‘พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์’ ประธานองคมตรี 2 แผ่นดิน ผู้ทรงอิทธิพลทางการเมืองตัวจริง

5775

วันที่ 26 พฤษภาคม 2562 ประเทศไทยต้องสูญเสียปูชนียบุคคลคนสำคัญ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี ที่ถือเป็นบุคคที่ทรงอิทธิพลทางด้านการเมืองและการทหาร มายาวนานตั้งแต่ทศวรรต 2520 นับเป็นเวลา 40 ปี ที่ถือว่ายาวนานมากในแวดวงการเมืองของไทย

พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลพระมงกุฎ เมื่อเวลา 05.00 น. แพทย์พยายามช่วยชีวิตอย่างสุดความสามารถ แต่ท่านก็ได้สิ้นใจอย่างสงบ

สำหรับประวัติของ พล.อ.เปรมเกิดเมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2463 ที่ ต.บ่อยาง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา โดยชื่อเปรมนั้น พระรัตนธัชมุนี (แบน คณฺฐาภรโณ) เป็นผู้ตั้งให้ ส่วนนามสกุลติณสูลานนท์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานให้ เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2462 โดย พล.อ.เปณมเป็นบุตรชายคนรองสุดท้องจากจำนวน 8 คนของรองอำมาตย์โทหลวงวินิจทัณฑกรรม (บึ้ง ติณสูลานนท์) ต้นตระกูลติณสูลานนท์ กับนางวินิจทัณฑกรรม (ออด ติณสูลานนท์)

พล.อ.เปรมสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา สงขลาหมายเลขประจำตัว 167 และโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยเมื่อปี 2480 จากนั้นเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเทคนิคทหารบก รุ่นที่ 5 สังกัดเหล่าทหารม้า จากนั้นได้เข้ารับราชการทหารและร่วมรบในสงครามอินโดจีน รวมทั้งสงครามโลกครั้งที่สอง

พล.อ.เปรมเคยดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 2 ผู้บัญชาการทหารบก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ก่อนเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 16 ของไทย และดำรงตำแหน่ง 3 วาระ ระหว่างปี 2523 – 2531 โดยหลังพ้นจากตำแหน่งนายกฯ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นองคมนตรี เมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2531 ต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นประธานองคมนตรี เมื่อวันที่ 4 ก.ย. 2541

ระหว่างเป็นนายกฯ พล.อ.เปรม เคยถูกลอบสังหาร แต่ไม่สำเร็จ เคยถูกยึดอำนาจ 2 ครั้ง แต่ก็ไม่สำเร็จ แต่สุดท้ายท่านได้ประกาศลาออก ด้วยคำว่า ‘พอแล้ว’

พล.อ.เปรม เป็นนพูดน้อย แต่สูงส่งด้วยบารมี สมัยเป็นนายกรัฐมนตรี ถูกตั้งฉายาเตมีย์ใบ้ ครั้งหนึ่งนักข่าวรอการประชุมจนดึกดื่น เมื่อพล.อ.เปรม ออกมา ได้พูดสั้นๆว่า กลับบ้านเถอะลูก

แม้จะพ้นจากกองทัพมาเป็นองคมนตรี แต่พล.อ.เปรม ยังมีบารมีในกองทัพอย่างสูง ทุกปี ในช่วงวันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ หรือวันเกิด บรรดานายทหารและนักการเมือง จะเข้าอวยพรพล.อ.เปรม ไม่เคยขาด การแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารทุกครั้ง ว่ากันว่า ต้องปรึกษาพล.อ.เปรม

กับฉายา ‘ป๋า’ มาจากช่วงที่ พล.อ.เปรมดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้าเมื่อปี พ.ศ.2511 ท่านมักเรียกแทนตัวเองต่อผู้ที่อาวุโสน้อยกว่าว่า “ป๋า” และเรียกผู้ที่อาวุโสน้อยกว่าว่า “ลูก” จนเป็นที่มาของคำว่าป๋า หรือป๋าเปรม ขณะที่คนสนิทของ พล.อ.เปรม มักถูกเรียกว่าลูกป๋า