‘เมาลิดกลาง’ คุณูปการของสถาบันพระมหากษัตริย์ต่อมุสลิมไทย

69
หลังสิ้นสุดตำแหน่งจุฬาราชมนตรีในสายท่านเฉกอะหมัดใน ปี พ.ศ. ๒๔๗๙ ก็ไม่มีการแต่งตั้งตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ส่งผลให้สายใยแห่งความสัมพันธ์ระหว่างมุสลิมกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และอำนาจรัฐถูกตัดขาดลง การจัดงานเมาลิดกลางช่วยเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับสังคมมุสลิมไทย

การจัดงานเมาลิดในระดับชาติ เริ่มหลังกรเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยหลังสิ้นสุดตำแหน่งจุฬาราชมนตรีในสายท่านเฉกอะหมัดใน ปี พ.ศ. ๒๔๗๙ ก็ไม่มีการแต่งตั้งตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ส่งผลให้สายใยแห่งความสัมพันธ์ระหว่างมุสลิมกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และอำนาจรัฐถูกตัดขาดลง ประกอบกับในยุคจอมพลป. พิบูลสงคราม เป็นยุคแห่งชาตินิยม มีปัญหาหลายอย่างเกิดขึ้นในสังคมมุสลิม อาทิ การก่อตัวของปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

