นาซ่า แถลงข่าวการค้นพบ “TRAPPIST-1” ระบบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ

435

เมื่อคืน ประมาณ ตี 1 วันที่ 23 ก.พ. 2560 ตามเวลาประเทศไทย
NASA ได้แถลงข่าวการค้นพบครั้งสำคัญของโลก คือได้ค้นพบระบบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่อาจมีสิ่งมีชัวิตสามารถอาศัยอยู่ได้มากที่สุดเท่าที่เราเคยสำรวจและค้นพบมา

โดย NASA ได้เรียกระบบนี้ว่า TRAPPIST-1
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าเราค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะเป็นประจำจนไม่ค่อยน่าตื้นเต้นเท่าไหร่แล้ว แต่การค้นพบครั้งนี้แตกต่างจากที่เคยค้นพบมา
โดยมีความสำคัญดังนี้

1. ระบบดาวเคราะห์นี้เรียกว่า “TRAPPIST-1” เป็นระบบที่มีดาวฤกษ์เพียงดวงเดียว(คล้ายระบบสุริยะที่มีดวงอาทิตย์เพียงดวงเดียว) ซึ่งทำให้ระบบไม่ซับซ้อนจึงเอื้อต่อการเกิดสิ่งมีชีวิตมากกว่าระบบที่มีดาวฤกษ์หลายดวง

2. ดาวฤกษ์หลักของระบบ TRAPPIST-1 เป็นดาวแคระห์แดง คือมีมวลและขนาดเล็กกว่าดวงอาทิตย์มาก และปล่อยแสงในย่านแสงสีแดง จึงเรียกดาวแคระแดง
ภาพเปรียบเทียบขนาดดาว TRAPPIST-1 และดวงอาทิตย์ จะเห็นว่ามีขนาดใหญ่กว่าดาวพฤหัสบดีไม่มากนัก

ภาพมุมมองจากนอกระบบ TRAPPIST-1 จะเห็นว่าดาวฤกษ์มีแสงออกไปทางแดงมากกว่าดวงอาทิตย์มาก

3. ระบบ TRAPPIST-1 นี้อยู่ห่างจากโลกประมาณ 40 ปีแสง ซึ่งถือว่าอยู่ไม่ไกลมากจนเกินไปนัก ทำให้สามารถสำรวจจากกล้องโทรทัศน์บนโลกได้ง่าย
และในอนาคตอันไกลโพ้นหากเทคโนโลยีพร้อมเราอาจสามารถเดินทางไปถึงได้

4. ระบบนี้ประกอบด้วยดาวเคราะห์ 7 ดวง และทั้ง 7 ดวงเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใกล้เคียงกับโลก ถือเป็นครั้งแรกที่ค้นพบระบบดาวเคราะนอกระบบสุริยะที่เป็นดาวเคราะห์ขนาดใกล้เคียงกับดาวโลกทั้งหมด

ภาพดาวเคราะห์ทั้ง 7 ดวงในระบบ TRAPPIST-1

ภาพดาวเคราะห์ทั้ง 7 เมื่อเทียบกับดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ

5. ในบรรดาดาวเคราะห์ทั้ง 7 ดวงนี้ พบว่ามีจำนวนถึง 3 ดวงที่อยู่ในระยะที่เอื้อต่อกากำเนิดสิ่งมีชีวิต
คือ อยู่ในระยะที่ น้ำสามารถอยู่ในสถานะของเหลวได้ เช่นไม่ใกล้ดาวแม่มากจนน้ำถูกความร้อนเผาจนกลายเป็นไอไปซะหมด เช่นดาวพุธ
หรืออยู่ไกลจนความร้อนจากดาวแม่ แผ่ไปไม่ถึงจนกลายเป็นน้ำแข็งไปเสียทั้งหมด เช่นพลูโต

