จบข่าว! สภาฯตีตกเสนอยกเลิกกม.การบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม5ฉบับ ระบุไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ

4083

ประธานรัฐสภา วินัจฉัยร่างกฎหมายที่สมาคมปกป้องพระพุทธศาสนาและคณะ เข้าชื่อยื่นต่อประะษนรัฐสภา ขอยกเลิกกฎหมายบริหารองค์กรศาสนาอิสลามและการบริหารกิจการพุทธศาสนา ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ไม่สามารถเสนอเป็นกฎหมายได้ 

วันที่ 26 มีนาคม .2564 ตามที่ น.ส.พาศิกา สุวจันทร์ นายกสมาคมปกป้องพระพุทธศาสนาและคณะ ได้เข้ายื่นหนังสือถึงนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ขอริเริ่มเสนอร่าง พ.ร.บ. จำนวน 5 ฉบับ พร้อมรายชื่อประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งเป็นผู้ริเริ่ม จำนวนไม่น้อยกว่า 20 คนนั้น

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยนางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้ทำหนังสือถึง น.ส.พาศิกา สุวจันทร์ แจ้งผลการวินิจฉัยหลักการร่างกฎหมาย 5 ฉบับ โดยในส่วนของ ร่างพระราชบัญญัติขอยกเลิกพระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจย์ พ.ศ….หนังสือระบุว่า ตามที่มีความประสงค์เสนอพระราชบัญญัติเพื่อยกเลิกพระราชบัญญัติ….นั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 133 ประกอบพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ.2556 ให้ประธานรัฐสภาวินิจฉัยหลักการของร่างพระราชบัญญัติที่เสนอว่า มีหลักการเป็นไปตามหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย และหมวด 5 หน้าที่ของรัฐหรือไม่ ก่อนที่จะจัดให้มีการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย

ประธานรัฐสภาได้วินิจฉัยแล้วว่า ร่างพระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจย์ …หลักการเป็นการยกเลิกกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมกิจการฮัจย์เพราะไม่มีความจำเป็นต้องออกกฎหมายเฉพาะบังคับใช้เงินงบประมาณแผ่นดินมาอำนวยความสะดวกให้แก่ชาวไทยมุสลิมที่เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ อันจะเป็นผลให้ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับใช้รองรับการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ของชาวไทยมุสลิมที่นับถือศาสนาอิสลาม หลักการดังกล่าวไม่เป็นไปตามมหวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย และหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ เนื่องจากรัฐต้องดูแลให้มีการปฏิบัติตามและบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ประชาชนมีเสรีภาพสมบูรณ์ในการนับถือศาสนาและเสรีภาพในการปฏิบัติหรือประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของตน ที่ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของปวงชนชาวไทย ไม่เป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และไม่ละเมิดสิธิเสรีภาพของบุคคลอื่น ดังนั้น การใช้สิทธิริเริ่มกฎหมายดังกล่าว จึงไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย -Mtoday

ส่วนร่างพ.ร.บ.ยกเลิกพ.ร.บ.อีก 4 ฉบับ เลขาธิการสภาผู้แทนฯ มีหนังสือแจ่งไปยังน.ส.พาศิกา ในลักษณะเดียวกับ ประกอบด้วย ร่าง พ.ร.บ. ยกเลิก พ.ร.บ. ธนาคารอิสลาม พ.ศ. 2545 ระบุว่า หลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ คือ หลักการเปลี่ยนสภาพความเป็นรัฐวิสาหกิจของธนาคารอิสลามฯ เป็นธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายธุรกิจสถาบันการเงินโดยมีมาตรการบังคับให้กระทรวงการคลังต้องขายหุ้นที่ถือครองภายใน 5 ปี ซึ่งหลักการดังกล่าง ไม่มีบทบัญญัติมาตราใดใน หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย และหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย ที่บัญญัติหลักการในเรื่องการลงทุนหรือการถือหุ้นของรัฐโดยกระทรวงการคลัง ดังนั้น การใช้สิทธิริเริ่มกฎหมายดังกล่าว จึงไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย -Mtoday

