รอมฎอนนี้ ขอซะกาตและเงินบริจาคเพื่อพี่น้อง’ผู้ลี้ภัย’ ผ่านUNHCR

227

UNHCR จับมือสำนักจุฬาราชมนตรี เปิดโครงการปีที่ 2 “รอมฎอนนี้เพื่อพี่น้อง” รับเงินบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ลี้ภัยในเดือนแห่งความประเสริฐ เพิ่มการจ่าย’ซะกาต’ เป็นปีแรก

สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ หรือ UNHCR ประจำประเทศไทย ร่วมกับสำนักจุฬาราชมนตรี และสภาเครือข่ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี ริเริ่มรับบริจาคซะกาตและสานต่อโครงการ “รอมฎอนนี้เพื่อพี่น้อง ปีที่ 2” หลังประสบความสำเร็จในปีแรก เพื่อส่งเสริมให้ชาวไทยมุสลิมทั่วประเทศร่วมบริจาคและจ่ายซะกาตและช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ในเดือนรอมฎอน เพื่อส่งต่อความช่วยเหลือแก่ผู้ลี้ภัยที่ไม่มีโอกาสได้เฉลิมฉลองเดือนแห่งความศักดิ์สิทธิ์ในประเทศของตนและกำลังต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนทั่วโลก

“การดำเนินโครงการเมื่อปีที่แล้ว ได้รับเงินบริจาคเข้ามาประมาณ 1 ล้านบาท ซึ่งเงินทุกบาทถูกนำไปช่วยเหลือผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาในค่ายอพยพในบังคลาเทศ ซึ่งทุกคนมีความเป็นอยู่ที่ยากลำบากมาก ปีนี้ในเดือนรอมฎอนจึงได้ขับเคลื่อนโครงกาตต่อ’ อรุณี อัชชะกุลวิสุทธิ์ ผู้อำนวยการแผนกส่งเสริมความร่วมมือภาคเอกชน UNSCR ประเทศไทย กล่าวในการแถลงกับสื่อมวลชนที่มูลนิธิเพื่อศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย

“ศาสนาทุกศาสนามีหลักคำสอนและเป้าหมายเดียวกันคือความเมตตาและการช่วยเพื่อนมนุษย์ จึงขอเชิญชวนร่วมกันบริจาคเพื่อผู้ทุกข์ยาก”

“โครงการรอมฎอนนี้เพื่อพี่น้องปีแรก เราได้รับการสนับสนุนจากชาวไทยมุสลิมในการช่วยผู้ลี้ภัยเป็นอย่างดี การบริจาคอย่างต่อเนื่องของทุกท่านได้ช่วยชีวิตพี่น้องชาวโรฮิงญา เพื่อซ่อมแซมที่พักในช่วงฤดูมรสุมที่ผ่านมา” อรุณี กล่าว

(จากซ้ายไปขวา) ดร. วิสุทธิ์ บิลล่าเต๊ะ ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานสำนักจุฬาราชมนตรี ประจำภาคใต้, ซากีย์ พิทักษ์คุมพล รองเลขานุการสำนักจุฬาราชมนตรี, อรุณี อัชชะกุลวิสุทธิ์ ผู้อำนวยการแผนกส่งเสริมความร่วมมือภาคเอกชน UNSCR ประจำประเทศไทย /แถลงข่าวกับสื่อมวลชน มูลนิธิเพื่อศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย /วันที่ 25 เม.ย.2562 ©UNHCR

ด้านนายซากีย์ พิทักษ์คุมพล รองเลขานุการสำนักจุฬาราชมนตรี กล่าวว่า วิกฤติผู้ลี้ภัยโลกได้เพิ่มขึ้น โดยตัวเลขผู้ลี้ภัยเพิ่มจาก 65 ล้านคน เมื่อปี 2560 เป็น 68.5 ล้านคน เมื่อปี 25561 อันเป็นผลมาจาก สงครามในซีเรีย หรือชาวโรฮิงญาที่ลี้ภัยไปยังประเทศบังคลาเทศ  โดยผูี้ี้ภัยจำนวน 70% เป็นมุสลิม ซึ่งเราจะต้องให้การช่วยเหลอ โดยในเดือนรอมฎอนนี้ เราต้องระลึกถึงช่วงเวลานี้นอกประเทศหลังการลี้ภัยที่ยากลำบาก

“จำนวนผู้ลี้ภัยตอนนี้สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 อันเนื่องมาจากสงคราม ความขัดแย้ง และการประหัตประหาร โดยเฉพาะในประเทศที่พี่น้องชาวมุสลิมเราอยู่” นายซากีย์ พิทักษ์คุมพล กล่าวและว่า สถานการณ์โลกเป็นเรื่องที่เราหรือพวกเขาไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ด้วยตัวเอง แต่เราในฐานะพี่น้องร่วมโลกเดียวกัน เราสามารถช่วยเหลือเกื้อกูลกันได้

