากจะเกินไปกว่านี้ คือ ช่วงที่ต้องใช้กำลังส่งขึ้นเนิน เมื่อส่งกำลังไปได้สักระยะ ให้ลดลงมา 2500 รอบเช่นเดิน อย่าให้รอบเครื่องสูงไปกว่านี้เยอะ เครื่องยนต์อาจเกิดอุณหภูมิความร้อนได้ หากเกิดความร้อนขึ้น ในรถกระบะจะมีเกจ์วัดอุณหภูมิสังเกตุได้ ส่วนรถเก๋งบางรุ่น หรือ รุ่นใหม่ๆ ไม่มีเกจ์ มาตรวัดอุณหภูมิ ให้สังเกตุที่ สัญลักษณ์ไฟเตือนรูป เรือใบ้ หากมีไฟสัญญาณเตือนสีแดง หรือ เกจ์วัดสูงจนเกินผิดปกติ ให้ทำการหาที่จอดทันที แต่อย่าดับเครื่องยนต์เด็ดขาด หากดับ มีโอกาสที่เครื่องจะพังก็เป้นได้ แล้วเปิดแอร์ให้ทำงาน เพื่อให้พัดลมแอร์ช่วยระบายความร้อน หากใช้เพียงพัดลมไฟฟ้าระบายความร้อนเพียงลำพังอุณหภูมิอาจลงช้า และ อาจทำให้เครื่องยนต์เสียหายได้ อย่าเอาน้ำไปราดหม้อน้ำเด็ดขาด เพราะหม้อน้ำมีความร้อน เมื่อเจอน้ำเย็นกว่า หม้อน้ำอาจเสียได้ เมื่อความร้อนลงมาอยู่ที่ปกติแล้ว ค่อยปิดแอร์ แล้วทำการขับต่อไปเรื่อยๆคับ

เกียร์ธรรมดาขาลง คงไม่ต้องกล่าวอะไรเยอะ เพราะมีเลขเกียร์ที่บอกไว้ชัดเจน ให้ใช้เกียร์ที่ต่ำที่สุด คือ เกียร์ 1 สำหรับผู้ไม่เคยมีประสบการณ์การลงเขาเลย เป็นการที่ดีที่สุด แล้วค่อยแตะเบรคเป็นระยะๆ แตะปล่อยไปเรื่อยๆ นับในใจ นับ 5 – 6 วิ แตะเบรค นับ 5 – 6 วิ ปล่อยเบรค ทำแบบนี้เป็นระยะๆ อย่าได้เลียครัชลงเด็ดขาด ครัชอาจจะไหม้ได้ และ อาจจะไม่ได้ไหม้เพียงครัช อาจจะไหม้พร้อมเบรคได้คับ ซึ่งอันตรายเป็นอย่างมาก #ไม่ควรทำอย่างยิ่ง ทั้งเลียครัชทิ้งไว้ และ แตะเบรคแช่ตลอดทางลงเขา แล้วอาจเกิดอุบัติเหตุได้

กียร์automatic (เกียร์ออโต้) เกียร์ออโต้มีหลายแบบ ทั้งแบบตรงเรียง แบบขั้นบันได และ แบบ invec ship (อินเวดซิป เกียร์ invecship คือ เกียร์สองระบบ มีแบบธรรมดา บวก-ลบ และ ออโต้ ในตัวเดียวกัน) เกียร์เหล่านี้ยังมีตัวอักษรที่ ไม่เหมือนกัน แต่หลักการใช้เหมือนกัน มาเรียนรู้ตัวอักษรเกียร์เบื้องต้นกันหน่อยคับ

D คือ Diver ขับ/ขับเคลื่อน

L คือ Low ต่ำ

S คือ Slow ช้า

M คือ Manual ธรรมดา(ภาษารถ)/คู่มือ(แปลตรงตัว)

