ด่วน! ราชกิจจาฯ ประกาศ “โควิด-19” เป็นโรคติดต่อร้ายแรง หลัง WTO แจ้งเตือนภัยทั่วโลก

182

ราชกิจจาฯประกาศ ‘โควิด-19’ เป็น โรคอันตราย หลัง WHO ยกระดับการเตือนภัย เพื่อกระตุ้นรัฐบาลทั่วโลก เตรียมความพร้อมรับมือ วิกฤตอันตราย จากเชื้อมฤตยูโคโรนา สายพันธ์ใหม่

วันที่ 29 ก.พ.63 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563 โดยที่เป็นการสมควรให้มีการประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 เพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่ออันตราย

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 6(1) แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยคำแนะนำของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563”

ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

โดยก่อนหน้านี้ นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า หลังจากประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 เป็นโรคติดต่ออันตราย ลำดับที่ 14 ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) โรคติดต่อ พ.ศ.2558 มีผลบังคับใช้ สถานพยาบาล เจ้าบ้าน เจ้าของสถานที่ที่พบผู้ป่วยหรือรู้ว่ามีผู้ป่วยต้องแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใน 3 ชั่วโมง

ด้าน องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ยกระดับการเตือนภัยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ โควิด-19 เป็นความเสี่ยงในระดับ ‘สูงมาก’ ทั่วโลก โดย นพ.ไมเคิล เทดรอส แอดนาฮอม เกเบรเยซุส ผอ.องค์การอนามัยโลก กล่าวว่า “ไวรัสนี้สามารถถูกจำกัดได้ ถ้าเราพบวิธีการที่ถูกต้อง” พร้อมระบุว่า นักวิจัยกำลังศึกษาและพัฒนาวัคซีนสำหรับป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์อยู่ประมาณ 20 กว่าชนิด และคาดว่าจะสามารถรู้ผลการทดสอบได้ภายในอีกไม่กี่สัปดาห์นี้

นพ.ไมเคิล ไรอัน ประธานโครงการฉุกเฉินด้านสาธารณสุข WHO  กล่าวถึง เหตุผลประกอบการตัดสินใจยกระดับเตือนภัยเชื้อไวรัสเป็นขั้นสูงสุด ว่าเพื่อกระตุ้นให้รัฐบาลทั่วโลกเตรียมความพร้อมรับมือเชื้อโรคดังกล่าว เนื่องจากสาธารณะสุขส่วนใหญ่ยังไม่มีความพร้อม เป็นหน้าที่ของรัฐบาลในการปกป้องชีวิตของพลเมืองให้รอดพ้นจากวิกฤติด้านสาธารณสุขครั้งนี้