เงินฮาลาลได้ปีละเท่าไหร่ นำไปใช้อะไรบ้าง เมื่อสังคมตั้งคำถาม จึงไปรวมมาให้ดู

11933

หลังจาก ‘มนัญญา ไทยเศรษฐ์’ เตรยีมผลักดัน จัดตั้งองค์การมหาชนฮาลาล ได้มีปฏิกริยาอย่างกว้างขวาง ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย รวมทั้งมีคำถามไปยังคณะกรรมการกลางฯ ถึงเงินฮาลาลว่า แต่ละปี มีจำนวนเท่าไหร่ และนำไปใช้อะไรบ้าง

จำนวนเงินที่ได้จากค่าธรรมเนียมการรับรองฮาลาล ไม่มีตัวเลขชัดเจนว่า แต่ละปีมีจำนวนเท่าไหร่ เพราะไม่ได้มีการรวบรวมและแจกแจงชัดเจน Mtoday จึงขอคำนวณจากกรอบระเบียบการขอการรับรอง ดังนี้

การขอการรับรองฮาลาล มีผู้รับผิดชอบ 2 ส่วน คือ คณะกรรมการฝ่ายกิจการฮาลาล ในจังหวัดที่มี คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ซึ่งมีจำนวน 40 จังหวัด (จังหวัดที่มีมัสยิด 3 แห่งขึ้นไป) ส่วนจังหวัดที่ไม่มีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด เป็นความรับผิดชอบของคณะกรรมการฝ่าบกิจการฮาลาล คณะกรรมการกลางแห่งประเทศไทย กรณีที่คณะกรรมการฝ่ายฮาลาลฯ เดินทางจากกรุงเทพฯไปตรวจ จะคิดค่าเดินทางด้วยต่างหาก

ตามระเบียบ การขอฮาลาล มีค่าใช้จ่ายคือ
การตรวจสอบโรงงานมี 3 ระดับ
ขนาดเล็ก จำนวน 15,000 บาท
ขนาดกลาง จำนวน 25,000 บาท
ขนาดใหญ่ จำนวน 35,000 บาท
มีค่าอบรมพนักงาน
มีที่ปรึกษารายเดือน กรณีที่โรงงานไม่มีซุปเปอร์ไวเซอร์ที่เป็นมุสาลิม เดือนละ 1,000 บาท ปีละ 12,000 บาท ใครเป็นพวกกรรมการฮาลาลฯ ก็จะได้แต่งตั้งเป็นที่ปรึกษา ใครไม่เป็นก็อด

การตรวจรับรองฮาลาล ไม่มีการรวบรวมไว้ชัดเจน เพราะแต่ละจังหวัดดำเนินการ แต่ทั่วประเทศประมาณว่า มีจำนวน 6,000-8,000 โรงงาน รวมทั้งไม่ได้แยกแยกไว้ชัดเจนว่า ขนาดโรงงานมรขนาดไหนบ้าง ถ้าประมาณการเฉลี่ย โรงงานขนาดกลาง จำนวน 6,000-8,000 โรงงาน รายได้ประมาณ 150 ล้านบาท

จำนวน 150-180 ล้านบาท กระจายอยู่ในทุกจังหวัด โดยจังหวัดที่มีการตรวจรับรองมากที่สุด มีสมุทรปราการ ปทุมธานี และกรุงเทพฯ ประมาณ 400-500 โรงงานต่อจังหวัด
เฉพาะ 3 จังหวัดนี้มีรายได้ มากกว่า 10 ล้านบาทต่อจังหวัด

นอกจากค่าธรรมเนียมตรวจโรงงานแล้ว ยังมีค่าเครื่องหมายฮาลาลขนมเปียกปูน กรณีที่โรงงานขอใช้ตราบนผลิตภัณฑ์ จะคิดค่าธรรมเนียม 500 บาท/1 ผลิตภัณฑ์ หากโรงงานใด ออกผลิตภัณฑ์ 100 ผลิตภัณฑ์ ก็จะต้องเสีย 50,000 บาท เงินจำนวนนี้ เข้าสู่คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย

ตามข้อมูลปัจจุบัน มีการขอตราฮาลาล จำนวน 150,000 ผลิตภัณฑ์ คิดเป็นค่าธรรมเนียม ประมาณ 75 ล้านบาท อยู่ในบัญชีของคณะกรรมการอิสลามแห่งประเทศไทย