P คือ Prak จอด/หยุด

3 คือ เกียร์ 3

2 คือ เกียร์ 2

N คือ Neutral เกียร์ว่าง

R คือ Reverse เกียร์ถอย

ปุ่ม sport ในบางรุ่น อยู่ที่คันเกียร์ (นิสสัน march / mazda 2 และ รุ่นอื่นๆ)เกียร์นี้คือ เกียร์ 2

รถบางรุ่นบางยี่ห้อ จะมีค่อนข้างครบ เช่น P R N D 3 2 L

บางรุ่นมี P R N D 2 L / P R N D S L / P R N D M + – /P R N D 2 S / P R N D L

อักษรตำแหน่ง ไม่เหมือนกัน แต่หลักการทำงานเหมือนกัน

การขึ้นเขาสำหรับเกียร์Auto (ออโต้) นั้น ให้ใช้หลักการเดียวกับเกียร์ธรรมดา ให้ใช้เกียร์ต่ำสุดในการขับเคลื่อน เหตุที่ไม่ใช้ เกียร์ D นั้น เพราะการขับรถขึ้นที่สูง ต้องมีการเปลี่ยนช่วงจังหวะเกียร์อยู่บ่อยครั้ง อาจทำให้ระบบกลไกในเกียร์มีการสึกหรอได้ เรียกกันง่ายๆคือ เกียร์พัง

การที่เราควบคุมเกียร์เองนั้น เป็นสิ่งที่ดีที่สุดแล้ว เพราะโรงงานได้ออกแบบมาเพื่อใช้ในพื่นที่สูงชันโดยเฉพาะ เกียร์ต่ำจะมีอัตราทดแรงบิคที่มากกว่า เกียร์ D ซึ่งจะทำให้รถมีการขับเคลื่อนไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การขึ้นเขาที่สูงทุกครั้ง ให้ใช้เกียร์ต่ำเสมอ เกียร์ L S คือ เกียร์ 1 รถบางรุ่น เกียร์ S อยู่ล่างสุด เกียร์สุดท้าย นั้นคือ เกียร์ 1 เพื่อที่รถจะได้มีกำลังส่งตัวรถขึ้นไปได้อย่างปลอดภัย และ อย่าได้ใช้รอบเครื่องจนสูงเกินไป ยกตัวอย่างเช่น รถกระบะ จะมีรอบเครื่องที่ตัดอยู่ที่ 4500 รอบ ให้ใช้กำลังรอบที่ 2500 รอบ ซึ่งรอบนี้จะมีแรงบิคที่ดี และ สมบูรณ์ ส่วนรถเก๋ง จะมีรอบเครื่องตัดอยู่ที่ 6500 รอบ ให้ใช้อยู่ที่ 2500 รอบเช่นกัน เพราะรถทุกรุ่นทุกยี่ห้อ ตามที่คู่มือบอกนั้น และ รายระเอียดแล้วนั้น รอบแรงบิคส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 2500 รอบต่อนาที ต่อนิวตันเมตร เป็นรอบที่ดีที่สุดในการใช้ขึ้นเขา หากเกินไปกว่านี้ ให้ระวังเรื่องอุณหภูมิความร้อน ถ้าเป็นรถกระบะ ก็โชคดี ที่มีเกจ์วัดมาตรวัดรอบอุณหภูมิ แต่สำหรับรถเก๋งบางรุ่น หรือ รุ่นใหม่ๆ นั้น ไม่มีบอก ต้องสังเกตุสัญลักษณ์ไฟเตือน เป็นรูป เรือใบ้ มีไฟสีแดงขึ้น มาตรวัดอุณหภูมิสูงผิดปกติ นั้นหมายถึงว่า อุณหถูมิความร้อนของหม้อน้ำ และ เครื่องยนต์ ได้เดือดแล้ว ให้ทำการจอดพักรถทันที แต่อย่าดับเครื่องเด็ดขาด หากดับเครื่อง โอกาสเครื่องจะพังก็เป็นได้ แล้วเปิดแอร์ เพื่อให้พัดลมแอร์นั้นทำงาน ช่วยระบายความร้อน เพราะ ถ้าปล่อยให้พัดลมไฟฟ้าความร้อนทำงานเพียงอย่างเดียว อุณหภูมิความร้อนจะไม่ลดลง จึงต้องเปิดแอร์ เพื่อให้พัดลมแอร์ช่วยระบายความร้อนอีกที เมื่ออุณหภูมิความร้อนลงแล้ว สัญลักษณ์ไฟดับแล้ว ค่อยปิดแอร์ แล้วขับต่อไปเรื่อยๆ

