“สุพัฒนพงษ์” นำทีมศก. แจง เหตุจำเป็น ต้องออก พ.ร.ก.กู้เงิน5แสนล้านสู้โควิด

40

ทีมเศรษฐกิจรัฐบาลออกโรงแจง ออกพ.ร.ก.กู้เงิน 5 แสนล้าน สู้โควิดรอบใหม่ที่รุนแรงและลากยาวกว่าที่ประเมินไว้ โดยมีผลบังคับใช้แล้ว หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา ต้องกู้ภายใน 30 ก.ย.65

วันที่ 25 พ.ค.2564 นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พลังงาน กล่าวว่า การออก พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) กู้เงิน 5 แสนล้านบาท ได้มีผลประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เพื่อมาใช้ดูแลประชาชน ผู้ประกอบการรายย่อย การสร้างงาน รองรับความไม่แน่นอนอการระบาดของโควิด-19 ในนอนาคต การระบาดที่ทอดยาวไปอีก เราประมาทไม่ได้ เราเคยเชื่อว่าคุมได้ แล้วก็มีการะบาดใหม่ ต้องขอความช่วยเหลือจากประชาชนช่วยกัน “รัฐบาลยืนยัน ควบคุมโควิดได้ดี ไม่ได้ไดล็อกดาวน์ทั้งประเทศ การดำเนินการเศรษฐกิจในพื้นที่สีเขียวยังดำเนินการได้ปกติ คาดว่าจะคุมโควิดรอบใหม่ได้ในไตรมาส 2 นี้” นายสุพัฒนพงษ์ กล่าว และ ว่า การออก พ.ร.ก.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท ไม่ได้เป็น 7 แสนล้านบาท คิดว่าเพียงพอในการดูแลผลกระทบจากโควิดรอบใหม่ ที่จะมีวัคซีนเข้ามาควบคุมการระบาดได้ดีนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง กล่าวว่า พ.ร.ก.กู้เงินแก้ปัญหาโควิด-19 ฉบับที่ 2 จำนวน 5 แสนล้านบาท ลงประกาศราชกิจนุเบกษามีผลบังคับใช้แล้วในวันนี้ ต้องกู้ภายใน 30 ก.ย. 2565 ใช้จ่ายตามแผนงาน 3 แผนงาน ได้แก่ สาธารณสุข 3 หมื่นล้านบาท ด้านเยียวยา 3 แสนล้านบาท และฟื้นฟูเศรษฐกิจ 1.7 แสนล้านบาท ปรับการใช้เงินทั้ง 3 แผนงานได้ตามความจำเป็น การออก พ.ร.ก. เพราะมีการระบาดโควิด-19 รอบใหม่รวดเร็ววงกว้าง ทำให้กระทบการขยายตัวทางเศรษฐกิจ รัฐบาลต้องเตรียมเงินเพิ่มเติมรองรับผลกระทบที่เกิดขึ้น โดย สศช. คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ 1.5-2.5% ซึ่งเป็นการประการณ์ลดลงจากเดิม

“การออก พ.ร.ก.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท ถือว่าเหมาะสม ทำให้เศรษฐกิจไทย 2564-2565 ขยายตัวเพิ่มขึ้นได้ 1.5% จากที่ประมาณการไว้เดิม เหมือนปี 2563 ที่คาดว่าติดลบ 8% ก็ติดลบจริงๆ 6% เนื่องจากการออกพ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท ฉบับแรก มาเยียวยาเศรษฐกิจ” นายอาคม กล่าว และว่า สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ประเมินว่า หนี้สาธารณะเดือนก.ย. 2564 อยู่ที่ 58.64% อยู่ในกรอบไม่เกิน 60% ของจีดีพี