ทรงคุณค่า! พบโน๊ตเพลงสมัยสมเด็จพระนารายณ์ เตรียมเปิดบรรเลงเต็มวงที่บ้านวิชาเยนทร์

918

พบโน้ตเพลงของลาลูแบร์ อันคุณค่าประวัติศาสตร์ ” เพลงสุดใจ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กว่า 300 ปี ที่หาฟังได้ยากในยุคปัจจุบัน

ผู้สื่อข่าว M. TODAY เดินทางไปที่.. เรือนพระลพ ตำบลนายาง อำเภอพระพุทธบาท จังหสระบุรี ไปพบกับ นายภูธร ภูมะธน นักวิชาการโบราณคดีฯ ไปพูดคุย ในประเด็นได้ค้นพบโน๊ตเพลงลาลูแบร์ คุณค่าด้านประวัติศาสตร์ เพลงสุดใจ และเพลง สายสมร 2 บทเพลง อันทรงคุณค่าประวัติศาสตร์ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่บันทึกโดย ชาวฝรั่งเศส ค้นพบโดยคณะโบราณคดี นำโดย นายภูธร ภูมะธน เมื่อเวลา 13.30 ในวันนี้ (เสาร์ที่ 31 สิงหาคม 2562) ณ เรือนพระลพ ตำบลนายาง อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี

นายภูธร ภูมะธน นักวิชาโบราณคดี เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวMTODAY ว่า ได้ค้นพบบทเพลงอันทรงคุณค่าประวัติศาสตร์ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กว่า 300 กว่าปี บทเพลงที่บันทึกไว้ในจดหมายเหตุของ ลา ลูแบร์ คือ เพลงสายสมร และเพลงสุดใจ
โดยการบรรเลงเพลงสุดใจ และเพลงสายสมร จากโน๊ตเพลงของลาลูแบร์ โดยวงดุริยางค์สากล สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
เพลงสุดใจ กับเพลงสายสมร เป็นชื่อเพลงในตระกูลมโหรีกรุงเก่า แบบ“ร้องเนื้อเต็ม” ในยุคของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งเป็น ๒ เพลง ที่ทูตจากฝรั่งเศสบันทึกเป็นโน้ตสากล กำกับด้วยคำร้องภาษาไทย แต่เขียนด้วยอักษรโรมัน


เพลงสุดใจ เป็นเพลงที่อ้างอิงมาจาก นิโคลาส์ แซร์แวส ซึ่งเป็นชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาประเทศไทยในแผ่นดินของสมเด็จพระนารายณ์ ระหว่าง พ.ศ. ๒๒๒๔ – ๒๒๒๙ ซึ่งนายนิโคลาส์ได้ทำการบันทึกเพลงไว้สองเพลง แต่ในการพิมพ์จดหมายเหตุนี้ครั้งแรกที่ฝรั่งเศสกลับมีโน้ตเพลงประกอบเพียงเพลงเดียว คือเพลง สุดใจ (Sout Chai) เพลง สุดใจ เขียนขึ้นด้วยการร้อยทำนองสองทำนองเข้าด้วยกัน มีทำนองหลักอยู่ด้านบน และให้ทางเบสอยู่ไลน์ต่ำ ซึ่งเป็นขนบนิยมของของดนตรีตะวันตก ซึ่งเมื่อได้ทดลองบรรเลงดูแล้ว เสียงที่ออกมาก็ไม่คล้ายดนตรีตะวันออกแต่อย่างใด ในส่วนของเนื้อร้องก็ยังไม่ไปกับท่วงทำนองดนตรีมากนัก