นอกจากนี้ ยังมีการเรียกเก็บเงินจากการละเมิดการใช้เครื่องหมายฮาลาลขนมเปียกปูน ซึ่งไม่มีตัวเลขชัดเจน แต่เคยมีการตรวจสอบบริษัทขนาดใหญ่ ที่มีการละเมดลิขสิทธิ์ใช้ตราฮาลาล จำนวน 20 ล้านบาท หรือร้านเล็กร้านใหญ่ ที่หน้าร้านนำตราฮาลาลขนมเปียกปูนมาใช้ หากฝ่ายตรวจการของคณะกรรมการฯเห็น ก็จะถูกปรับ ตามจำนวนที่แล้วแต่การพิจารณา บางรายเจรจาแล้ว ไม่ต้องเสียเงินก็มี
ถ้าไม่จ่ายกรณี เป็นผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่ายในซุปเปอร์มาร็เก็ต ก็จะถูกสั่งให้นำลงจากชั้นวาง ส่วนใหญ่ไม่ต้องการมีปัญหาก็ยอมจ่าย เงินส่วนนี้ ไม่แน่ว่า เข้าบัญชีที่เปิดกัน 3 คนหรือไม่ และไม่ชัดเจนว่า แต่ละปีมีจำนวนเข้ามาเท่าไหร่

จุดนี้ จะมีปัญหามาก เพราะเอกชนบางราย ยื่นขอรับรองไม่ทัน หรือล่าช้า แต่สินค้าจากล็อตที่ขอรับรองยังวางบนชั้นวาง ก็ถูกตรวจสอบเช่นกัน บางรายมีการฟ้องร้องและคณะกรรมการกลางฯแพ้ก็มี

อย่างไรก็ตาม แม้การคิดค่าธรรมเนียม จะกำหนดระเบียบไว้ แต่ไม่มีบทลงโทษที่ชัดจน ทำให้บางกรณีมีการเรียกเก็บจำนวนมากกว่าที่กำหนดก็ไม่มีการดำเนินการอะไร ทำให้มีการร้องเรียนไปยังหน่วยงานรัฐ ทั้งถึงนายกรัฐมนตรี และน.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช.เกษตรและสหกรณ์ จนเป็นที่มาของข้อเสนอให้จัดตั้งเป็นองค์การมหาชนฮาลาลขึ้นมานั่นแหละ

เงินฮาลาลนำใช้อะไร
เป็นที่ทราบกันดี คณะกรรมการอิสลามฯ ไม่มีได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ได้รับเงินประจำตำแหน่ง 1,200 บาทต่อเดือน เงินจำนวนนี้ ถูกนำไปใช้เป็น
ค่าเบี้ยประชุมคณะกรรมการกลางฯ คนละประมาณ 20,000 บาท/เดือน ค่าเดินทาง ค่าที่พัก
ค่าเบี้ยประชุมคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ
ค่าเบี้ยประชุมคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ตัวเลขไม่ชัดเจน
ค่าใช้จ่ายสำนักงาน ค่าน้ำ ค่าไฟ เงินเดือนเจ้าหน้าที่
จ่ายเป็นสังคมสงเคราะห์ช่วยเหลือสังคม กรณีน้ำท่วม ไฟไหม้ เป็นต้น

หมายความว่า เงินค่าธรรมเนียมจากการตรวจรับรองฮาลาล ใช้หล่อเลี้ยงคณะกรรมการกลางอิสลามฯทั้งหมด ยกเว้นจุฬาราชมนตรีที่มีเงินประจำตำแหน่งจากกระทรวงวัฒนธรรม

จึงไม่ต้องแปลกใจว่า ทำไมเมื่อมีการเสนอจัดตั้งองค์การมหาชนฮาลาล จึงมีการตั้งคำถามจากองค์กรบริหาร เพราะเท่ากับไปตัดแขนขาของคณะกรรมการฯทั้งหมด

‘ว่าแต่คณะกรรมการอิสลามฯ มีประโยชน์อะไรต่อสังคมมุสลิมบ้าง’ บางคนก็ตั้งคำถามต่อท้าย