นายกฯ ถก!! ครม. จับตา ไฟเขียว ประกันสังคม จ่ายเงินเยียวยา ม. 33-39-40

100

จับตาวาระประชุม ครม. วันนี้ ถกมาตรการจ่ายเงินเยียวยาผู้ประกันตน มาตรา 33 ,39 และ ม.40 หลังประกาศขยายล็อกดาวน์เพิ่มเป็น 13 จังหวัด โดยจะใช้งบฯ 42,000 ล้านบาท

วันที่ 20 ก.ค.2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมคณะรัฐมนตรีที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เป็นประธาน ผ่านระบบ Video Conference จากบ้านพัก โดยนายกรัฐมนตรี จะเริ่ม work from Home เกือบ 100 %

สำหรับวาระการประชุมที่น่าสนใจ คือประเด็นจ่ายเงินในมาตรการเยียวยาผู้ประกันตน มาตรา 33 และ 39 ภายหลัง รัฐบาล โดย ศบค. ประกาศยกระดับล็อกดาวน์ขั้นสูงสุดในพื้นที่สีแดงเข้ม เพิ่มเป็น 13 จังหวัด จากประกาศเดิม 10 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร, นครปฐม, นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร, นราธิวาส, ปัตตานี, ยะลา, สงขลา เพิ่มอีก 3 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี และพระนครศรีอยุธยา นำเสนอโดยสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน และสภาพัฒน์ทั้งนี้ ภายหลังคณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 ในพื้นที่ควบคุม 10 จังหวัด ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา สำนักงานประกันสังคมได้รับการจัดสรรงบประมาณ ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้วยงบประมาณ 42,000 ล้านบาท (แบ่งเป็นจ่ายเงินเยียวยา 30,000 ล้าน และอุดหนุนค่าน้ำ-ค่าไฟ 1,200 ล้านบาท )

มติ ครม. ดังกล่าว คือ ผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่มีสัญชาติไทย จะได้รับการเยียวยา เป็นเงิน 2,500 บาท โอนผ่านบัญชีพร้อมเพย์เลขประจำตัวประชาชนเท่านั้น ส่วนนายจ้างจะได้รับการเยียวยา ตามจำนวนลูกจ้าง หัวละ 3,000 บาท สูงสุดลูกจ้างไม่เกิน 200 คน โดยนายจ้างบุคคลธรรมดา จะได้รับเงินโอนผ่านบัญชีพร้อมเพย์เลขประจำตัวประชาชนเช่นกัน นายจ้างสถานะนิติบุคคล จะโอนเข้าบัญชีธนาคารตามชื่อนิติบุคคล

กรณีบริษัทที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งรัฐบาล นายจ้างต้องขึ้นทะเบียน e-service เพื่อแจ้งว่าไม่สามารถจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างตามมาตรา 33 โดยระบุให้ชัดเจนว่าลูกจ้างมีกี่คน และหยุดงานตั้งแต่วันที่อะไรถึงวันที่อะไร ส่วนลูกจ้างมีหน้าที่กรอกแบบ สปส.2-01/7 และแนบสมุดปัญชีออมทรัพย์ ส่งให้นายจ้างรวบรวมเพื่อนำส่ง สำนักงานประกันสังคม ภายใน 3 วันหลังจากที่ยายจ้างลงทะเบียน e-service แล้ว เพื่อจะได้รับเงินโดยเร็วซึ่งเงินกองทุนประกันสังคมจะจ่าย 50% (สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท) กรณีว่างงานสูงสุด 90 วัน ทั้งคนไทยและต่างชาติที่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33ส่วนวงเงินเยียวยาเพิ่มเติม ตามมติ ครม. มาจากเงินกู้วงเงิน 30,000 ล้านบาท โดยใช้ฐานข้อมูลของประกันสังคม ในส่วนนี้ เจาะจงจ่ายช่วยเหลือเร่งด่วนแก่กลุ่มแรงงานไทยและผู้ประกอบการที่อยู่ในพื้นที่สถานการณ์ควบคุมสูงสุด 10 จังหวัด กรณีได้รับผลกระทบจากคำสั่งรัฐบาลใน 9 กิจการ โดยลูกจ้างมาตรา 33 ที่ได้รับเงินจากประกันสังคมเยียวยาเดิมได้รับ 50% ของรายได้ (สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท) รัฐบาลจะเพิ่ม่ให้สบทบลูกจ้างสัญชาติไทยอีก 2,500 บาทต่อคน (รวมแล้วได้สูงสุด 10,000 บาท)

สำหรับประเภทกิจการที่ได้รับการเยียวยา ประกอบด้วย 1. ก่อสร้าง 2. ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร 3. ศิลปะ บันเทิงและนันทนาการ 4. กิจกรรมการบริการด้านอื่น ๆ 5. การขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ 6. การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า 7. ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร 8. กิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ 9. กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน โดยแรงงานสามารถเข้าตรวจสอบสิทธิได้ที่หน้าเว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th ผู้ประกันตนมาตรา 33 เพียงกรอกเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ก็สามารถตรวจสอบได้ ส่วนนายจ้างสถานประกอบการให้กรอกเลขบัญชีนายจ้าง 10 หลัก และเลขลำดับที่สาขา 6 หลัก

สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และ 40 ซึ่งเป็นกลุ่มฟรีแลนซ์และอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจากการล็อคดาวน์ครั้งล่าสุดนี้ รัฐบาลจะเยียวยา 5,000 บาท โดยผู้ที่ไม่ได้เป็นผู้ประกันตนในมาตรา 39 และ 40 ก่อนวันที่ 28 มิ.ย. 2564 ให้รีบสมัครภายในวันที่ 30 ก.ค. 2564 เพื่อสำนักงานประกันสังคม จะได้ส่งข้อมูลนำเข้า ครม. พิจารณาเห็นชอบต่อไป