#การขึ้นเขาหากรถไม่มีแรง แนะนำให้ปิดแอร์ เพราะเวลาคอมพ์แอร์ทำงาน จะไปฉุดกำลังเครื่องยนต์ เพราะใช้สานพานพ่วงจากมอเตอร์เครื่องยนต์ เมื่อปิดแอร์ขับ จะรู้สึกว่า รถนั้นมีกำลังต่อเนื่อง ไม่สดุดเวลาขับขึ้นที่สูง สิ่งสำคัญเวลาขึ้นเขาขึ้นดอยขึ้นภู ให้มีสติ และ ใจเย็น ขับไปแบบชิลล์ๆ สบายๆ ไม่ต้องรีบ ยังไงก็ถึงที่หมายปลายทาง

การลงเขาสำหรับเกียร์Auto (ออโต้) นั้น ใช้หลักการเดียวกันกับเกียร์ธรรมดา คือ ให้ใช้เกียร์ต่ำที่สุด คือ L S คือ เกียร์ 1 บางรุ่นบางยี่ห้อ เกียร์ S อยู่เกียร์ล่างสุด สุดท้าย นั้นคือ เกียร์ 1 ให้ผลักมาที่ตำแหน่งเกียร์นี้ช่วงลงเขา แตะเบรคเป็นระยะ ให้แตะปล่อย การแตะปล่อยนั้น ให้ลองนับในใจสัก 5 – 6 วิ แล้วแตะ ให้นับ 5 – 6 วิ ปล่อย ทำเป็นระยะๆ เป็นช่วงๆ สิ่งสำคัญคือ เช่นเดียวกับเกียร์ธรรมดา คือ อย่าแตะเบรคแช่ตลอดทาง เบรคอาจจะไหม้ได้ รอบเครื่องที่ใช้ลง รถกระบะ อย่าเกิน 4000 รอบ แล้วให้แตะลดลงมาอยู่ที่ 2000 1500 รอบ ทำเป็นระยะๆ ส่วนรถเก๋ง อย่าให้รอบสูงเกิน 5000 รอบ ให้แตะลดลงมาที่ 2000 1500 รอบเช่นกัน

#สำหรับเกียร์invecship(อินเวดซิป)

ซึ่งเป็นเกียร์ 2 ระบบ เพราะฉะนั้น จะมีแค่ P R N D M บวก+ และ ลบ-

#เวลาขับขึ้น ให้ผลักคันเกียร์มาที่ M เข้าสู่โหมด Manual ที่ต้องควบคุมเอง ให้ใช้เกียร์ต่ำเช่นกัน ผลักมาที่ ลบ – จะมีตัวเลขโชว์ที่หน้าจอหน้าปัดเรือนไมล์ ว่าอยู่ตำแหน่งเกียร์อะไรอยู่ จะเป็นตัวเลข 1 2 3 4 5 6 7 ให้ใช้เกียร์ 1 เท่านั้น บางช่วงอาจมีให้เปลี่ยนเกียร์ ให้ดันไปที่ บวก + เพื่อเปลี่ยนเกียร์

#เวลาขับลง ให้ผลักมาที่ M เช่นเดิม ใช้เกียร์ต่ำลงเขาลงดอย คือ เกียร์ 1 แล้วปฏิบัติเหมือนเกียร์Auto (ออโต้) ทั่วไปคับ

