“บิ๊กป้อม” ตรวจเยี่ยม กระทรวงดิจิทัลฯ เล็ง ตั้ง “ตร.ไซเบอร์” แก้ปัญหา Face News

77

รองนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ ตรวจเยี่ยม และ ให้กำลังใจ การทำงาน ศูนย์ต่อต้านข่าวกรอง Face News พร้อมเห็นด้วยกับข้อเสนอ กระทรวงดิจิทัลฯ ตั้ง ตำรวจไซเบอร์ ดูแลร่วมกับ ปอท.

วันที่ 22 เม.ย.63 พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ติดตามความคืบหน้าการทำงาน ศูนย์ต่อต้านข่าวกรอง  Anti-Fake News Center ที่ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยมีนายพุทธิพงษ์ ปุณกัณฑ์ รมว.ดิจิทัลฯให้การต้อนรับ พร้อมรายงานขั้นตอนการทำงาน ตั้งแต่การติดข้อมูล คัดกรองข่าว ตรวจสอบที่มา  กระแสข่าวต่างๆที่ผ่านมาทาง โซเชี่ยลเน็ตเวิร์ค เฟซบุ๊ค ไลน์กรุ๊ป  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเด็นความเคลื่อนไหวของ ไวรัสโคโรนา หรือ โควิด-19 ผ่านเว็บไซด์ ต่างๆ พบการกระทำความผิดจำนวนมาก ที่ต้องดำเนินการตามกฎหมาย ซึ่งนอกจากกฎหมายปกติแล้ว ยังมี พ.ร.ก.สถานการณ์ฉุกเฉินฯ มาควบคุม กระทรวงดิจิทัลฯ ได้ทำงานร่วมกับ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีความคืบหน้าไปตามลำดับ

นายพุทธิพงษ์ ได้ชี้แจงปัญหาการทำงานต่อรองนายกฯ เริ่มจากการสอบข่าวว่าเป็นความจริงหรือไม่ โดยประสานหน่วยงานอื่นๆที่รับผิดชอบ ซึ่งบางครั้งพบปัญหาขั้นตอนที่ค่อนข้างยุ่งยาก ไม่สามารถรายงานได้ภายใน 2 ชั่วโมง จึงต้องปรับปรุงกระบวนการให้เร็วขึ้น

ขณะเดียวกันยังพบปัญหาการจับกุม ซึ่ง สตช.ต้องให้หน่วยงานที่เสียหายรวบรวมหลักฐานมาให้ครบก่อนแจ้งความเอาผิด ทำให้เกิดความล่าช้า ซึ่ง พล.อ.ประวิตร ระบุว่าจะนำเรื่องนี้เข้า ครม.ให้รัฐมนตรีทุกกระทรวงกำชับทุกหน่วยงานหากมี ข่าวมีประเด็นข่าวที่สันนิษฐานว่าอาจเป็น Fake News ก่อให้เกิดความเสียหายต่างๆ โดยเฉพาะเกี่ยวกับสถานการณ์ โควิด-19 ให้มาร้องทุกข์กล่าวโทษภายใน 3 วัน เพื่อให้ครบองค์ประกอบในการดำเนินคดี

ทั้งนี้ รมว.ดิจิทัลฯ ได้เสนอให้ สตช.ตั้ง กองบัญชาการ ดูแลปัญหาที่เป็นอันตรายเกี่ยวกับ ไซเบอร์ ในโลกโซเชี่ยล แม้ว่าจะมี สำนักงาน ปอท.ดูแลอยู่แล้ว แต่ ปัญหา Face News เกิดขึ้นทั่วประเทศ ผู้กระทำความผิดกระจายอยู่ทุกพื้นที่ การดำเนินการของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ปอท หรือ หน่วยงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ บางครั้งยังไม่ครอบคลุม รวมไปถึงการแจ้งความกล่าวโทษ ผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างเช่น มีบุคลากรบางคนถูก bully โพสต์หมิ่นประมาท ถ้าจะร้อง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ต้องเดินทางไปที่ สำนักงาน ปอท. หากผู้สียหายอยู่ต่างจังหวัด ย่อมมีปัญหาการเดินทาง

“ดังนั้นถ้าเรามีกองบัญชาการก็จะมีผู้บัญชาการ และตัวผู้บังคับใช้ที่อยู่ภายใต้กองบัญชาการในอนาคต กระจายอยู่ตามภาคต่างๆ ก็จะมีความเชี่ยวชาญในเรื่องไอทีสามารถรับเรื่องราวร้องทุกข์กล่าวโทษได้ตรงกับปัญหาที่เกิดขึ้น  ส่วนประเด็นของการติดตามตรวจสอบ ตรวจจับ สืบสวน ถ้าเป็นกองบัญชาการ จะมีเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในแต่ละภูมิภาค สามารถจะไปติดตามผู้ที่กระทำผิดได้รวดเร็วและก็ลงลึก ไม่ว่าใครอยู่ที่ไหนอำเภออะไร ถ้าท่านประสงค์ที่ไม่ดีในการทำ Fake News เราสามารถเข้าไปถึงพื้นที่ได้ทันท่วงที เพราะว่าวันนี้ กว่าจะติดตามตรวจสอบส่งให้ตำรวจ platform ที่กระทำผิด ก็ทำลายหลักฐาน หนีหายไปหมด” รมว.ดิจิทัลฯ กล่าว

ด้านพลเอกประวิตร ได้กล่าวให้กำลังใจ และย้ำว่าตามนโยบายรัฐบาลเพื่อช่วยเหลือและตรวจสอบเฟคนิวส์เชิงลึก ให้เกิดความเชื่อมั่นกับประชาชน โดยทุกกระทรวงต้องร่วมมือกันดำเนินการ พบว่ามีเกิดขึ้นทุกวันในสื่อต่างๆ หากหน่วยงานหรือบุคคลใดได้รับผลก็ให้มาร้องเรียน ทั้งนี้ เห็นด้วยกับข้อเสนอให้ ตั้งกองบัญชาการ ตำรวจไซเบอร์ มาดูแลปัญหา Face News โดยมอบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดำเนินการต่อไป