‘ราฮาฟ’ ไม่ยอมพบพ่อที่บินมาเคลียร์-UNHCR เร่งออสเตรเลียรับเป็นผู้ลี้ภัย

337

พ่อราฮาฟ สาววัย 18 บินมาจากซาอุฯ หวังเจรจากับลูกสาว แต่เจ้าตัวไม่ยอมพบ ขณะ UNHCR เร่งออสเตรเลียรับเป็นผู้ลี้ภัยเป็นกรณีพิเศษ ยันเรื่องครอบรัวไม่เกี่ยวกับศาสนาและการเมือง

เมื่อวันที่ 9 ม.ค.พล.ต.ท สุรเชษฐ์ หักพาล ผบช.สตม. ,พล.ต.ต.พนัญชัย ชื่นใจธรรม .ผบก.สส.สตม. พล.ต.ต.อาชยน ไกรทอง ผบก.ตม.3 ร่วมกันแถลงข่าวผลข่าวข้อสรุปการหารือ 3 ฝ่าย ระหว่างบิดาของ
ราฮาฟ โมฮัมเหม็ด อัล-กูนุน สาวซาอุวัย 18 ปี ตัวแทนสถานฑูตและตำรวจตรวจคนเข้าเมืองของไทย

โดยการหารือครั้งนี้ไม่อนุญาตให้บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าสังเกตการณ์ ซึ่งการเดินทางมาครั้งนี้ของบิดา พี่ชาย ของฮาฟ โมฮัมเหม็ด อัล-กูนุน หวังเกลี้ยกล่อมให้บุตรสาว เดินทางกลับบ้านประเทศ แต่ถูกปฏิเสธอย่างไร้เยื่อใย จนต้องร้องขอให้ทางยูเอ็นเอชซีอาร์ เข้ามาช่วยเจรจาไกล่เกลี่ยเพื่อให้พ่อลูกได้พบกันที่โรงแรมแห่งหนึ่งย่านหลานหลวง เมื่อช่วงก่อนเที่ยงวานนี้ โดยแนวทางของบิดาสาวซาอุต้องการได้ตัวบุตรสาวเดินทางกลับพร้อมกัน

โดยมีรายงานว่าการหารือใช้เวลาชั่วโมงครึ่ง หลังการหารือบิดาของฮาฟ โมฮัมเหม็ด อัล-กูนุน จะเดินทางกลับออกจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองทันที จะยังคงปักหลักอยู่ในประเทศไทย จนกว่าจะถึงวันเสาร์ที่จะถึงนี้ อย่างไรก็ตามมีรายงานว่าสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ได้พยายามอย่างสูงสุด ที่จะส่งราฮาฟ เดินทางไปยังประเทศออสเตรเลีย ในสถานะผู้ลี้ภัย โดยได้ร้องขอไปยังประเทศต้นทาง ซึ่งรับปากว่าจะพิจารณาเรื่องนี้เป็นกรณีเร่งด่วน เพื่ออนุมัติวีซ่าด้านมนุษยธรรม ยุติปัญหาที่เกิดขึ้น ตามคำร้องขอของตัวสาวซาอุ

พล.ต.ท สุรเชษฐ์ กล่าวว่า การเดินทางไปยังประเทศที่สามของราฮาฟ จะต้องเป็นไปตามประสงค์ของเจ้าตัวเท่านั้น และไม่มีใครทำอะไรเธอได้ในระหว่างที่เธออยู่ในราชอาณาจักรไทย ทั้งนี้จากการได้รับการประสานงานคาดว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 2 วัน ในการพิจารณาอนุมัติสถานะ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการดำเนินการ โดยการเข้ามาพบของบิดาของสาวคนดังกล่าว เพราะเราอยู่ในเหตการณ์ ต้องการทราบสถานการณ์ ว่าบุตรสาวปลอดภัยหรือไม่ รวมทั้งอยู่ในความดูแลของยูเอ็นเอชซีอาร์

