ศบค.แจงไทยพบโควิดรายใหม่2,473 เจ็บหนัก1,150 หายป่วย2,173 เสียชีวิต35

38

ศบค. เผยไทยติดเชื้อโควิด-19 เพิ่ม 2,473 ราย หายป่วย 2,718 ราย อาการหนัก 1,150 ราย ใส่เครื่องช่วยหายใจ 384 ราย เสียชีวิต 35 ราย ใน กทม.มากสุด 16 ราย โรคประจำตัวยังเป็นปัจจัยเสี่ยง กทม. และปริมณฑล การระบาดของโรคยังไม่ลดลง

วันที่ 18 พ.ค.2564 เวลา 12.32 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศวันนี้ ว่า พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 2,473 ราย โดยแบ่งเป็นติดเชื้อใหม่ 1,793 ราย จากเรือนจำ/ที่ต้องขัง 680 ราย พบผู้ป่วยยืนยันสะสม 113,555 ราย รักษาหายป่วยเพิ่ม 2,718 ราย สะสม 69,918 ราย กำลังรักษาอยู่ 42,988 ราย แบ่งเป็นรักษาในโรงพยาบาล 21,199 ราย และโรงพยาบาลสนาม 21,789 ราย เป็นผู้ป่วยอาการหนัก 1,150 ราย ใส่เครื่องช่วยหายใจ 384 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 35 ราย รวมเสียชีวิต 649 คนผู้ติดเชื้อรายใหม่แบ่งเป็นผู้ติดเชื้อในประเทศ 2,473 ราย เป็นผู้ติดเชื้อจากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 1,423 ราย จากการค้นหาเชิงรุกในชุมชน 347 ราย จากเรือนจำ/ที่ต้องขัง 680 ราย และผู้เดินทางมาจากต่างประเทศเข้า State Quarantine 23 ราย

สำหรับผู้เสียชีวิตทั้ง 35 ราย เป็นชาย 17 ราย หญิง 18 ราย อายุน้อยสุด 2 เดือน อายุมากสุด 93 ปี อยู่ใน กทม. 16 ราย เชียงราย สงขลา สมุทรปราการ จังหวัดละ 2 ราย อุบลราชธานี สระแก้ว ศรีสะเกษ ระยอง ชลุบรี ปทุมธานี ชัยภูมิ ลพบุรี นครปฐม สมุทรสาคร ชุมพร สระบุรี สุราษฎร์ธานี จังหวัดละ 1 ราย ส่วนมากมีโรคประจำตัว ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 คือ จากการสัมผัสผู้ติดเชื้อที่เป็นคนในครอบครัว ระยะครองเตียงบางรายนานที่สุด 38 วัน ค่ากลางอยู่ที่ 68 ปี ระยะครองเตียงจึงมากขึ้น

สำหรับผู้ที่ติดเชื้อเดินทางมาจากต่างประเทศวันนี้ มาจากอินเดีย 13 ราย เป็นคนไทย 12 ราย, สัญชาติโปแลนด์ 1 ราย เป็นวิศวกร ทำงานแท่นขุดเจาะน้ำมัน จากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 1 ราย มาเลเซีย 4 ราย และจากกัมพูชา 5 ราย ยังคงมีการลักลอบเข้ามาทางช่องทางธรรมชาติ 2 ราย10 อันดับ ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศ วันที่ 18 พ.ค. 2564 คือ 1. กรุงเทพมหานคร 873 ราย 2. นนทบุรี 155 ราย 3. สมุทรปราการ 121 ราย 4. ปทุมธานี 117 ราย 5. สมุทรสาคร 63 ราย 6. เพชรบุรี 43 ราย 7. ชลบุรี 33 ราย 8. นครศรีธรรมราช 30 ราย 9. สงขลา 29 ราย 10. พระนครศรีอยุธยา 28 ราย

แนวโน้มกรุงเทพมหานครอัตราการป่วยมากกว่าอัตราการหาย ใน 71 จังหวัด อัตรการหายป่วยมากกว่า ภาพรวมทั้งประเทศวันนี้พบพื้นที่สีขาว 23 จังหวัด ตัวเลขเป็น 0 ไม่พบผู้ติดเชื้อ ได้แก่ ขอนแก่น, อุบลราชธานี, พิษณุโลก, ลำพูน, ลำปาง, อ่างทอง, นครพนม, เพชรบูรณ์, ตราด, น่าน, กาฬสินธุ์, พะเยา, เลย, แพร่, อุตรดิตถ์, หนองคาย, ชัยนาท, อำนาจเจริญ, หนองบัวลำภู, บึงกาฬ, ชุมพร, สตูล

กทม. และปริมณฑล การระบาดของโรคยังไม่ลดลง (ร้อยละ 76 ของผู้ติดเชื้อ) ต่างจังหวัดลดลงอย่างต่อเนื่อง มีบางจังหวัดมีกลุ่มก้อนในโรงงาน เช่น จ.สงขลา จ.เพชรบุรี พบผู้ติดเชื้อผ่านชายแดนของประเทศอย่างต่อเนื่อง สถานที่เสี่ยง ได้แก่ แคมป์ก่อสร้าง ชุมชนแออัด ตลาด โรงงาน และภายในครอบครัว ปัจจัยเสี่ยงส่วนใหญ่มาจากการสัมผัสในครอบครัว ที่ทำงาน และทานข้าว/ใช้ของร่วมกัน ผู้ป่วยอาการหนักและผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ ใน กทม. และปริมณฑลเริ่มคงที่ ส่วนต่างจังหวัดลดลงอย่างต่อเนื่อง

การครองเตียงใน กทม. และปริมณฑล เพิ่มขึ้นจากการระบาดในเรือนจำ แคมป์ก่อสร้าง และตลาด การครองเตียงในต่างจังหวัดเพิ่มขึ้นที่ จ.เชียงใหม่ จากผู้ติดเชื้อในเรือนจำ

ขณะที่ยอดรวมผู้ติดเชื้อโควิด-19 ระลอกเดือนเมษายน เริ่มตั้งแต่ 1 เม.ย. 64 เป็นต้นมา พบผู้ติดเชื้อแล้ว 84,692 ราย เป็นผู้ติดเชื้อที่ตรวจพบในระบบเฝ้าระวังและบริการ 59,458 ราย ตรวจพบจากการค้นหาคัดกรองเชิงรุก 13,480 ราย เรือนจำ/ที่ต้องขัง 11,428 เดินทางมาจากต่างประเทศ 398 ราย เสียชีวิตสะสม 555 ราย

สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลก วันอังคารที่ 18 พฤษภาคม 2564 เวลา 10.00 น. ยอดผู้ติดเชื้อรวม 164,272,595 ราย อาการรุนแรง 101,708 ราย รักษาหายแล้ว 142,991,373 ราย เสียชีวิต 3,404,279 ราย

อันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด
1. สหรัฐอเมริกา จำนวน 33,747,439 ราย
2. อินเดีย จำนวน 25,227,970 ราย
3. บราซิล จำนวน 15,661,106 ราย
4. ฝรั่งเศส จำนวน 5,881,137 ราย
5. ตุรกี จำนวน 5,127,548 ราย

ประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 92 จำนวน 113,555 ราย