ร่าง พ.ร.บ. ยกเลิก พ.ร.บ. การบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2558 นั้น หลักการในพระราชบัญญัติคือ การยากเลิกพระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน ที่กำหนดหละกเกณฑ์และวิธีการจัดตั้งกำกับและบริหารทุนหมุนเวียน ซึ่งเป็นการบริหารจัดการและกำกับดูแลทึนหมุนเวียนของรัฐ ซึ่งหลักการดังกล่าง ไม่มีบทบัญญัติมาตราใดใน หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย และหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย ที่บัญญัติหลักการในเรื่องการลงทุนหรือการถือหุ้นของรัฐโดยกระทรวงการคลัง ดังนั้น การใช้สิทธิริเริ่มกฎหมายดังกล่าว จึงไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

ร่าง พ.ร.บ.ยกเลิกร่างพ.ร.บ. การบริหารองค์กรศาสนาอิสลามนั้น หลักการแห่งพระราชบัญญัติคือให้ยกเลิกคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด และโอนอำนาจ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หน้าที่ และภาระผูกพันของสำนักงานกอท. และสำนักงานกอจ. ไปเป็นของสำนักจุฬาราชมนตรี มีการกำหนดคุณสมบัติของอิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น กรรมการ และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิดใหม่ ซึ่งถือว่า เป็นการบริหารจัดการองค์กรภายในองค์กรศาสนาอิสลาม ซึ่งเป็นลักษณะกฎหมายที่รัฐได้บริการอุปถัมป์คุ้มครองศาสนา ซึ่งเป็นเรื่องตามมวด 6 แนวนโยบายแห่งรัฐ และการกำหนดหลักเกณฑ์การจัดตั้งมัสยิดในท้องที่หมู่บ้านหรือตำบล และการกำหนดให้มีการสอบและเผยแพร่ศาสนาต้องถูกต้องตามคัมภีร์อัลกุรอ่านฉบับภาษาไทยที่ผู้เชี่ยวชาญในพระคัมภีร์ได้จัดทำไว้เป็นฉบับกลางและให้กระทำการสอนและเผยแพร่ได้เฉพาะมัสยิดเท่านั้น มีลักษณะเป็นการให้มีกฎหมายที่ไปจำกัดเสรีภาพในการนับถือและปฏิบัติหรือประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเป็นเสรีภาพบริบูรณ์ ดังนั้น ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงไม่มีหลักการตาม หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย และหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย จึงไม่อาจเข้าชื่อเสนอกฎหมายตามมาตรา 133(3) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย -Mtoday

ร่าง พ.ร.บ. การบริหารจัดการกิจการพระพุทธศาสนาแห่งชาตินั้น หลักการแห่งร่างนั้น คือการเปลี่ยนแปลงการจัดการกิจการพระพุทธศาสนา ซึ่งหลักการดังกล่าวไม่มีในบทบัญญัติตาม หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย และหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทยที่บัญญัติหลักการในเรื่องการจัดการกิจการพระพุทธศาสนา ดังนั้น การใช้สิทธิริเริ่มเสนอกฎหมายจึงไม่เป็น ไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย-Mtoday

ทั้งนี้ ตามคำวินิจฉัยของประธานรัฐสภา ส่งผลให้การเสนอกฎหมาย 5 ฉบับ ที่ริเริ่มโดย น.ส.พาศิกา สุวจันทร์ นายกสมาคมปกป้องพระพุทธศาสนาและคณะ ต้องตกไป โดยเป็นที่น่าสังเกตุว่า ในรอบ 4-5 ปีที่ผ่าน สมาคมปกป้องพระพุทธศาสนาฯ ได้เคลื่อนไหวยื่นหนังสือเรียกร้องไปยังองค์กรต่างๆ อาทิ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ศาลยุติธรรม ให้ยกเลิกเครื่องหมายฮาลาล แต่องค์กรทั้งหมด ยกคำร้องหรือวินิจฉัยว่า ไม่สามารถดำเนินการได้-Mtoday

เพื่อพุทธรุ่งเรือง! ยื่น’ชวน’ ยกเลิกพรบ.บริหารกิจการอิสลาม-เสนอ พ.ร.บ.กิจการพุทธ