อย่างไรก็ตาม ในยุคนั้น มีมุสลิมบางกลุ่มที่มีบทบาทเคยร่วมกับคณะราษฎรทำการเปลี่ยนการปกครองปี 2475 มองเห็นวิกฤตการณ์ที่จะเกิดขึ้นกับสังคม จึงนำแนวคิดทางศาสนาเข้ามาเพื่อหวังเชื่อมโยงสังคมมุสลิมกับอำนาจรัฐในระดับสูง จึงมีการจัดงานเมาลิดกลางขึ้นครั้งแรก ในปี 2480  ที่หอประชุมกรมศิลปากร ครั้งที่ 2 และ 3 จัดขึ้นที่บ้านนายเล็ก นานา ซึ่งในการจัดงานได้เชิญบุคคลระดับสูงในรัฐบาลเข้าร่วมงานด้วย
หลังจากนั้น การจัดงานเมาลิด ได้ยุติลงชั่วคราวจากกรณีการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ริเริ่มจัดขึ้นใหม่อีกครั้งในปี 2486 โดยนายแช่ม พรหมยงค์ คนสนิทของดร.ปรีดา พนมยงค์ ได้เชิญหลวงวิจิตรวาทะการ มาเป็นประธานในพิธีเปิด
ก่อนการเปิดงานมีการกล่าวอารัมภบทถึงความอยุติธรรมที่พี่น้องมุสลิมใน ๔ จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับและมีการเรียกร้องให้แก้ปัญหาใก้กับพี่น้องมุสลิม ปัญหาได้รับการแก้ไขในระดับหนึ่ง จนต่อมานายแช่ม พรหมยงค์ ได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๘ ให้เป็นจุฬาราชมนตรีใน ปี พ.ศ. ๒๔๘๘ การจัดงานเมาลิดกลาง จึงดำเนินเรื่อยมา ได้ย้ายสถานที่ไปหลายแห่ง จากสำนักงานมุสลิมสภา ถนนราชดำเนินไปที่ พระราชอุทยานสราญรมณ์
จนหลังจากปี พ.ศ. ๒๔๙๓ การจัดงานเมาลิดระดับชาติก็ได้หยุดไปชั่วคราว เนื่องจากการกลับเข้าสู่อำนาจของจอมพลป.พิบูลสงคราม ยุคนั้น ได้มีการลดอำนาจหน้าที่ของจุฬาราชมนตรีจากที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์เป็นเพียงแค่ที่ปรึกษากรมการศาสนา
เมื่อสิ้นสุดยุคของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม การจัดงานเมาลิดในระดับชาติจึงเริ่มึ้นในครั้งในปี พ.ศ. ๒๕๐๔ โดยการรวมตัวของผู้นำและองค์กรศาสนา ใช้ชื่อว่า ” งานเมาลิดส่วนกลาง” โดยมีคุณหญิง แสงดาว สยามวาลา เป็นประธาน จัดขึ้นที่สวนลุมพินี  จนปี พ.ศ. ๒๕๐๖ ในการจัดงานครั้งที่ 12 นายต่วน สุวรรณศาสตร์ จุฬาราชมนตรี ได้กราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ เป็นองค์ประธานในพิธี และทรงเสด็จมาองค์ประธานในพิธีหลายครั้ง ต่อมาได้ทรงมอบหมายให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์มาเป็นองค์ประธานเปิดงาน  เป็นเวลานานกว่า 40 ปี
มีการย้ายสถานที่การจัดงาน จากลุมพินีสถาน มาจัดที่พระตำหนักสวนอัมพร จนเมื่อมีการก่อสร้างศูนย์บริหารกิจการอิสลามเฉลิมพระเกียรติ ที่คลอง 9 หนองจอก กรุงเทพมหานคร จึงย้ายการจัดมาที่คลอง 9 จนปัจจุบัน
ในการจัดงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทยปี 2560 เป็นปีพิเศษอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากพระเจ้าอยู่หัวมหาวิชิราลงกรณ์  บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จเป็นองค์ประธานเปิดงานเป็นครั้งแรก จะมีการจัดทำนิทรรศการพระราชกรณียกิจ 2 รัชกาลที่มีต่อสังคมมุสลิมเพื่อเทิดพระเกียรติพระมหากัษัตริย์ 2 พระองค์
การจัดงานเมาลิดกลาางแห่งประเทศไทย เป็นการจัดงานที่เป็นการรวมของมุสลิมมากที่สุดในรอบปี ประมาณว่าในแต่ละปีมีมุสลิมจากทั่วประเทศเดินทางมาร่วมกิจกรรม มาร่วมงานจำนวนหลายหมื่นคนตลอดระยะเวลา 3 วันของการจัดงาน ที่คร้ั้งหนึ่งในชีวิต ได้มาร่วมงาน “เมาลิดกลาง”
งารเมาลิดกลาง ไม่เพียงเป็นงานสรรเสริญศาสดาในอิสลามเท่านั้น แต่เป็นงานที่สานสัมพันธ์ระหว่างสังคมมุสลิมกับอำนาจรัฐ ในการนำเสนอปัญหาและนำเสนอสิ่งที่ดีงามให้ผู้อำนาจได้เข้าใจ เพราะในแต่ละปีจะมีนายกรัฐมนตรี เดินทางมาปิดงานในวันสุดท้ายของการจัดงาน และในงานแต่ะวัน จะมีการจัดการสัมมนาในประเด็นต่างๆ ซึ่งจะมีรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องหรือตัวแทนเดินทางมาร่วมสัมมนา
นอกจากการสานสัมพันธ์ระหว่างสังคมมุมลิมกับบุคลในรัฐบาลแล้ว งานเมาลิดกลางยังเป็นการสานสัมพันธ์ระหว่างมุสลิมในประเทศไทย และมุสลิมไทยกับมุสลิมต่างประเทศ รวมทั้งมุสลิมกับต่างศาสนิกที่มาร่วมงาน เรียนรู้ และเข้าใจวิถีปฏิบัติที่ถูกต้องของมุสลิม
จะเห็นได้ว่า ในการจัดานแต่ละครั้งมีการแต่งตั้งคณะกรรมการฝ่ายต่างๆมากกว่า 20-30 ฝ่าย มีคนมาร่วมทำงานเกือบ 2,000 คน มีกิจกรรมที่หลากหลาย อาทิ การกระกวดกอรี หรือการอ่านกุรอ่าน เพื่อคัดเลือกตัวแทนประเทศไทยไปประกวดในระดับนานาชาติ ซึ่งหลายครั้งที่มุสลิมจากประเทศไทย แม้จะมีเป็นส่วนน้อยเพียง 10% แต่ได้แสดงความสามารถชนะเลิศในระดับนานาชาติ สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาติ
ในการจัดงาน ยังมีการให้ความสำคัญในบทบาทของสตรี มีการสัมมนาเกี่ยวกับบทบาทสตรีมุสลิม การออกนิทรรศการความสามารถของสตรีมุสลิม มีการแข่งขันกีฬาหลายประเภท อาทิ การแข่งขันกอล์ฟ การแข่งขันฟุตบอล ตะกร้อ เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างมุสลิมด้วยกันและต่างศาสนิกที่เข้าร่วมแข่งขัน
ที่สำคัญมีการออกร้านของบรรดาร้านค้า สถาบันการศึกษา นำอาหาร เครื่องดื่ม และสินค้าหลากหลายและแปลกใหม่มาจำหน่ายในงานมากกว่า 200 ร้านค้า เป็นการส่งเสริมกิจการค้า ส่งเสริมการศึกษา สร้างมูลค่่ให้กับสังคม
ในสมัยที่ ดร.วินัย ดะห์ลัน เป็นประธานคณะกรรมการจัดงาน ได้จ้ด ฮาลาลเอ็กซ์โป นำผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองฮาลาล ทั้งที่เป็นของมุสลิมและไม่ใช่มุสลิมมาจำหน่ายในงาน ได้รับการตอบรับที่ดี
ผู้ระกอบการจำนวนมากอาศัยงาน “เมาลิดกลาง” เปิดตัวสินค้าและบริการ ทำตลาดให้เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
ในปีนี้ คณะผู้จัดงาน ได้นำผู้ประกอบการจากภาคใต้ ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม  มาเปิดบูในงานฟรี จำนวน 200 ราย เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้สามารถก้าวเดินต่อไปได้
การจัดงานเมาลิดกลาง จึงเป็นงานที่ที่มุสลิมทั่วประเทศให้ความสำคัญ เพราะเป็นงานที่ข้องกับทั้งด้านศาสนา การเมือง สังคม และเศรษฐกิจ โดยรวม คนมุสลิมและไม่ใช่มุสลิมมาร่วมงานกันอย่างคึกคัก สร้่างมูลค่าให้กับงานปีละหลายสิบล้านบาท
หมายเหตุ จากนิตยสาร Mtoday