ดีเอสไอ สั่งแล้ว! ให้ “อุทธรณ์” คดี “ฟอกเงินกรุงไทย” ชง อัยการสูงสุด ชี้ขาด

377

ลุ้นระทึก จนนาทีสุดท้าย! กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ  ตัดสินใจ คัดค้าน ความเห็นไม่ คำสั่งอัยการไม่ อุทธรณ์คดี โอ๊ค-พานทองแท้  ฟอกเงินกรุงไทย หลังครบกำหนด เดทไลน์ ขั้นตอนต่อไป รอวัดดวง อัยการสูงสุด ชี้ขาด

25 เม.ย.63  กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้ทำความเห็นแย้งคำสั่งไม่อุทธรณ์คดี นายพานทองแท้ ชินวัตร จำเลยคดีร่วมกันฟอกเงิน 10 ล้านบาท ธนาคารกรุงไทยฯ ที่ปล่อยกู้ให้เครือกฤษดามหานคร ส่งให้พนักงานอัยการ ซึ่งครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ คือ ภายในวันที่ 25 เม.ย. 63 โดยคำสั่งดังกล่าวส่งมาเมื่อช่วงบ่ายวันที่ 24 เม.ย.63 หลังจากจะครบกำหนดเดทไลน์คดีเพียงวันเดียว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าและหลังจากนี้ จนท.ต้องนำเรื่องให้อัยการสูงสุดชี้ขาดในขั้นตอนสุดท้ายว่า จะดำเนินการอุทธรณ์คดีหรือไม่ ซึ่ง หากอัยการสูงสุดเห็นว่าไม่อุทธรณ์ คดีก็จะสิ้นสุดลง แต่ถ้ายืนยันให้อุทธรณ์ ก็ต้องดำเนินตามกระบวนยุติธรมต่อไป

สำหรับคดี”ปล่อยกู้กรุงไทย” หรือ “ฟอกเงินกรุงไทย” ถือเป็นคดีทางการเมืองที่”ครึกโครม” ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชน ติดตามความเคลื่อนไหวมาทุกระยะ จากจำเลย คนสำคัญ คือ ทักษิณ ชินวัตร และ บุตรชาย โอ๊ค- พานทองแท้ ชินวัตร นอกจากนี้ ยังมี ผู้เล่นสำคัญคือ นายอุตตม สาวนายน รมว.คลังคนปัจจุบัน โดยขณะนั้น นายอุตตม เป็น 1 ใน 5 คณะกก.ที่เห็นชอบให้ ปล่อยกู้เงินดกู้ดังกล่าว

จุดเริ่มของคดี มาจากสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้มีหนังสือกล่าวโทษต่อ ดีเอสไอ ให้ดำเนินคดีอาญาต่อ นางกศนี จิปิภพ , นางกาญจนาภา หงส์เหิน , นายวันชัย หงษ์เหิน และ นายพานทองแท้ ชินวัตร รวม 4 คน ในความผิดฐาน สมคบกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมกันฟอกเงินและได้มีการกระทำความผิดฐานฟอกเงิน เพราะเหตุที่ได้สมคบกัน โดยดีเอสไอรับเป็นคดีพิเศษที่ 25/2560 ทางคดีทำการสอบสวนเสร็จสิ้นและส่งสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการ เมื่อวันที่ 26 ก.ค. 61 ต่อมาพนักงานอัยการสำนักงานคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุดได้ยื่นฟ้องต่อศาล โดยเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 62 ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางมีคำพิพากษายกฟ้อง

จากนั้นพนักงานอัยการในฐานะโจทก์ได้ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์คำพิพากษา จำนวน 4 ครั้ง ประกอบด้วย ครั้งที่ 1 ศาลอนุญาตถึงวันที่ 19 ธ.ค.62 ครั้งที่ 2 ศาลอนุญาต ถึงวันที่ 25 ก.พ.63 ครั้งที่ 3 ศาลอนุญาตถึงวันที่ 25 มี.ค. 63 โดยระหว่างนั้น (วันที่ 19 มี.ค. 63) พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่อุทธรณ์ (อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีศาลสูง)

ต่อมา วันที่ 26 มี.ค. 63 พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการคดีพิเศษ (ฝ่ายคดีพิเศษ 4) ส่งสำนวนให้ดีเอสไอ พร้อมความเห็นไม่อุทธรณ์คำพิพากษามายังอธิบดีดีเอสไอ เพื่อพิจารณาว่า จะมีความเห็นแย้งหรือไม่ อันเป็นไปตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 มาตรา 34 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 และพนักงานอัยการได้ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์คำพิพากษา เป็นครั้งที่ 4 ศาลอนุญาตถึงวันที่ 25 เม.ย. 63.