กินแห้ว! ผู้ตรวจการฯตีตก สมาคมปกป้องพุทธฯร้องพรบ.ฮัจย์ขัดรธน.

4263

ผู้ตรวจการแผ่นดิน ตีตกข้อร้องเรียนของสมาคมปกป้องพุทธศาสนา ระบุกฎหมายส่งเสริมกิจการฮัจย์ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ กระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และสิทธิเสรีภาพของคนส่วนใหญ่ ระบุไม่ขัดรัฐธรรมนูญและไม่กระทบสิทธิใคร ไม่ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย

ผู้ตรวจการแผนดิน ได้วินิจฉัยข้อร้องเรียน ของสมาคมปกป้องพระพุทธศาสนา ให้ตรวจสอบพ.ร.บ.ส่งเสริมกิจการฮัจย์ 2524 ที่มีการแก้ไขให้ย้ายสังกัดจากกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรมมาสังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยว่า ขัดรัฐธรรมนูญและเป็นกฎหมายเพื่อศาสนาใดศาสนาหนึ่งหรือไม่ ตามที่ สมาคมปกป้องพุทธศาสนา ได้ยืนข้อร้องเรียน มีรายละเอียดดังนี้

ภาพเมื่อครั้งร้องให้หยุดเผยแพร่MVเพลงชาติ

นายกสมาคมปกป้องพระพุทธศาสนา โดยน.ส.พาศิกา สุวจันทร์ นายกสมาคมและคณะ ได้ยื่นให้ผู้ตรวจการแผิน วินิจฉับพรบ.ฮัจย์ 2524 และแก้ไขเพิ่มเติม โดยระบุว่า การกำหนดให้หน่วยงานของรัฐทำหน้าที่ส่งเสริมกิจการฮัจย์และอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่จะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 28 มาตรา 30 มาตรา 37 และรัฐธรรมนูญ ปี 2560 มาตรา 1,3,4,5,25,26,27,และมาตรา 37

คำวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดิน ลงนามโดย พล.อ.วิทวัส รชตะนันท์ นายสมบูรณ์ ฐาปนะดุลย์ และนายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ลงวันที่ 27 พฤษภาคม สรุปได้ว่า

ข้อร้องเรียน
1.พ.ร.บ.ส่งเสริมกิจการฮัจย์ ขัดต่อรัฐธรรมนูญเนื่องจากเป็นกฎหมายที่อำนวยความสะเวดและเอื้อประโยชน์แก่ผู้นับถือศาสนาอิสลามเพียงศาสนาเดียว เป็นการเลือกปฏิบัติกระทบต่อสิทธิในการนับถือศาสนาของผู้อื่น และเป็นกฎหมายที่แบ่งแยกการปกครอง

คำวินิจฉัย
เมื่อพิจารณาพ.ร.บ.ส่งเสริมกิจการฮัจย์ กำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทย ซึ่งกำหนดให้อธิบดีกรมการปกครอง เป็นเลขาธิการ และให้กรมการปกครองทำหน้าที่สำนักเลขาธิการคณะกรรมการฯ เห็นว่า บทบัญญัติในกฎหมายเป็นเพียงการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหน่วยงาน (จากกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม มาสังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย) และกำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการ รวมถึงอำนาจหน้าที่ของกรมการปกครอง ดังนั้นพ.ร.บ.ส่งเสริมกิจการฮัจย์ จึงไม่มีเนื้อหาที่เป็นการแบ่งแยกดินแดน หรือเลือกปฏิบัติ และกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคตามที่ผู้ร้องเรียนอ้าง

ข้อร้องเรียน
2.พ.ร.บ.ส่งเสริมกิจการฮัจย์ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเป็นการทำลายระเบียบการบริหารราชการและความมั่นคงของประเทศ เอื้อต่อศาสนาอิสลามให้มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เหนือกว่าศาสนิกในศาสนาอื่น ทำให้ได้รับการคุ้มครองในรัฐธรรมนูญไม่เท่ากัน ทำให้ได้รับการการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญไม่เท่าเทียมกัน

คำวินิจฉัย
พิจารณาตามพ.ร.บ.ส่งเสริมกิจการอัจย์ มีการแก้ไขกำหนดให้รมว.มหาดไทย เป็นผู้รักษาการ และโอนกิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้และภาระผูกพันของกองส่งเสริมกิจการอัจย์ และกองทุนสำหรับผู้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ (จากกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม) มาสังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยเท่านั้น ไม่มีเนื้อหากระทบต่ออธิปไตย ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของผู้ร้องเรียน หรือขัดต่อหลักนิติธรรม หรือเพิ่มภาระหรือจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพของผู้ร้องเรียนเกินสมควรแก่เหตุตามที่ผู้ร้องเรียนอ้างแต่อย่างใด

ข้อร้องเรียน
3. พ.ร.บ.ส่งเสริมกิจการฮัจย์ แก้ไขโดยกำหนดโทษแก่ผู้ไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ ข้อต่อรัฐธรรมนูญ เนื่องจากผิดหลักการใช้กฎหมายพัฒนาระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน

คำวินิจฉัย
เห็นว่ารัฐธรรมนูญ ปี 2560 (มาตรา 76,77)เป็นบทบัญญัติในหมวด 6 แนวนโยบายแห่งรัฐ ซึ่งเป็นเพียงแนวทางให้รัฐดำเนินการตรากฎหมายและกำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินเท่านั้น มิใช่บทบังคับให้รัฐมีภาระหน้าที่ต้องดำเนินการและปฏิบัติแต่อย่างใด

ข้อร้องเรียน
4. พ.ร.บ.ส่งเสริมกิจการฮัจย์ แก้ไขเพิ่มมาตรา 5 และระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์ฯว่าด้วยการควบคุมกิจการการรับจัดบริการขนส่งในกิจการฮัจย์ และการจัดบริการอื่นที่เกี่ยวกับอิจการฮัจย์และการโฆษณาหรือการกระทำอื่นใดที่เกี่ยวกับกิจการฮัจย์ เป็นการตัดสิทธิเสรีภาพของผู้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์และเป็นการออกกฎหมายและระเบียบที่ไม่เป็นไปตามการปกครองของประเทศไทยเพื่อใช้กับคนกลุ่มเดียวที่มีความเชื่อทางศาสนาต่างจากคนส่วนใหญ่

คำวินิจฉัย
เห็นว่า เป็นข้อร้องเรียนโดยมิได้ระบุว่า พรบ.และระเบียบ ได้กระทบต่อสิทธิหรือเสรีภาพที่บัญญัติไว้ในมาตราใดในรัฐธรรมนูญ จึงไม่มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบธรรมด้วยรัฐธรรมนูญที่ผู้ตรวจการแผ่นดินเสนอความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยได้

สรุป
อาศัยเหตุผลตามที่กล่าวมา จึงวินิจฉัยให้ยุติเรื่องร้องเรียนของผู้ร้องเรียน
Mtoday-เรียบเรียง