ดัชนีความเครียดคนไทยยังสูง 67% เบื่อ-ไร้ความสุข สาเหตุใหญ่จากเรื่องเรียน ปัญหาเศรษฐกิจ

1029

 

เอยูโพล (AU Poll) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ ดัชนีความเครียดของคนไทย

สถาบันวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอยูโพล) เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่องดัชนีความเครียดของคนไทยกรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและหัวเมืองใหญ่ จำนวนทั้งสิ้น2,022ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1-31มกราคม 2560 ที่ผ่านมา พบว่า

ตัวอย่างเกินครึ่งหรือร้อยละ 57.26 เป็นหญิง และร้อยละ 42.74 เป็นชาย เมื่อจำแนกออกเป็น เจเนอเรชั่น พบว่า ร้อยละ 7.74 เป็นเจเนอเรชั่น Z (ตัวอย่างที่มีอายุ 15-18 ปี) ร้อยละ 12.70 เป็นเจเนอเรชั่น M (ตัวอย่างที่มีอายุ 19-24 ปี) ร้อยละ 24.96 เป็นเจเนอเรชั่น Y (ตัวอย่างที่มีอายุ 25-36 ปี) ร้อยละ 29.44 เป็นเจเนอเรชั่น X (ตัวอย่างที่มีอายุ 36-50 ปี) และร้อยละ 25.16 เป็นเจเนอเรชั่น B (ตัวอย่างที่มีอายุ 51-69 ปี) ด้านสถานภาพสมรส พบว่า ตัวอย่างครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 50.03สมรสแล้ว ร้อยละ 40.97 เป็นโสด และร้อยละ 9.00เป็นหม้าย/หย่า/แยกกันอยู่ ส่วนการศึกษาที่สำเร็จมาชั้นสูงสุด พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 60.18 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 34.18 ระดับปริญญาตรี และร้อยละ 5.64 ระดับสูงกว่าปริญญาตรี ส่วนรายได้ส่วนตัวเฉลี่ยต่อเดือน พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 26.45 มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท ร้อยละ 40.27 มีรายได้ 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 15.67 มีรายได้ 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 5.69 มีรายได้ 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 5.29 มีรายได้ 40,001-50,000 บาท และร้อยละ 3.19 มีรายได้สูงกว่า 50,000 บาท สำหรับอาชีพ พบว่า ร้อยละ 16.78 อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 15.00 เป็นนักเรียนนักศึกษาร้อยละ 13.85 อาชีพค้าขาย ร้อยละ 13.46 อาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 9.83 อาชีพรับราชการร้อยละ 8.39 อาชีพธุรกิจส่วนตัวร้อยละ 6.85 เป็นพ่อบ้านแม่บ้าน ร้อยละ 5.81 อาชีพพนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 4.22 อาชีพเกษตรกรรม และร้อยละ 5.80 ประกอบอาชีพอื่นๆ เช่น เกษียณอายุ ว่างงาน พนักงานมหาวิทยาลัย เป็นต้น

ผลสำรวจในเดือนมกราคมที่ผ่านมาพบว่า ประชาชนจำนวนไม่น้อยที่รู้สึกเบื่อหน่าย (ร้อยละ 67.30) ไม่มีความสุขเลย (ร้อยละ 54.02)รู้สึกหมดกำลังใจ (ร้อยละ 47.86) และไม่อยากพบปะผู้คน (ร้อยละ 36.69) เป็นครั้งคราวถึงบ่อยๆ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจในครั้งที่ผ่านมา (ตุลาคม 2559) พบว่า ประชาชนมีความรู้สึกเหล่านี้ลดน้อยลง และในภาพรวมพบว่า ประชาชนมีความเครียดน้อยมีคะแนนความเครียดเฉลี่ยเท่ากับ2.18คะแนนจากคะแนนเต็ม 5 คะแนนซึ่งลดลงเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับการสำรวจครั้งที่ผ่านมาในเดือนตุลาคม 2559 ที่มีคะแนนความเครียดเฉลี่ยเท่ากับ 2.20 คะแนนโดยเรื่องที่ทำให้เกิดความเครียดมากที่สุด คือ เรื่องการเรียน (คะแนนความเครียดเฉลี่ยเท่ากับ 2.88 คะแนน) โดยเฉพาะปัจจัยเกี่ยวกับผลการเรียน การศึกษาต่อ และอาชีพในอนาคต/อนาคตในการทำงาน เป็นต้น รองลงมา คือ เรื่องเศรษฐกิจ/การเงิน(คะแนนความเครียดเฉลี่ยเท่ากับ 2.85) โดยเฉพาะปัจจัยที่เกี่ยวกับปัญหาหนี้สิน/รายรับไม่พอกับรายจ่าย ราคาสินค้าแพง และสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน เป็นต้น อีกด้านหนึ่งที่ประชาชนมีความเครียดสูง คือ เรื่องการงาน(คะแนนความเครียดเฉลี่ยเท่ากับ 2.84) โดยเฉพาะปัจจัยเกี่ยวกับสวัสดิการ/ค่าตอบแทนปริมาณงานที่ทำ/หน้าที่ความรับผิดชอบ และความมั่นคงในงานที่ทำ เป็นต้น