#แนะนำสำหรับรถติดแก๊ส NGV/LPG/LNG ทุกชนิด

ไม่ควรใช้ระบบแก๊สเป็นเชื้อเพลิงขับเคลื่อนขึ้นที่สูง โดยมีสาเหตุดังนี้

1. เพราะต้องเร่งเครื่อง ต้องส่งกำลังเยอะ ความร้อนสะสมในระบบแก๊สจะสูงตาม เสี่ยงหลายๆ เรื่อง เช่น ความร้อนขึ้น

2. เพราะบนเขา ความกดอากาศจะต่ำ (คือที่สูง ความดันจะต่ำ) ทำให้แก๊สที่อยู่ในถังขยายตัว ทำให้ความดันลดลง ซึ่งในกรณีที่ใช้ CNG ที่ย่อมาจาก Compressed Natual Gas ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่ามันถูกอัดไว้อยู่ ณ บน เขา แก๊สภายใต้ความดันต่ำ หม้อต้มแก๊สจะต้องทำงานหนักขึ้น เพราะความดันแก๊สน้อยลง ไม่มากก็น้อย ความดันอากาศที่ต้องการก็น้อยลงเช่นกันอีก ทำให้ประสิทธิภาพในการเผาไหม้ไม่มีประสิทธิภาพ หรือ หากระบบแก๊สมีรูรั่วอยู่จุดไหนก็ตาม แก๊สจะแพร่กระจายเร็วกว่าปกติ เพราะความดันอากาศต่ำ แก๊สเป็นอิสระมากขึ้น ถ้าเกิดประกายไฟ ไฟจะแพร่กระจายไปตามแก๊สได้เร็วขึ้น

3.รถติดแก๊ส มีน้ำหนักถังแก๊สเพิ่มขึ้น ทำให้ขับขึ้นเขายากยิ่งขึ้นเนื่องจาก load น้ำหนักเยอะขึ้น รถที่มาดัดแปลงแก๊สเองข้างนอก จึงมีสมรรถนะที่ลดลง ทั้งเรื่องอัตราเร่ง เบรค(เอาอยู่ยากขึ้น) ช่วงล่าง(รับน้ำหนักถังมากขึ้น) จึงมีความเสี่ยงมากขึ้น

#สรุปรถติดแก๊สทุกชนิด การขับรถขึ้นเขาที่สูง อากาศจะเบาบาง ทั้งๆที่ขึ้นเขาจะต้องเร่งเครื่อง แต่พออากาศเบาบาง หมายความว่า รถจะมีกำลังลดลง แล้วยิ่งเจอถนนสุงชันมากขึ้น ยิ่งไปกันใหญ่ ต้องยิ่งใช้กำลังส่งอย่างมาก นี้คือ #สาเหตุของรถที่ติดแก๊สไม่ควรขับขึ้นเขาที่สูง

 

กรณีเบรคไหม้ #เบรคไม่อยู่ #เบรคแตก

เมื่อคนขับรถรู้สึกว่า เหยียบเบรคแล้ว รู้สึกว่า เหมือนเบรคจะไม่ติดเท้า เหมือนเบรคลื่นๆ อย่างแรก ให้ตั้งสติให้ดี แล้วฝืนเหยียบเบรคลงไปให้สุด พร้อมกับ ค่อยๆดึงเบรคมือขึ้น ย้ำว่า ค่อยๆดึงเบรคมือขึ้น จนสุด หากดึงเบรคมือทันที่ รถอาจเสียหลัก พลิกคว่ำได้ เมื่อเหมือนรถเริ่มชะลอลดลงแล้ว ให้บังคับรถเข้าข้างทาง เหยียบเบรคค้างไว้ให้สุด ดึงเบรคมือให้สุด แล้วหาขอนไม้ หรือ หิน มาหนุนล้อไว้ เพื่อกันรถไหล หลังจากนั้นปล่อยเท้าออกจากแป้นเบรค เพื่อให้จานเบรค ผ้าเบรค ได้ระบายความร้อนสักพัก แต่ไม่ต้องดับเครื่องแต่อย่างใด

