อาจารย์อรุณ และอาจารย์ประสาน เป็นลูกศิษย์ ของครูลี ไชยา ครูเซ็น สุราษฎร์ เยี่ยมมัสยิดฮิดายะห์ บ้านเกิดของครูคนสำคัญ ระบุ ได้รับการยอมรับ ไม่เพียงในไทย แต่ทั่วในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บ้านเกิดของครูทั้ง 2 จึงถือเป็นแผ่นดินที่มีบารอกัต
วันที่ 18 กันยายน ภายหลังพิธีมอบดฉนดที่ดินให้มัสยิดจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายอรุณ บุญชม จุฬาราชมนตรี พร้อมด้วยนายประสาน ศรีเจริญ ประธานที่ปรึกษาจุฬาราชมนตรี นายอารีย์ วงศ์อารยะ อดีตรมว.มหาดไทย และคณะ ได้เดินทางไปเยือนมัสยิดฮิดายะห์ (สุเหร่าล่าง) ที่บ้านพุมเรียง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี โดยมีนายตอยิบ และขวัญ อิหม่ามประจำมัสยิด คณะกรรมการมัสยิด และสัปบุรุษให้การต้อนรับ
นายตอยิบ กล่าวรายงานว่า มัสยิดฮิดายะห์ เป็นมัสยิดเก่าแก่อายุ 300 ปี เป็น 1 ในมัสยิดหลังแรกของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้ก่อสร้าง คือ นายซัมซุดดีน ที่เดินทางมาจากเยเมน และน้องชาย ยะฟัต ผู้ก่อสร้างมัสยิดสุเหร่าบน สืบทอดมาจนถึงรุ่นปัจจุบัน สภาพมัสยิดชำรุดทรุดโทรม ได้เจอกับนายฮาบีบุลเลาะห์ หรือนายธงชัย ปิติเศรษฐ ปรึกษาเรื่องมัสยิดที่ทรุดโทรม นายธงชัย บอกว่า ให้รื้อสร้างใหม่ ส่วนตัวก็เกรงว่า จะดำเนินการไม่สำเร็จ นายธงชัย จึงบอกว่า การทำงานเพื่ออัลเลาะฮ์ อัลเลาะฮ์ย่อมให้ประสบความสำเร็จ ได้รับเป็นประธานก่อสร้าง ใช้เวลา 2 ปี จึงก่อสร้างสำเร็จ พร้อมกับได้ออกโฉนดที่ดิน ซึ่งนายธงชัย ปัจจุบัน เป็นประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี
‘มีคนพูดถึงครูไชยา กับครูเซ็น สุราษฎร์ฯ ทั้งคู่เกิดตรงมัสยิดฮิดายะห์ ครูลี เกิดในห้องแถว ห้องที่ 3 ครูเซ็น เกิดในห้องแถวห้องที่ 5 แต่มีฉ่ายา ไชบากับสุราษฎร์ ไม่มีชื่อพุมเรียง ทั้งที่เกิดที่พุมเรียง’ นายตอยิบ กล่าว
จุฬาราชมนตรี กว่าวว่า ตอนเดินทางไปเรียนที่มาดีนะห์ ช่วงเปิดเทอมฤดูร้อนมาที่มักกะห์ได้มาเรียนกับครูลี ไชยา และครูเซ็น สุราษฎร์ฯ ถือเป็นลูกศิษย์ ของครูทั้ง 2 คน ซึ่งเป็นครูที่มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ไม่เพียงคนไทย แต่ทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
‘มัสยิดฮิดายะห์ เป็นสถานที่เกิดของครูทั้ง 2 คน จึงนับเป็นแผ่นดินที่มีบารอกัต’ จุฬาราชมนตรี กล่าวและว่า มัสยิดถือเป็นรากฐานสำคัญของชุมชนมุสลิม สำคัญกว่า คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด คณะกรรมการกลางอิสลามฯ ซี่งอิหม่ามเป็นคนคัดเลือก จึงต้องช่วยกันรักษาดูแลมัสยิดให้ดี
นายประสาน ศรีเจริญ กล่าวว่า ตอนอยู่มักกะห์เป็นลูกศิษย์ ทั้งครูลี ไชายา และครูเซ็น สุราษฎร์ฯ ครูลี จบจากปอเนาะบูมี มีสามารถ จำมะตัน ทุกเล่ม เก่งเชี่ยวชาญเรื่องอากีดะห์ ความศรัทธา ส่วนครูเซ็น จบจากปอเนาะดาลอ มีความสามารถจำกุรอ่านได้ทั้งเล่ม ชำนาญด้านนาฮู,ซอรอฟ แต่ครูเซ็น มาท่องจำอัลกุรอ่านตอนอายุมากแล้ว ไม่ได้ท่องจำตั้งแต่เด็ก เป็นตัวอย่างว่า เราสามารถเก่งได้ หากขยันและมุ่งมั่น
‘สิ่งที่อยากบอกพวกเรา พวกนักวิชาการว่า ครูทั้ง 2 คน เปี่ยมด้วยมารยาท ให้เกียรติซึ่งกันและกัน ครูเซ็น ชำนาญเรื่องอัลกุรอ่าน มีคนมาถามปัญหา อากีดะห์แม้จะรู้แต่ท่านก็ไม่ตอบ ให้ไปถามครูลี ส่วนครูลี ชำนาญด้านอากีดะห์ เมื่อมีคนมาถาม เรื่องอัลกุรอ่าน ท่าจะให้ไปถามครูเซ็น แม้ท่านรู้ แต่ท่านก็ไม่ตอบ เป็นการให้เกียรติซึ่งกันและกัน เป็นแบบอย่างให้นักวิชาการรุ่นใหม่ๆ ได้ ศึกษาเป็นแบบ ในการให้เกียรติกันและกัน’ อาจารย์ประสาน กล่าว