แพร่สงบ! ‘สมัยจัดให้’ แก้ปัญหาที่ดินกุโบร์เรียบร้อย ยุติข้อขัดแย้ง 2 ฝ่าย

190

ปัญหาที่ดินกุโบร์ จ.แพร่ มีปัญหาขัดแย้งระหว่างมุสลิม 2 ฝ่าย ว่าสามารถใช้เป็นสถานที่ละหมาดได้หรือไม่ ได้ข้อยุติหลังจุฬาราชมนตรีมอบหมายให้ “สมัย เจริญช่าง’ เชิญทุกฝ่ายมาหารือ ยืนยัน การบริจาคไม่ใช่เพื่อเป็นกุโบร์เพียงอย่างเดียว

ตามที่มีปัญหาการปิดมัสยิดจ.แพร่ โดยอิหม่ามมัสยิดเด่นชัย เจ้าของกรรมสิทธิ์ โดยระบุว่า เป็นที่ดินที่มีการบริจาคเพื่อสร้างกุโบร์(สุสาน)นั้น นายอภิชาติ อุดม กรรมการอิสลามประจำมัสยิดฮารูน ซึ่งกำเนิดที่อ.เด่นชัย จ.แพร่ กล่าวกับ mtodayว่า การบริจาคที่ดินที่จ.แพร่ มีผู้บริจาคหลายราย รวมทั้งปู่ของตน นายอุดุมาน ประมาณ 60-70 ปีที่แล้ว ซึ่งตอนนั้น จ.แพร่ยังไม่มีมัสยิด มัสยิดที่เด่นชัยมีการก่อสร้างหลังจากที่ดินที่จ.แพร่ ประมาณ 5 ปี โดยผู้ถือกรรมสิทธิ์คนแรกคือ ปู่ของตน นายอุดุมาน เมื่อปู่เสียชีวิตมีผู้ถือกรรมการสิทธิ์อีก 1 คน ก่อนจะโอนให้พ่อตน นายอดุลย์ อุดม และเป็นผู้ก่อสร้างมัสยิดหลังใหม่ และทำพินัยกรรมให้เป็นพื้นที่กุโบร์ สถานที่ละหมาด และพื้นที่หารายได้ให้มัสยิด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ปิดมัสยิดจังหวัดแพร่ทำไม หลังสังคมวิจารณ์ ฟังอิหม่ามตอบคำถาม

‘ตอนที่มีการบริจาคที่ดินที่บอกว่า ให้เป็นกุโบร์เพียงเดียวนั้น ลองคิดดูตอนบริจาคยังไม่มีมัสยิด จะมีการบริจาคเพื่อเป็นกุโบร์อย่างเดียวเหรอ มีเจตนาให้สร้างมัสยิดด้วย ทำไมต้องไปตีความให้แคบ ผูกมัดเกินไป และคนบริจาคที่เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ส่วนหนึ่งก็ยังมีชีวิตอยู่ ก็ยืนยันไม่ได้บริจาคให้เป็นพื้นที่กุโบร์เพียงอย่างเดียว ที่บอกว่า ตรงที่มีการสร้างสถานทีละหมาดมีการฝังศพแล้วนั้น ผมอยู้ไม่ตั้งแต่เด็กไม่เห็นว่า มีการฝังมายัร สถานที่ฝังอยู่ด้านซ้าย ซึ่งต่อมามีการกั้นรั้วไว้ชัดเจนแล้ว’ นายอภิชาย หนึ่งในผู้บริจาคที่ดิน กล่าว

ทั้งนี้มีรายงานว่า หลังจากมีข่าวว่า ที่ดินมัสยิดจ.แพร่ มีปัญหาและจุฬาราชมนตรีได้รับหนังสือร้องเรียนจากอิหม่ามมัสยิดเด่นชัย และหนังสือจากมุสลิมจ.แพร่ จึงได้มอบหมายให้นายสมัย เจริญช่าง ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร ได้เชิญผู้ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย อิหม่ามมัสยิดเด่นชัย เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน ที่ไม่เห็นด้วยให้ใช้พื้นที่เป็นสถานที่ละหมาด และฝ่ายที่เห็นด้วยให้ใช้ที่ดินเป็นสถานที่ละหมาด ที่เป็นผู้บริจาคที่ดิน มาเจรจากัน ซึ่งในการพูดคุย ทุกฝ่ายว่า ที่ดินดังกล่าว สามารถใช้เป็นสถานที่ละหมาดได้ ซึ่งฝ่ายอิหม่ามมัสยิดเด่นชัย ต้องการให้สำนักจุฬาราชมนตรี ทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรแจ้งไปยังมัสยิดเด่นชัยต่อไป

สมัย เจริญช่าง