และผลสำรวจยังพบว่า ประชาชนในต่างจังหวัดมีความเครียด (คะแนนความเครียดเฉลี่ยเท่ากับ 2.21 คะแนน) สูงกว่าประชาชนในกรุงเทพมหานคร(คะแนนความเครียดเฉลี่ยเท่ากับ 2.15 คะแนน) โดยประชาชนในกรุงเทพมหานครมีความเครียดในเรื่องต่างๆ คือ มีความเครียดในเรื่องการงานมากที่สุด รองลงมา คือ เรื่องเศรษฐกิจ/การเงิน และเรื่องการเรียนตามลำดับ ส่วนประชาชนในต่างจังหวัดมีความเครียดในเรื่องต่างๆ คือ มีความเครียดในเรื่องการเรียนมากที่สุด รองลงมา คือ เรื่องเศรษฐกิจ/การเงิน และเรื่องสิ่งแวดล้อมตามลำดับ ซึ่งผลการสำรวจที่ได้ในครั้งนี้ ไม่แตกต่างจากผลการสำรวจในครั้งที่แล้ว (ตุลาคม 2559) ที่ประชาชนในต่างจังหวัดมีความเครียดสูงกว่าประชาชนในกรุงเทพมหานคร

นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบความเครียดแต่ละเรื่องในกลุ่มประชาชนแต่ละวัย (Generation) พบว่า ประชาชนในกลุ่ม Gen Y (อายุ 25-35 ปี) มีความเครียดมากที่สุด รองลงมา คือ Gen M (อายุ 19-24 ปี) (คะแนนความเครียดเฉลี่ยเท่ากับ 2.34 และ 2.23 คะแนนตามลำดับ) ส่วนกลุ่มที่มีความเครียดน้อยที่สุด คือ ประชาชนในกลุ่ม Gen Z(อายุ 15-18 ปี) (คะแนนความเครียดเฉลี่ยเท่ากับ 1.96 คะแนน) และเมื่อพิจารณารายละเอียดความเครียดในแต่ละเรื่องของกลุ่มประชาชนแต่ละวัย พบว่า

  • GenZ (อายุ 15-18 ปี)มีความเครียดในเรื่องการเรียนมากที่สุด รองลงมาเครียดเรื่องความรักและเครียดเรื่องครอบครัวตามลำดับ(คะแนนความเครียดเฉลี่ยเท่ากับ 2.99, 47 และ 2.46 คะแนนตามลำดับ)
  • GenM (อายุ 19-24 ปี) มีความเครียดในเรื่องเรียนมากที่สุดรองลงมาเครียดเรื่องการงาน และเครียดเรื่องเศรษฐกิจ/การเงินตามลำดับ (คะแนนความเครียดเฉลี่ยเท่ากับ 3.15, 2.96 และ 2.80 คะแนนตามลำดับ)
  • GenY (อายุ 25-35 ปี)มีความเครียดในเรื่องเศรษฐกิจ/การเงินมากที่สุดรองลงมาเครียดเรื่องการงาน และเรื่องสิ่งแวดล้อม ตามลำดับ(คะแนนความเครียดเฉลี่ยเท่ากับ 2.98,2.97และ 2.63 คะแนนตามลำดับ)
  • GenX (อายุ 36-50 ปี)มีความเครียดในเรื่องเศรษฐกิจ/การเงินมากที่สุดรองลงมาเครียดเรื่องการงาน และเรื่องสิ่งแวดล้อม ตามลำดับ(คะแนนความเครียดเฉลี่ยเท่ากับ 2.88, 2.86และ 2.67คะแนนตามลำดับ)
  • Gen B (อายุ 51-69 ปี)มีความเครียดในเรื่องเศรษฐกิจ/การเงินและเรื่องสิ่งแวดล้อมมากที่สุดรองลงมาเครียดเรื่องสุขภาพ และเครียดเรื่องครอบครัวตามลำดับ(คะแนนความเครียดเฉลี่ยเท่ากับ 2.80, 2.72, และ 2.56คะแนนตามลำดับ)

