ยอดตายพุ่ง!! 24 ราย กทม.14 ศพ ติดเชื้อใหม่ 4,528 ราย อาการหนัก 1,209

37

ศบค.รายงาน พบผู้ติดเชื้อโควิดรายใหม่ 4,528 ราย จากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 1,397 ค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกในชุมชน 1,202 ทางมาจากต่างประเทศ 27 ราย รวมกับติดเชื้อจากเรือนจำ 1,902 ส่วนผู้เสียชีวิตรายใหม่ 24 ราย จากกรุงเทพมหานครมากสุด 14 ราย

วันที่ 30 พ.ค.2564 เวลา 12.30 น.ที่ทำเนียบรัฐบาล พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงสถานการณ์ประจำวัน พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 4,528 ราย โดยแบ่งเป็นผู้ป่วยจากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการฯ 1,397 ราย ค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกในชุมชน 1,202 ราย จากเรือนจำ/ที่ต้องขัง 1,902 ราย ผู้เดินทางจากต่างประเทศ เข้าสถานกักกันที่รัฐจัดให้ 27 ราย พบผู้ป่วยยืนยันสะสมระลอกเมษายน 125,444 ราย รวมผู้ป่วยยืนยันสะสมตั้งแต่ปี 2563 154,307 ราย

สำหรับผู้ป่วยรักษาหายวันนี้ 2,933 ราย หายป่วยตั้งแต่ 1 เมษายน – 30 พฤษภาคม 2564 77,818 ราย หายป่วยสะสมตั้งแต่ปี 2563 105,244 ราย กำลังรักษาอยู่ 48,051 ราย แบ่งเป็นรักษาในโรงพยาบาล 19,008 ราย และโรงพยาบาลสนาม 29,043 ราย เป็นผู้ป่วยอาการหนัก 1,209 ราย ใส่เครื่องช่วยหายใจ 289 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 24 ราย รวมเสียชีวิตสะสมตั้งแต่ปี 2563 1,012 คน

สำหรับผู้เสียชีวิตทั้ง 24 คน ชาย 11 คน หญิง 13 คน จากจังหวัด กรุงเทพมหานคร 14 คน จังหวัดนนทบุรี 3 คน จังหวัดชลบุรี 2 คน จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดละ 1 คน โรคประจำตัวยังเป็นปัจจัยหลักเสี่ยงต่อความรุนแรงของโรค มีความดันโลหิต เบาหวาน ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 จากการสัมผัสผู้ติดเชื้อที่เป็นคนในครอบครัว อายุค่ากลาง 71 ปี อายุน้อยสุด 38 ปี อายุมากสุด 86 ปี10 จังหวัด ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศ วันที่ 30 พ.ค. 2564 คือ 1. กรุงเทพมหานคร 754 ราย 2. เพชรบุรี 754 ราย ราย 3. สมุทรปราการ 264 ราย 4. นนทบุรี 139 ราย 5. ชลบุรี 90 ราย 6. ปทุมธานี 73 ราย 7. นราธิวาส 65 ราย 8. ฉะเชิงเทรา 62 ราย 9. สมุทรสาคร 58 ราย 10. ตรัง 44 ราย

พญ.อภิสมัย แถลงอีกว่า ทิศทางของจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล และต่างจังหวัดยังถือว่าสูงทั้งคู่ ต้องพยายามทำให้ต่ำลงมาให้ได้ เพราะสิ่งที่น่าเป็นห่วงคือศักยภาพของระบบสาธารณสุขที่มีการช่วยกันทำงานอย่างหนัก เพราะฉะนั้นต้องช่วยกันลดจำนวนผู้ติดเชื้อลงให้ได้

สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลก ยอดผู้ติดเชื้อรวม 170,626,190 ราย อาการรุนแรง 92,098 ราย รักษาหายแล้ว 152,592,456 ราย เสียชีวิต 3,548,593 ราย

อันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด 1. สหรัฐอเมริกา จำนวน 34,035,318 ราย 2. อินเดีย จำนวน 27,893,472 ราย 3. บราซิล จำนวน 16,471,600 ราย 4. ฝรั่งเศส จำนวน 5,657,572 ราย 5. ตุรกี จำนวน 5,235,978 ราย สำหรับประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 83 จำนวน 154,307 ราย