มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์จัด มหกรรมเครือข่ายท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมสุรินทร์โมเดล ผลักดันความเข้มแข็งจากภายในสู่ภายนอก เพื่อให้เกิดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วมของคนในชุมชน

วันนี้ ( 1 ก.ย.61) ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ว่าที่ร้อยตรีนิรันดร์ ดุจจานุทัศน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานเปิดมหกรรม “เครือข่ายท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมสุรินทร์โมเดล” ขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคบริการและด้วยการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมตามเส้นทางน้ำจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในพันธกิจของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ทางด้านการบริการวิชาการ ซึ่งเป็นโครงการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน โดยมีการดำเนินโครงการร่วมกับชุมชนอย่างมีส่วนร่วม ใน 4 พื้นที่ในจังหวัดสุรินทร์ ที่มีวิถีการท่องเที่ยวเกี่ยวกับลำน้ำ ได้แก่ ต.เมืองลีง อ.จอมพระ , ต.กุดหวาย อ.ศีขรภูมิ , ต.จรัส อ.บัวเชด  และ ต.บ้านไพรขลา      อ.ชุมพลบุรี

ทั้งนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ ที่มีศักยภาพ เพื่อที่จะพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนในจังหวัดสุรินทร์ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต ด้วยการพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยวที่มีอยู่ และให้ความสำคัญต่อชุมชนในระดับต้นๆ โดยคำนึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรม และที่สำคัญจะเน้นก่อให้เกิดความร่วมมือและสร้างเครือข่ายสัมพันธ์อันดีของทุกภาคส่วน  เช่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจังหวัดสุรินทร์, พาณิชจังหวัดสุรินทร์, พัฒนาชุมชนจังหวัดสุรินทร์, ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสุรินทร์, และองค์การบริหารส่วนตำบล  ที่ได้ร่วมกันขับเคลื่อนขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคบริการและด้วยการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมตามเส้นทางน้ำจังหวัดสุรินทร์

ทั้งนี้เพื่อทำให้คนในชุมชนได้รับความรู้ความเข้าใจด้านการท่องเที่ยวที่ถูกต้องและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ชุมชนซึ่งก็จะเป็นแนวทางสำคัญที่จะช่วยให้การพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดสุรินทร์อย่างบูรณาการแบบยั่งยืน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์กนก โตสุรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ กล่าวว่า โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคบริการและด้วยการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมตามเส้นทางน้ำ จังหวัดสุรินทร์ ได้เน้นที่ชุมชนท้องถิ่น และความต้องการที่จะพัฒนาท้องถิ่นเป็นหลัก โดยเฉพาะในด้านการท่องเที่ยว ก่อให้เกิดเป็นความร่วมมือกัน ฉะนั้นการจัดมหกรรมเครือข่ายท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมทางน้ำ “สุรินทร์โมเดล” จะทำให้คนในชุมชนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ในท้องถิ่นของตนเองได้อย่างเหมาะสม โดยไม่เกิดผลกระทบต่อชุมชนนอกจากนั้นยังช่วยเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันทางด้านการท่องเที่ยวในระดับท้องถิ่นต่อไป

โดยในงานมหกรรมเครือข่ายท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมทางน้ำ “สุรินทร์โมเดล” มีกิจกรรมมากมาย อาทิ กิจกรรมแข่งขันประกอบอาหารพื้นบ้าน  กิจกรรมการแสดงวงดนตรีและนาฏศิลป์  ศิลปะการแสดงพื้นบ้าน  การแสดง นิทรรศการและแบบผ้าไหม “ของดีบ้านฉัน” จากกลุ่มบทบาทสตรี และชุมชนผู้ผลิตผ้าไหม ของดีบ้านฉัน” รวมถึงการออกร้านจำหน่ายสินค้าของชุมชน  และกิจกรรมเสวนา หัวข้อ “การท่องเที่ยวนิเวศวัฒนธรรมสุรินทร์โมเดล: ยกระดับสู่ Thailand 4.0” /เสวนาหัวข้อ “สุรินทร์โมเดล: การท่องเที่ยวนิเวศวัฒนธรรม 4 ลุ่มน้ำ” และ เสวนาหัวข้อ“การบูรณาการงานบริการวิชาการกับการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21”

ทีมข่าวเพจสุรินทร์เพื่อนคุณ