จดจำไว้! ทหารอเมริกันเคยฆ่าล้างเผ่าพันธ์ “มุสลิมโมโร”ในฟิลิปปินส์ สังหารไม่เว้นเด็ก-ผู้หญิงศพเรียบรายนับพัน

1866

7 มีนาคม 1906 กองทัพสหรัฐอเมริกาตามคำสั่งนายพล Leonard Wood ได้สังหารกลุ่มกบฏ Moros ที่เป็นชนเผ่ามุสลิมมากกว่า 1,000 ศพ ขณะที่ตั้งมั่นสู้ตายที่ภูเขาไฟที่ดับแล้วชื่อ Bud Dajo ที่เกาะ Jolo ทางตอนใต้ Philippines

สงครามครั้งแรกที่ Bud Dajo หรือที่รู้จักกันว่าสงครามสังหารหมู่ Bud Dajo Massacre
คือการปะทะกันอย่างรุนแรงระหว่างสหรัฐอเมริกากับพวกโมโร ในเดือนมีนาคม 1906 เหตุการณ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของสงครามซึ่งเกิดขึ้นระหว่างฟิลิปปินส์กับอเมริกัน หลังจากที่สหรัฐอเมริกาได้ยุติสนธิสัญญา Bates Treaty ในเดือนมีนาคม 1904 พวก Moros ชนเผ่ากลุ่มนี้ก็เริ่มต่อต้านอำนาจพวกอเมริกัน ด้วยการสร้างความรุนแรงและไม่ยอมเสียภาษี แม้ว่า นายพล Leonard Wood ผู้ว่าการรัฐ Moro จะได้พยายามสร้างความปรองดองและสมานฉันท์ในเกาะ Jolo แต่ชนเผ่าโมโรกลุ่มนี้กลับก่อการร้ายบ่อยครั้งขึ้นอีกและได้รับแรงยุจากหัวหน้าเผ่าว่า พวกอเมริกันอ่อนแอเกินไปไม่สามารถหยุดพวกมันได้

เพื่อเตรียมรับมือกับพวกอเมริกันที่มีข่าวลือว่าจะมากำจัดพวกตน ชนเผ่ากลุ่มนี้หลายร้อยคนทั้งผู้หญิงและเด็กต่างอพยพไปอยู่ที่ Bud Dajo สถานที่เดิมเป็นที่ตั้งจิตวิญญาณ/ที่เคารพสักการะก่อนที่ชนเผ่ากลุ่มนี้จะเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามBud Dajo เป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้วอยู่ห่างจากเมือง Jolo 6 ไมล์ มีสภาพเป็นป่าดงดิบมีความสูงชันถึง 2,100 ฟุตมีทางเข้าออกแคบ ๆ เพียง 3 เส้นทางจึงง่ายต่อการป้องกันกับตั้งรับศัตรู

ผลการเจรจาต่อรองอย่างฉันท์มิตรระหว่างทั้งสองฝ่ายล้มเหลว ในการยุติการก่อการร้ายจากพวกชนชั้นนำ (datus) โมโร Wood จึงตัดสินใจทำการรบในวันที่ 6 มีนาคม 1906 เพื่อทำล้ายล้างฐานที่มั่นใน Bud Dajo และยุติการก่อการร้าย ด้วยกองทัพสหรัฐกับกองกำลังผสมฟิลิปปินส์ ภายใต้การนำของพันเอก Joseph W. Duncan
ด้วยการยิงปืนใหญ่กรุยทางและยิงกดหัวฝ่ายตรงข้ามไม่ให้โงหัวขึ้นมาสู้ ตอนเย็นวันที่ 6 มีนาคม ฝ่าย Duncan ก็หยุดพักรบกลางทางก่อนตกค่ำ ท่ามกลางความมืดพวกกบฎโมโรต่างตีฆ้องร้องตะโกนปลุกเร้ากันอย่างบ้าคลั่ง
ขณะที่กองโจรโมโรพยายามโจมตีกองทัพที่พักรบเป็นครั้งคราว

ปืนใหญ่ทหารอเมริกันที่รบกับพวกโมโร  ช่วงปี 1899–1913  ที่มา http://bit.ly/2cgz1hR

7 มีนาคม 1906 ในวันรุ่งขึ้นการรบยังคืบหน้าต่อไปด้วยประสิทธิภาพของปืนใหญ่ มีการปะทะกันอย่างหนักเป็นครั้งคราว แม้ว่าพวกโมโรจะแกล้งตายหลายคน  แล้วลุกขึ้นมาสู้กับลอบทำร้ายกับทหารฝ่าย Duncan หลายต่อหลายครั้งตอนบุกเข้าใกล้ยอดเขา ในที่สุดกองทัพอเมริกันได้ยึดฐานที่มั่น และพื้นที่ของพวกกบฏโมโรได้ทั้งหมดในวันที่ 8 มีนาคม 1906 Wood รายงานสั้น ๆ ให้รัฐบาลอเมริกันว่า

ในการสู้รบฝ่ายอเมริกันตาย 18 บาดเจ็บ 52 Wood ประมาณการว่าฝ่ายศัตรูทั้งเด็กและผู้หญิงตายมากกว่า  600
แต่มีบางคนประมาณการว่ามากกว่า 900 ศพต่างถูกฝังรวมลึก 5 ฟุต บางศพมีรอยบาดแผลหลายแห่ง มีเชลยที่ถูกจับเป็นได้เพียง 7 คนเป็นผู้หญิง 3 และเด็ก 4 ส่วนผู้ชายหนีรอดตายไปได้ 18 คน แต่บางทีอาจจะมากกว่านี้ 2 เท่าก็ได้ ขณะเดียวกัน Wood ได้มีคำสั่งให้ตรวจสอบโทรเลขทุกฉบับ ที่รายงานเหตุการณ์ครั้งนี้ให้กับบุคคลภายนอก

