EEC ประชาชนแค่เป็นเหยื่อของการพัฒนา

56

บทความโดย ศ.พล.ท.ดร.สมชาย วิรฬหผล

ผลกระทบจากการประกาศเขตที่ดินตาม พ.ร.บ. EEC

หลักการของการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและพัฒนาประเทศชาติต้องคำนึงถึง Stakeholders หรือผู้มีส่วนได้เสีย ทุกภาคส่วน อันได้แก่

1. ผลประโยชน์ ของชาติ ของ ส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม
2. ประชาชนทุกภาคส่วน โดยเฉพาะ ประชาชนในแต่ละชุมชนและท้องที่
3. ชนชั้นกลางซึ่งเพิ่มจำนวนมากขึ้น
4. ชนชั้นล่าง ลูกจ้าง พนักงาน เกษตรรายย่อย ผู้ประกอบการรายย่อย ( พ่อค้า แม่ค้า หาบเร่ แผงลอย รถเข็น ห้องแถว)
5. กลุ่มทุน เจ้าของที่ดินรายใหญ่ เจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม
6. นักลงทุนต่างประเทศ

พ.ร.บ. EEC และการวางแผนพัฒนาประเทศ Roadmaps และ Thailand 4.0 ล้วนรองรับและคำนึงถึง 2 กลุ่มสุดท้าย คือ 5 และ 6

อีก 4 กลุ่มแรก เป็นผู้แบกรับภาระ และกลายเป็นเหยื่อของแผนการพัฒนาประเทศ

การใช้ตัวชี้วัด จีดีพี ที่เกิดจากการลงทุนและการส่งออกที่เม็ดเงินส่วนใหญ่ไหลออกนอกประเทศ และไม่ได้กลับเข้ามาเพิ่มกำลังซื้อของประชาชนในประเทศเพื่อช่วยผลักดันกงล้อเศรษฐกิจให้หมุนเวียนเพิ่มขึ้น 8 เท่าตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ จึงไม่เกิดขึ้น

โดยดูจากประชาชนส่วนใหญ่ขาดกำลังซื้อ สินค้าเกษตรทุกตัวราคาตกต่ำ พ่อค้าแม่ค้ามียอดขายตก และหนี้สินต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้นทุกปีโดยมียอดรวม 12 ล้านๆบาท และเพิ่มขึ้นเป็นครัวเรือนละ 1.78 แสนบาท ในปี 2560

นี่คือผลลัพธ์ของการพัฒนาแบบหัวโตแต่ตัวลีบ แทนที่จะเป็นการพัฒนาแบบปิรามิดกลับหัว ที่คำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม แบบ Win- Win. คือ ชนชั้นกลางเติบโตขยายเพิ่ม ชนชั้นล่างและชนชั้นบนเล็กลงมากลายเป็นชนชั้นกลางด้วยระบบภาษีที่เก็บในอัตราก้าวหน้า และการวางแผนพัฒนาที่คำนึงถึงทุกภาคส่วน ไม่กระทบหรือรังแกภาคใดภาคหนึ่ง