ส่วนวิธีปฏิบัติตนเพื่อแก้ปัญหาเมื่อตนเองรู้สึกเครียดในเรื่องต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องการเรียน เรื่องเศรษฐกิจ/การเงิน และเรื่องการงาน ซึ่งเป็นเรื่องที่ประชาชนส่วนใหญ่มีความเครียด ในภาพรวมพบว่า เมื่อประชาชนรู้สึกเครียดในเรื่องการเรียนจะแก้ปัญหาโดยการขยันและตั้งใจเรียนมากขึ้น การทำกิจกรรมหรืองานอดิเรกเพื่อคลายเครียด และศึกษาข้อมูลและวางแผนการศึกษาหรือทำงานในอนาคต เป็นต้น ส่วนในเรื่องเศรษฐกิจ/การเงินจะแก้ปัญหาความเครียดโดยการใช้จ่ายอย่างประหยัด ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงวางแผนการใช้เงิน ใช้จ่ายอย่างมีวินัย และหากิจกรรมที่ทำแล้วมีความสุข หางานอดิเรกทำ เป็นต้น สำหรับในเรื่องการงานจะแก้ปัญหาความเครียดโดยการตั้งใจและรับผิดชอบงานในหน้าที่ให้ดีที่สุด การยอมรับความเป็นจริงและรู้จักปล่อยวาง และการหากิจกรรมที่ทำแล้วมีความสุขหางานอดิเรก เป็นต้น

 

โปรดพิจารณารายละเอียดดังต่อไปนี้

ตารางที่ 1 ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความรู้สึกต่างๆ ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา

ลำดับที่ ความรู้สึก ระดับความรู้สึก รวมทั้งสิ้น
บ่อยๆ เป็นครั้งคราว ไม่รู้สึกเลย
1 ไม่มีความสุขเลย 8.84 45.18 45.98 100.00
2 รู้สึกเบื่อหน่าย 14.89 52.41 32.70 100.00
3 ไม่อยากพบปะผู้คน 5.61 31.08 63.31 100.00
4 รู้สึกหมดกำลังใจ 7.16 40.70 52.14 100.00
5 รู้สึกตนเองไม่มีคุณค่า 3.58 25.30 71.12 100.00

ตารางที่ 2 ค่าเฉลี่ยของตัวอย่างที่ระบุระดับความเครียดในแต่ละด้าน จำแนกตาม Generation

ลำดับที่ ความเครียด Generation ภาพรวม
Gen Z Gen M Gen Y Gen X Gen B
1 เศรษฐกิจ/การเงิน 2.32 2.80 2.98 2.88 2.80 2.85
2 ครอบครัว 2.46 2.38 2.57 2.61 2.56 2.54
3 เพื่อน 2.30 2.34 2.22 2.07 2.03 2.19
4 ความรัก (แฟน/คนรัก) 2.47 2.64 2.60 2.52 2.52 2.56
5 การงาน 2.96 2.97 2.86 2.54 2.84
6 สุขภาพ 1.98 2.41 2.32 2.48 2.72 2.47
7 การเรียน 2.99 3.15 2.62 2.88
8 การเมือง 2.03 2.19 2.33 2.20 2.34 2.25
9 สิ่งแวดล้อม 2.04 2.61 2.63 2.67 2.80 2.63
10 ตัวเอง 2.37 2.51 2.48 2.27 2.22 2.38
โดยภาพรวม 1.96 2.23 2.34 2.21 2.01 2.18

ตารางที่ 3 ค่าเฉลี่ยของตัวอย่างที่ระบุระดับความเครียดในแต่ละด้าน จำแนกตามพื้นที่

ลำดับที่ ความเครียด พื้นที่ ภาพรวม
กทม. ต่างจังหวัด  
1 เศรษฐกิจ/การเงิน 2.82 2.87 2.85  
2 ครอบครัว 2.63 2.45 2.54  
3 เพื่อน 2.42 1.99 2.19  
4 ความรัก (แฟน/คนรัก) 2.69 2.45 2.56  
5 การงาน 2.91 2.77 2.84  
6 สุขภาพ 2.56 2.39 2.47  
7 การเรียน 2.77 3.04 2.88  
8 การเมือง 2.38 2.16 2.25  
9 สิ่งแวดล้อม 2.49 2.78 2.63  
10 ตัวเอง 2.31 2.43 2.38  
โดยภาพรวม 2.15 2.21 2.18  

เอยูโพล มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