สมาพันธ์สตรีมุสลิมฯ รุกพัฒนาศักยภาพมุสลิมะห์อีสาน หวังสร้างบุคคลากรคุณภาพ มีความสามารถ เป็นพลังในการสร้างสรรค์ครอบครัวและสังคมตามแนวทางที่ถูกต้อง
สมาคมสมาพันธ์สตรีมุสลิมแห่งประเทศไทย นำโดย นางดาวดวงใจ ปาลาเร่ รายกสมาคมฯ นางซาเราะห์ ช่วยกุลเชาว์ รอวนายกสมาคมฯ และนายกสมาคมสมาพันธ์สตรีมุสลิมภาคใต้ ได้จัดสัมมนา โครงการพัฒนาศักยภาพสตรีมุสลิมอีสาน ที่ จ.ขอนแก่น มีนายปิยิน ตลับนาค ปลัดจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานในพิธีเปิด มีนางดาวดวงใจ ปาลาเร่ นายกสมาคมสมาพันธ์สตรีแห่งประเทศไทย นางซาเราะห์ ยิ่งกุลเชา รองนายกสมาคมสมาพันธ์ฯ ร่วมให้การอบรม อ.มัณฑนา คุปตะพันธ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการฝึกอบรม เป็นผู้ให้การอบรม
นายปิยิน ตลับนาค กล่าวว่า เป็นโอกาสดีที่ได้ร่วมกิจกรรมกับพี่น้องมุสลิม ในฐานะชาวจ.ขอนแก่นยินดีต้อนรับทุกท่านสู่จังหวัด ประเทศไทยเราปัจจุบันประสบภาวะวิกฤตหลายเรื่อง เศรษฐกิจ การศึกษา ด้านสังคม ยาเสพติด เป็นปัญหาเรื้อรัง การแก้ปัญหา สำคัญคือการพัฒนาสังคม แต่สังคมมีขนบธรรมเนียมประเพณี กฎหมายเป็นกรอบในการปฏิบัติ แต่มีปัญหาอยู่ที่คนไม่อยู่ในกรอบ
“อย่างคนขอนแก่นตอนนี้มีความเอื้ออาทรต่อกันน้อยลง กฎหมายมีกรอบกติกา แต่เราฝ่าฝืน เพราะคนขาดวินัย ขาดคุณธรรม การที่คณะกรรมการอิสลามฯ มาให้ความรู้ จะพัฒนา คนอย่างไร เริ่มที่ครอบครัวก่อน อย่างเด็กอยู่ในโรงเรียนก็มีวินัย แต่พอออกนอกโรงเรียนไม่นำออกมาด้วย ซึ่งจะต้องช่วยกันปลูกฝัง ปัญหาต่างๆ เราต้องช่วยกันว่าจะทำอย่างไรจะแก้ปญหาได้” นายปิยินกล่าวและว่าในเรื่องศาสนาประเทศไทยมีพุทธจำนวนมากในอีสานมีมุสลิมน้อย และอาจจะย่อหย่อนในการปฏบัติ จังหวัดขอนแก่นพร้อมให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมการร่วมกันพัฒนาคน
ด้านนางดาวดวงใจ ปาลาเร่ นายกสมาคมสมาพันธ์สตรีฯ กล่าวว่า การจัดโครงการอบรม เป็นการสร้างศักยภาพสตรีมุสลิมในการอยู่ร่วมในสังคมให้ได้รับการยอมรับ“เป็นการเสริมสร้างศักยภาพ ความรู้ของสตรีมุสลิมให้มีความสามารถในการบริหารองค์กรสตรีมุสลิม และพัฒนาตัวเองของสตรีมุสลิมให้เป็นที่ยอมรับของสังคม เพิ่มทักษะ ขีดความสามารถในการเป็นผู้นำ บริหารองค์กรได้เป็นที่ยอมรับ มีแนวความคิดใหม่ๆ และเป็นพลังขับเคลื่อนด้านต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาชุมชนตามนโยบายของรัฐบาล กระตุ้นให้ผู้นำสตรีพัฒนาตนเอง เพื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนาสตรีอื่นๆ ต่อไป” นางดาวดวงใจ กล่าวถึงจุดประสงค์ของการจัดโครงการ ในการอบรมมีสตรีมุสลิมจากหลายพื้นที่เข้าร่วมสัมมนาประมาณ 80 คน อาทิ จากจ.ขอนแก่น อุดรธานี สกลนคร และจังหวัดใกล้เคียง โดยในการอบรมมีการฝึกทักษะการคิด โดยให้แต่ละกลุ่มวาดรูปบนผ้าขนาดใหญ่นำเสนอปัญหาและสิ่งที่ต้องการสำหรับตนเองและชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่ต้องการโรงเรียนสอนศาสนา ต้องการครู ต้องการมัสยิด รวมทั้ง เรื่องของการประกอบอาชีพเพื่อช่วยเหลือครอบครัว ในขณะที่บางส่วนได้สะท้อนปัญหาการอยู่ในภาคอีสาน อย่างจ.หนองคาย ถูกคนรอบข้างไม่ให้การยอมรับ และที่เจอมากคือ มุสลิมไม่มีความรู้ด้านศาสนาและไม่ได้ปฏิบัติตามหลักศาสนา
หมายเหตุ : จากนิตยสาร MTODAY ฉบับที่ 64 ประจำเดือนเมษายน 2560