เพลงสายสมร เป็นอีกเพลงหนึ่งที่สันนิษฐานว่าเป็นอีกเพลงที่ นิโคลาส์ แซร์แวส บันทึกไว้ แต่ถูกนำไปบรรจุไว้ในหนังสือจดหมายเหตุอีกเล่มหนึ่งของ ซีมง เดอ ลาลูแบร์ ที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยในช่วง พ.ศ. ๒๒๓๐ โดยเพลงที่ถูกพิมพ์ไว้ในจดหมายเหตุของลา ลู แบร์ นั้นมีชื่อว่า A Siamese Song และมีเนื้อร้องที่ขึ้นต้นว่า Say Samon ซึ่งตรงกับชื่อเพลง “สายสมร” ที่สูญหายไป
เมื่อเทียบกับเพลง สุดใจ นั้น เพลง สายสมร เป็นการบันทึกทำนองที่มีความพิถีพิถันในการจะทำให้เนื้อร้องเข้ากับทำนองมากกว่า แต่จากการทดลองบรรเลงกลับพบว่า ไม่สะดวกกับการขับร้อง และท่วงทำนองก็ไม่ได้ชี้ชัดว่าเป็นเพลงตะวันออกแต่อย่างใด


นายภูธร ภูมะธน นักวิชาการโบราณคดี เปิดเผยต่อว่า 2 บทเพลงนี้ จะคืนชีพกลับมาอีกครั้งหนึ่ง บนหน้าประวัติศาสตร์ บนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในยุคปัจจุบัน จะมีไทยซินโฟนีออร์เคสตร้า อันดับมือหนึ่งของเมืองไทย บรรเลงให้ฟัง งานนี้ฟรีตลอดงาน เพราะยุคปัจจุบัน หาได้ฟังยากแล้ว มีบุญได้เข้าไปนั่งฟัง บรรเลงให้ฟังอย่างใกล้ชิด บรรเลงดพลงไทยโดย วงไทยซินโฟนีออร์เคสตร้า ศิลปินสีน้ำเงิน ดร.สุชาติ วงษ์ทอง นักวาดบ้านราชฑูตฯ จังหวัดลพบุรีจะมีงานใหญ่ งานดนตรีทางประวัติศาสตร์ ณ บนแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กลับคืนชีพมาอีกครั้ง สำหรับคนลพบุรี และคนต่างจังหวัด สนใจจะมานั่ง ฟังไทยซินโฟนีออร์เคสตร้า บทเพลงอันทรงคุณค่า ประวัติศาสตร์ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

นายภูธร ภูมะธน เปิดเผยเพิ่มเติมอีกว่า ขอเชิญชวน มานั่งฟังไทยซินโฟนีออร์เคสตร้า วงใหญ่ จะบรรเลง ณ บ้านวิชาเยนทร์ ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี เปิดการแสดงการบรรเลงเพลงไทยสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กว่า 300 ปี บันทึกโดยชาวฝรั่งเศส เชิญชวนประชาชนที่สน ทางคนลพบุรี ละคนต่างจังหวัด สนใจชมการแสดงบรรเลงเพลงไทยฯ ณ บ้านวิชาเยนทร์ ตั้งแต่เวลา 08.30 น ถึง เวลา 10 .00 น ในวันที่ 5 กันยายน 2562 ภายในงานจะได้พบ ศิลปินสีน้ำเงิน ที่่วาดภาพบ้านราชฑูตฯที่มีทรงคุณค่าประวัติศาสตร์ หาดูได้ยากในยุคปัจจุบัน ใครไม่จุใจ ไปฟัง ที่ หอประชุมอาคารรัตนเทพสตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรีลพบุรี บรรเลงโดย วงไทยซินโฟนีออร์เคสตร้า จะเปิดการแสดงบรรเลงให้ประชาชน.ชาวลพบุรีและคนต่างจังหวัด ตั้งแต่เวลา 11.00 น ถึง 12.00 น

‘ขอเชิญชวนทุกท่านมาร่วมฟังชมการแสดงบรรเลงเพลง สมัยในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในวันเวลาอีกแจ้งไปข้างต้น นายภูธร ภูมะธน นักวิชาการโบราณคดี กล่าวทิ้งท้ายนานที่สุด และ ความคืบหน้าจะรายงานให้ทราบภายหลัง ‘

ใจรัก วงศ์ใหญ่ M.TODAY ลพบุรี