โดยจากการพูดคุยทางครอบครัวมีความไม่สบายใจเนื่องจากเป็นห่วงความปลอดภัยของบุตรสาวซึ่งขณะนี้แม่ของสาวซาอุป่วยหนักและต้องการรับตัวกลับ โดยทางคุณพ่อของราฮาฟ โมฮัมเหม็ด อัล-กูนุน เท่าที่ทราบเป็นข้าราชการระดับสูงเป็นผู้ว่าการรัฐในประเทศซาอุดิอาระเบียมีลูกทั้งหมด 10 คนและปัญหาที่เกิดขึ้นอาจเกิดจากความน้อยใจ ไม่ใช่เรื่องการทำร้ายร่างกายหรือบังคับให้แต่งงาน ส่วนความเป็นอยู่ของราฮาฟ โมฮัมเหม็ด อัล-กูนุน ยังอยู่ในความดูแลของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ท่ามกลางการดูแลรักษาความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และปฏิเสธไม่ขอพบใคร.และต้องการให้ยูเอนเอชซีอาร์พิจารณาสถานะไปยังประเทศที่สาม อย่างไรก็ตามทางครอบครัวโดยเฉพาะคุณพ่อจะไม่เดินทางกลับประเทศ และคงพำนักในประเทศไทยจนกว่าจะรู้ว่าลูกสาวของตนจะได้รับการพิจารณาสถานะหรือไม่ ผบช.สตม. กล่าว

ในส่วนนี้ขอชี้แจงว่าหากได้รับการพิจารณาขึ้นสถานะเป็นผู้ลี้ภัยก็จะต้องปฏิบัติตามโดยการส่งตัวหญิงสาวคนดังกล่าวไปยังประเทศปลายทาง แต่หากไม่ได้รับการขึ้นสถานะผู้ลี้ภัยทางสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติก็จะต้องนำตัวหญิงสาวคนดังกล่าวมาให้อยู่ในการดูแลของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเพื่อพักดันกลับประเทศต้นทางต่อไป ซึ่งในส่วนนี้เป็นขั้นตอนการปฏิบัติตามหลักสากล พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ กล่าว

พล.ต.ท สุรเชษฐ์ กล่าวว่า เราทำทุกอย่างเปิดเผย แนวทางดำเนินการขณะนี้ยึดถือสิ่งเดียวกัน คือหลักความปลอดภัย ซึ่งเป็นธรรมดาที่พ่อแม่ย่อมห่วงลูก เรื่องที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องของครอบครัวไม่ใช่เรื่องทางการเมืองหรือศาสนาแต่อย่างใดวันนี้ต้องฟังทุกฝ่าย ซึ่งตรงกันบ้างไม่ตรงกันบ้างไม่เป็นไร แต่การทำงานต้องยึดเรื่องการเคารพสิทธิมนุษยชน ผมเองทำหน้าที่ในการประสานทางสถานทูต ยูเอ็นเอชซีอาร์ และครอบครัว เพื่อหาทางออกของเรื่องนี้ให้ดีที่สุด

ขณะนี้การพิจารณาสถานะผู้ลี้ภัยอยู่ในระหว่างการดำเนินการ ซึ่งตอนนี้ยังไม่ได้รับการยืนยันว่ามีการให้สถานะผู้ลี้ภัยแก่หญิงสาวคนดังกล่าว แต่หากมีการพิจารณาสถานะและผลเป็นประการใดจะผ่านสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติจะประสานมาทางสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เท่าที่ทราบก็รณีในลักษณะดังกล่าวก็เคยมีการได้รับการรับรองสถานะแต่เป็นเพียงส่วนน้อย ซึ่งตอนนี้แม้แต่ทางครอบครัวก็ยังไม่ได้เข้าพบหรือพูดคุยกับทางหญิงสาวชาวซาอุแต่ได้มีการฝากข้อความแสดงความเป็นห่วงถึงตัวลูกสาวและอยากจะให้ทางสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติช่วยเจรจาเกลี้ยกล่อมให้ลูกสาวยอมกลับประเทศ อย่างไรก็ตามทางครอบครัวได้ทำการคัดค้านพร้อมแจ้งเหตุผลกับทางสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ

พล.ต.ท สุรเชษฐ์ กล่าวว่า ทางครอบครัวพอใจการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจภัยอีกทั้งตำหนิการทำงานของสายการบิน ในการที่รับผู้โดยสารที่ไม่มีตั๋วโดยสารขากลับ พร้อมขอให้ช่วยดูแลความปลอดภัยลูกสาว และขอให้ยูเอ็นช่วยพูดให้เดินทางกลับประเทศ อย่างไรก็ตาม ทางครอบครัวไม่ได้มีการบังคับใดๆที่ผ่านมาหญิงสาวคนดังกล่าวได้รับอิสระทางครอบครัวในการเดินทางไปยังประเทศต่างๆหลายต่อหลายครั้งที่ละเอียดเรื่องต่างๆเป็นเรื่องของครอบครัวไม่ใช่เรื่องทางการเมืองหรือศาสนาแต่อย่างใด