#ข้อห้ามเมื่อเบรคร้อนหรือไหม้

ห้ามเอาน้ำไปราดเด็ดขาด หากนำน้ำไปราดจานเบรคนั้น จานเบรคอาจมีรอยร้าว หรือ ผิดรูป เพราะ จานเบรคยังร้อนอยู่ เมื่อนำน้ำไปราด เบรคอาจมีปัญหา ให้ปล่อยให้จานเบรค และ ผ้าเบรค เย็นตัวลงเองเท่านั้น

#คำแนะนำเมื่อเครื่องน็อค

เมื่อขับขึ้นเขาอยู่ดีๆ แล้วเกิดอาการเครื่องน็อค อย่างแรกให้เปิดไฟกระพริบฉุกเฉิน เพื่อให้รถคันที่ขับตามมาทราบว่า มีเหตุฉุกเฉิน ให้นะวัง หลังจากนั้นให้หาขอนไม้ หรือ หิน มาหนุนล้อ ดึงเบรคมือให้สุด แล้วลองสตาร์ทเครื่องใหม่ หากสตาร์ทครบ 3 รอบ แล้วไม่ติด ให้หยุดสตาร์ททันที กดโทรศัพท์หาเจ้าหน้าที่ 1669 ทันที เพื่อให้ทางเจ้าหน้าที่ได้มาช่วยเหลือท่านต่อไป

#คำแนะนำที่ให้ไปนั้น เป็นเพียงทฤษฎีเบื้องต้นเท่านั้น ทุกอย่างขึ้นอยู่กับสถานการณ์ และ สภาพแวดล้อมของสถานที่ รวมถึงพื้นที่ลาดชันของสถานที่นั้นๆด้วย สิ่งสำคัญคือ ตรวจเช็ครถให้พร้อม เช่น

1. ระบบพัดลมความร้อนทำงานปกติดีไหม เวลาจอดสตาร์ทรถทิ้งไว้ไม่เปิดแอร์ พัดลมความร้อนทำงานปกติไหม

2.เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องล่าสุดเมื่อไหร่

3.ผ้าเบรคอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานไหม

4.น้ำยาหม้อน้ำมีไหม ให้ดูที่หม้อพักน้ำหม้อน้ำ หากน้ำในหม้อพักขาด ให้เติมลงไปให้ถึงขีดที่เขากำหนดไว้

5.ยางรถอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานไหม

6.วัดลมยางทุกครั้งที่ออกทริป

7.ระบบแอร์ทำงานปกติดีไหม เวลาเปิดแอร์ พัดลมแอร์ต้องทำงาน

8.สายพานอยู่ในสภาพสมบูรณ์ไหม ต้องตรวจสอบให้ดี เพราะสานพานเป็นสิ่งสำคัญมาก

9.น้ำมันเกียร์อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานปกติไหม น้ำมันเกียร์ก็สำคัญ

ฯลฯ และอื่นๆอีกมากมาย ที่กล่าวมาเพียงจุดสำคัญ แต่ก็ต้องตรวจเช็คให้ละเอียด ให้ดีก่อนออกเดินทางทุกครั้ง การตรวจสอบไม่ยาก ให้นำรถไปตรวจสภาพที่ศูนย์บริการของแต่ละยี่ห้อ หรือ อู่บริการที่ไว้ใจได้ เพื่อให้เขาได้ตรวจเช็คสภาพรถอย่างละเอียดถี่ถ้วนก่อนออกเดินทาง

#อย่าลืม ควรศึกษาหาข้อมูลก่อนเดินทางทุกครั้ง เพื่อเป็นพื้นฐานในการเตรียมตัวออกเดินทาง

#สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงเสมอ คือ ตัวผู้ขับขี่พร้อมไหม สภาพร่างกาย การนอนหลับพักผ่อน เพียงพอไหม ร่างกายต้องพร้อมสมบูรณ์ หากมีอาการง่วง เพลีย อย่าฝืนขับ ให้หาที่จอดพัก นอนหลับสักตื่น ล้างหน้าให้สดชื่น แล้วไปต่อ คนขับรถนั้นสำคัญอย่างมาก เพราะคุณจะต้องดูแล รักษาผู้ที่โดยสารมากับคุณ ไม่ว่าจะเป็น ครอบครัว เพื่อน พี่น้อง ญาติ หรือ ผู้ใช้บริการรถคุณ คุณต้องมีความรับผิดชอบอย่างสุง ในการรักษาชีวิตพวกเขา เพราะฉะนั้น #อย่าลืมข้อนี้เด็ดขาด

#อยากให้นักท่องเที่ยวทุกท่าน ที่ได้มาเที่ยวชมบรรยากาศของดอยอ่างขาง แล้วกลับไปพร้อมกับความประทับใจ และ ภาพประทับใจ กันอย่างปลอดภัยทุกท่านคับ

#หากไม่แน่ใจ #ไม่เสี่ยง

#แนะนำ ให้ใช้รถบริการดีกว่าคับ เพราะรถที่บริการรับส่งนักท่องเที่ยวทุกคัน ได้มีการตรวจเช็คสภาพรถทุกครั้งก่อนขับขึ้น และ ลงดอยอ่างขาง ที่สำคัญรถบริการทุกคันได้มีการปรับปรุงช่วงล่างมาเป็นพิเศษ เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารโดยเฉพาะ รับรองว่า ปลอดภัยแน่นอนคับ 🖒🖒

#มาเที่ยวชมบรรยากาศดอยอ่างขางกันเยอะๆนะคับ

มาดูสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ที่ ในหลวง ร.๙ ทรงให้มีพระราชดำริจัดสร้างโครงการ เพื่อให้เป็นสถานี ที่ศึกษาวิจัยพันธุ์พืชต่างๆนานา เป็นที่แรก และ แห่งแรก ในภาคเหนือ และ ประเทศไทย

#มาเดินตามรอยพ่อกันนะคับ

#ปล.ผมเตือนนักท่องเที่ยวทุกปีที่มาเที่ยวตลอด ไม่ว่าจะช่วงหน้าฤดูไหน แต่จะเน้นช่วงหน้าฤดูหนาวเป็นพิเศษ เพราะนักท่องเที่ยวจะมาเยอะกว่าหน้าฤดูอื่นๆ ขอเตือนด้วยความปรารถนาดีคับ และ อยากให้แชร์เตือนกัน เพื่อนคนใดในเฟชอยากแชร์ ผมอนุญาติให้แชร์ได้เลยคับ อย่างน้อย จะได้เป็นการลดความสูญเสีย และ อุบัติเหตุด้วยคับ

#ความประมาทเป็นบ่อเกิดของความสูญเสีย

#อย่าเพียงอ่านแล้วกดไลค์ #ร่วมด้วยช่วยแชร์ #เพื่อเป็นการลดอุบัติเหตุและการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน

#1แแชร์ของคุณเท่ากับหลายชีวิตที่ปลอดภัย

#ขออนุญาติภาพเจ้าของรถทุกท่านนะคับ เพื่อเป็นอุทาหรณ์เตือนใจ เตือนสติให้กับผู้ขับขี่ ที่ใช้รถใช้ถนน และ ยังเป็นการช่วยลดอุบัติเหตุ จากการสูญเสียด้วย ไม่ว่าจะทรัพย์สิน และ ชีวิต แล้วยังเป็นบุญกุศลทานอีกด้วยคับ ไม่ได้มีเจตนาแอบแฝงใดๆทั้งสิ้นคับ

เครดิต มู มู่ หมูหันต์