เขายัง ระบุว่า ด้วยเหตุนี้องค์กรมุสลิ จึงจะต้องทำงานร่วมกับองค์กรที่ทำงานด้านนี้อยู่แล้ว เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยเหล่านั้น ซึ่ง UNSCR คือองค์กรที่ได้รับความเชื่อถือในด้านนี้ “ผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่ก็เป็นพี่น้องมุสลิม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าต้องการให้ความช่วยเหลือเฉพาะมุสลิมเท่านั้น เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องมนุษยธรรม (Humanity)

รองเลขานุการสำนักจุฬาราชมนตรียังฝากถึงพี่น้องชาวไทยทุกคน ไม่ใช่เฉพาะมุสลิมเท่านั้นว่า “ให้เห็นความสำคัญของการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ เพราะเมื่อพูดถึงกรณีผู้อพยพแล้วเสมือนว่าเรื่องนี้จะไม่ได้รับความสำคัญเท่าใดนัก”

โครงการ “รอมฎอนนี้เพื่อพี่น้อง” เริ่มต้นขึ้นในปี 2561 ที่ผ่านมา และได้รับความช่วยเหลือจากทุกภาคส่วนอย่างดียิ่งในการระดมพลังความศรัทธา และสนับสนุนการระลึกถึงความยากลำบากและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อนมนุษย์ผู้ด้อยโอกาสในช่วงเดือนรอมฎอน โครงการในปีที่ 2 นี้จึงมีการขยายส่วนร่วมของชาวไทยมุสลิมทั่วประเทศ จากการร่วมบริจาคเงินในเดือนรอมฎอนเพื่อผลบุญต่อตนเอง ไปยังการบริจาคซะกาตหรือทานประจำปี ซึ่งเป็นการบัญญัติขึ้นตามหลักศาสนาอิสลามเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ตกอยู่ในความทุกข์ยาก 8 ประการอีกด้วย นอกจากนั้นยังจะขยายความช่วยเหลือจากผู้ลี้ภัยชาวโรงฮิงญา ไปยังผู้ลี้ภัยในซีเรียและเยเมนด้วย

“รอมฎอน เป็นช่วงเวลาที่ชาวมุสลิมได้ทบทวนถึงความยากลำบากที่เกิดขึ้นในโลก เป็นโอกาสในการแบ่งปันให้แก่คนด้อยโอกาส ยากจน และเปราะบาง” ดร. วิสุทธิ์ บิลล่าเต๊ะ ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานสำนักจุฬาราชมนตรี ประจำภาคใต้ กล่าว

“นอกจากนี้ การมอบซะกาตเพิ่มเติมระหว่างปี ยังทำให้จิตใจของผู้ให้สะอาดบริสุทธิ์และเป็นการช่วยเหลือพี่น้องชาวมุสลิมเพิ่มอีกด้วย ซึ่งผู้ลี้ภัยเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติ 4 ใน 8 ประการของผู้มีสิทธิ์ได้รับซะกาตตรงตามที่บัญญัติใว้ในอัลกุรอ่านบทที่ 9 โองการที่ 60 ซึ่งผู้ให้ทานจะเกิดความสุขใจสูงสุด”

ทั้งนี้ UNHCR ทำงานร่วมกับมูลนิธิทาบาห์ องค์กรชั้นนำทางศาสนาอิสลาม และได้รับการรับรองระดับโลกจากนักวิชาการศาสนา ทั้งจากประเทศอียิปต์ เยเมน โมร็อกโก มอริเตเนีย ที่วินิจฉัย (ฟัตวา) และยืนยันว่า UNHCR มีคุณสมบัติในการรับซะกาตได้

ขนะที่สภาเครือข่ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี ก็ได้ร่วมมือและสนับสนุนการทำงานของ UNHCR ในการช่วยเหลือผู้ลี้ภัยในฐานะองค์กรภาคีเพื่อมนุษยธรรม โดย UNHCR จะนำเงินบริจาคทั้งหมดไปช่วยเหลือผู้ลี้ภัยที่เปราะบางต่อไป ซึ่งส่วนใหญ่คือ เด็กกำพร้า แม่เลี้ยงเดี่ยว และหญิงหม้าย โดยเงินบริจาคในเดือนรอมฎอนจะนำไปช่วยเหลือพี่น้องผู้ลี้ภัยชาวมุสลิมโรฮิงญา ซีเรีย และเยเมน และเงินบริจาคซะกาตตลอดทั้งปีจะถูกนำไปช่วยเหลือผู้ลี้ภัยที่ตรงตามคุณสมบัติที่ควรได้รับซะกาตในประเทศเลบานอน จอร์แดน มอริเตเนีย อิรัก และเยเมน โดยซะกาตที่ UNHCR ได้รับทั้งหมด จะได้รับการดูแลและตรวจสอบอย่างเข้มงวดเพื่อให้เกิดความโปร่งใสในทุกขั้นตอนตั้งแต่การบริจาคจนถึงการให้

ผู้มีจิตศรัทธา สามารถบริจาคได้ที่ www.unhcr.or.th