แพทย์ไร้พรมแดนเผย โรฮิงญาเสียชีวิตนับหมื่น ฝีมือทหารพม่า-สวนทางตัวเลขหม่องแค่ 400

108

ชาวโรฮิงญาเสียชีวิตจากความรุนแรงครั้งล่าสุดมากกว่า 10,000 ราย

องค์การแพทย์ไร้พรมแดนหรือ Medecins Sans Frontieres (MSF) ได้ประเมินว่ามีชาวโรฮิงญาอย่างน้อย 10,000 รายเสียชีวิตจากเหตุความรุนแรงในรัฐยะไข่ช่วง 25 สิงหาคมถึง 24 กันยายนที่ผ่านมา ในขณะที่ทางกองทัพเมียนมาออกมาระบุว่า มีผู้เสียชีวิตประมาณ 400 ราย ซึ่งจำนวนผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ทางกองทัพเมียนมาออกมาอ้างว่าเป็นการปราบปราม ‘ผู้ก่อการร้าย’ ชาวมุสลิมโรฮิงญา
.
.
ตัวเลขที่ประมาณการออกมามีรากฐานจากผลการสำรวจกลุ่มตัวอย่างผู้ลี้ภัยที่รอดชีวิตข้ามพรมแดนไปยังบังคลาเทศที่มีจำนวนมากกว่า 647,000 คน
.
.
‘จากข้อมูลที่ได้มา เราสามารถบอกได้เลยว่า เป็นตัวเลขที่เป็นการประเมินแบบคร่าวๆ โดยมีชาวโรฮิงญาที่เสียชีวิตจำนวน 9,000 ถึง 13,700 ราย’ นายพอล แม็คพูน ผู้อำนวยการองค์การแพทย์ไร้พรมแดนกล่าวกับสำนักข่าวเอบีซี
.
.
นายแม็คพูนกล่าวว่า มีประมาณ 71 เปอร์เซ็นต์ที่เป็นจำนวนชาวโรฮิงญาที่เสียชีวิตจากเหตุความรุนแรง “โดยที่พวกเขาถูกยิง ถูกเผาทั้งเป็น และนี้เป็นความชัดเจนที่เป็นผลลัพธ์มาจากปฏิบัติการกวาดล้างของกองทัพเมียนมาในช่วงเวลานั้น และจำนวนที่เหลือเป็นผลจากการอดตายหรือ
เหตุอื่นๆ ในขณะที่พวกเขาหลบหนีความรุนแรง”
.
.
จากจำนวนผู้เสียชีวิต: 69 เปอร์เซ็นต์ถูกยิงเสียชีวิต 9 เปอร์เซ็นต์เสียชีวิตขณะที่ถูกเผาทั้งเป็นขณะอยู่ในบ้านของพวกเขาเอง ขณะที่ 5 เปอร์เซ็นต์ถูกรุมตีจนเสียชีวิต
.
.
ทางองค์การแพทย์ไร้พรมแดนยังได้ระบุว่า จากจำนวนผู้เสียชีวิตมีเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบอย่างน้อย 1,000 ราย 59 เปอร์เซ็นต์เสียชีวิตจากการถูกทหารเมียนมายิง 15 เปอร์เซ็นต์ถูกจับเผาทั้งเป็น 7 เปอร์เซ็นต์ถูกตีจนเสียชีวิต และ 2 เปอร์เซ็นต์เสียชีวิตจากการเหยียบกับระเบิด
องค์การแพทย์ไร้พรมแดนออกมาเปิดเผยจำนวนผู้เสียชีวิตในช่วงเวลาที่มีการถกเถียงกันว่า ผู้ลี้ภัยสมควรถูกส่งกลับไปยังเมียนมาหรือไม่ หลังจากที่บังกลาเทศและเมียนมาได้มีการลงนามในข้อตกลงร่วมกันในการส่งกลับชาวโรฮิงญาหลายแสนคน เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา
.
.
“เราเป็นห่วงมากๆ ในกรณีขบวนการที่บังคับส่งกลับชาวโรฮิงญา ดังนั้นอันดับแรกเลยที่เราขอเรียกร้องก็คือ การส่งกลับไปยังเมียนมาต้องมาจากความสมัครใจของชาวโรฮิงญาเองเท่านั้น พวกเขาต้องรู้สึกปลอดภัยและไม่มีการเผชิญกับความรุนแรงต่างๆ จากการกลับไปที่เมียนมา” นายแม็คพูลกล่าว
.
.
มีข้อเสนอจากบรรดาแหล่งข่าวทางทหารว่า จะนำตัวชาวโรฮิงญาที่ส่งกลับมาจากบังกลาเทศไปไว้ในค่ายผู้ลี้ภัย แทนที่จะนำพวกเขากลับไปยังหมู่บ้านของพวกเขาเอง “จากความคิดที่จะนำชาวโรฮิงญากลับไปขังไว้ในค่ายผู้ลี้ภัยนั้นเป็นอะไรที่เราไม่สามารถรับได้อย่างแน่นอน ยกเว้นถ้ามีการนำประเด็นความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับกลุ่มชาวโรฮิงญามาอภิปรายหาเพื่อหาทางแก้ไข ถ้าไม่เช่นนั้นการนำโรฮิงญากลับไปก็จะไม่การเกิดขึ้นอย่างแน่นอน” นายแม็คพูลกล่าวเสริม

ที่มา –
http://www.bbc.com/news/world-asia-42348214
http://www.abc.net.au/news/2017-12-14/rohingya-death-toll-in-the-thousands-says-msf/9260552