แม้ว่าเจ้าหน้าที่รัฐสหรัฐอเมริกาจะระบุว่า สงคราม Bud Dajo คือชัยชนะการรบครั้งสำคัญของ Wood
แต่สำนักข่าวบางแห่งในสหรัฐอเมริกากลับระบุว่า การรบครั้งนี้ไม่ต่างจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์คนไม่มีทางสู้
เพราะพฤติกรรมพวกนักรบโมโรมักจะพาลูกเมียติดตามไปด้วยทุกครั้ง บางสำนักข่าวระบุว่า Wood ควรปิดล้อมจนกว่าพวกนี้ยอมจำนนมากกว่า อย่างไรก็ตามประธานาธิบดี Theodore Roosevelt ได้ส่งโทรเลขแสดงความยินดีกับ Wood ร่วมกับ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม William Howard Taft

Wood ได้ตอบข้อซักถามผู้สื่อข่าวถึงวิกฤตการณ์ Bud Dajo ครั้งนั้น ถึงสาเหตุที่มีผู้หญิงและเด็กล้มตายเป็นจำนวนมาก เพราะผู้หญิงจะแต่งกายเลียนแบบผู้ชายและเข้าร่วมรบด้วย ส่วนพวกเด็กจะทำหน้าที่เป็นโล่ห์มนุษย์หรือแนวป้องกัน 
ผู้ว่าการรัฐฟิลิปปินส์ Henry Clay Ide ก็ให้การยืนยันคำธิบายทำนองเดียวกัน ถึงเรื่องผู้หญิงกับเด็กมีส่วนร่วมมือในการก่อการร้ายทำให้ถูกฆ่าตายในระหว่างทำการสู้รบแต่ละครั้ง

และแล้วทุกอย่0างก็สงบลง ผู้นำศาสนาและสุลต่าน Sulu ของเขตปกครองนี้ เชื่อว่าปฏิบัติการที่ Bud Dajo จะทำให้พื้นที่แห่งนี้ จะมีความสงบ/เสถียรภาพในระยะยาว แต่โชคร้ายยังมีการสู้รบตามมาอีกหลายครั้ง
จากพวกชนเผ่าโมโรที่ยังหลงเหลืออยู่ เลียนแบบทำสงครามที่ Bud Dajo ในปี 1911 และที่ Bud Bagsak ในมิถุนายน ปี 1913

 

หมายเหตุ

Moro คือชื่อเรียกชนเผ่ารวมหลายกลุ่มที่อยู่ในฟิลิปปินส์ แต่ชนเผ่ากลุ่มนี้ที่รบอย่างดุเดือดมากที่สุดกับสหรัฐจนเป็นตำนาน รวมทั้งสุลต่านที่ดูแลเขตพื้นที่นี้ลึก ๆ ก็ไม่ชอบชนเผ่ากลุ่มนี้ แม้กระทั่งในปัจจุบันชื่อชนเผ่านี้ก็ยังกวนเมืองในฟิลิปปินส์อยู่ มีชื่อว่ากองกำลังติดอาวุธมุสลิมโมโรที่แถวหมู่เกาะมินดาเนา ที่อยู่ระหว่างการเจรจาสงบศึกแต่ไม่เคยสงบศึกจริง

เมื่อเร็ว ๆ นี้พวกโมโรก็เพิ่งวางระเบิดในเมือง Santos ทำให้ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ Duterte
ประกาศคำสั่ง รัฐไร้กฎหมาย นั่นคือ การปราบปรามยิงทิ้งพวกก่อการร้าย/แนวร่วมได้ทันที
ไม่ต้องดำเนินคดี/ชัณสูตรพลิกศพตามกฎหมาย หรือแบบว่าฆ่าให้ตายแล้วตายเลย  ตายฟรีไม่มีคดีติดตัวคนยิง
เหมือนการปราบปราบยาเสพติดที่มีคนตายกว่า 2,000 ศพแล้ว ผู้ที่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดยอมมอบตัวติดคุกมากกว่า 100,000 คน เพราะสำนึกดีว่าติดคุกยังมีโอกาสรอดตายมากกว่าถูกยิงตายฟรี

ชนเผ่า Moro ส่วนมากยังอยู่ใน Mindanao Sulu และ Palawan ประมาณการว่ามีมากกว่า 5 ล้านคนในฟิลิปปินส์
มีการโยกย้ายถิ่นฐานตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 จนถึงทุกวันนี้ในฟิลิปปินส์จะพบชนเผ่านี้ในเมืองใหญ่เช่น Manila Cebu และ Davao

ผลความขัดแย้งช่วงศตวรรษที่ 20 ทำให้มีการอพยพลี้ภัยไปอยู่ที่ Malaysia Indonesia และ Brunei
จะพบชนเผ่านี้ได้ใน  Kota Kinabalu Sandakan Semporna และ  Sabah ใน Malaysia
North Kalimantan ใน Indonesia และใน Bandar Seri Begawan ที่ Brunei

ข้อมูลพันทิพ

US soldiers pose with the bodies of Moro insurgents, Philippines, 1906