ภาพแสดงขอบเขตที่เหมาะแก่การให้กำเนิดสิ่งมีชีวิตเมื่อเทียบกับระบบสุริยะ

ภาพจำลองขอบเขตที่น้ำจะสามารถอยู่ในสถานะของเหลวได้ของระบบ TRAPPIST-1

6. จากที่บอกไปในข้อ 2 เนื่องจากดาวฤกษ์หลักเป็นดาวแคระแดง ซึ่งมีมวลและขนาดเล็กกว่าดวงอาทิตย์มาก จึงทำให้วงโคจรของดาวเคราะห์ทั้ง 7 ขยับเข้ามาใกล้กว่าระบบสุริยะของเรา โดยดาวเคราะห์ TRAPPIST-1h ซึ่งอยู่ไกลที่สุด จะมีวงโคจรใกล้ดาวฤกษ์มากกว่าวงโคจรของพุธเสียอีก

ภาพเปรียบเทียบขนาดของวงโคจรเมื่อเทียบกับระบบสุริยะ จะเห็นว่าวงโคจรใหญ่กว่าวงโคจรของดวงจันทร์ของดาวพฤหัสไม่มากนัก
และเล็กกว่าวงโคจรของดาวพุธเป็นอย่างมาก

7. ภาพจำลองหากมองดาวฤกษ์แม่จากดาวเคราะห์ในระบบ TRAPPIST-1e

ภาพจำลองบนดาวเคราะห์ TRAPPIST-1d แบบ VR 360 องศา สามารถลากเมาส์เพื่อหมุนภาพเพื่อดูในมุมมองอื่น ๆ ได้
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

8. เนื่องจากดาวเคราะห์ทุกดวงโคจรใกล้ดาวแม่มากจึงทำให้เกิดปรากฏการณ์ ไทดัลล็อค (Tidal lock)
คือการที่ดาวบริวารจะถูกแรงโน้มถ่วงของดาวหลักตรึงให้หันด้านเดียวเข้าหาดาวหลักตลอดเวลา เช่นเดียวกับดวงจันทร์ต่าง ๆ ในระบบสุริยะ
ในระบบนี้ก็คือจะมีด้านกลางวันและกลางคืนด้านเดียวเสมอ
แต่เนื่องจากดาวฤกษ์หลักเป็นดาวแคระแดงขนาดเล็ก มันจึงปล่อยพลังงานน้อยกว่าดวงอาทิตย์ของเรามาก ๆ
ดังนั้นทาง NASA จึงสันนิษฐานว่าอุณหภูมิในด้านกลางวันไม่น่าจะสูงมากนัก และอุณหภูมิเฉลี่ยของดาวในเขตอยู่อาศัยได้ น่าจะพอ ๆ หรือเย็นกว่าโลกซะอีก
***ข้อมูลเรื่องอุณหภูมิของดาวเคราะห์ตรงนี้ยังไม่ยืนยันเพราะเราเพิ่งค้นพบได้ไม่ถึงปี ยังจำเป็นต้องศึกษาอีกมาก***

9. รวมลิงค์ที่น่าสนใจ
9.1. ภาพจำลองแบบเคลื่อนไหวของระบบ TRAPPIST-1 แบบ 3 มิติ
สามารถเลือกชมดาวเคราะห์แต่ละดวงได้ (จับหมุนพลิกไปมาได้) หรือเลือกดูรูปแบบการโคจรของทั้งระบบก็ได้
https://exoplanets.nasa.gov/newworldsatlas/1969/
9.2 หากต้องการเก็บบรรยากาศการจำลองตามข้อ 8.1 ไว้ดูศึกษาในภายหลังแบบไม่ต้องต่อเน็ต สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่
http://eyes.nasa.gov/eyes-on-exoplanets.html
หมายเหตุ เป็นไฟล์ .exe ติดตั้งบนระบบปฏิบัติการ Windows

อ้างอิง
https://www.nasa.gov/press-release/nasa-telescope-reveals-largest-batch-of-earth-size-habitable-zone-planets-around
https://exoplanets.nasa.gov/trappist1/

Cr:https://pantip.com/topic/36141764