“ชวน”ยัน!!สภาฯพร้อม ถกร่าง พ.ร.บ.65 เตรียมโพเดียม ให้อภิปรายป้องโควิด

38

ประธานสภาฯ ย้ำ ที่ประชุมสภาฯ เตรียมพร้อม อภิปราย ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย 2565 โดยจะตั้งแท่นโพเดียมให้อภิปรายอย่างเต็มที่

เมื่อเวลา 07.50 น. วันที่ 31 พฤษภาคม ที่รัฐสภา นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ย้ำถึงความพร้อมในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2565 ระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม-2 มิถุนายน ว่า มีความพร้อม โดยวันที่ 31 พฤษภาคม จะอภิปรายตั้งแต่เวลา 09.30 น.-01.00 น. ส่วนวันถัดไปเริ่มอภิปรายในเวลา 09.00 น. สำหรับจุดที่จะให้ผู้อภิปรายใช้นั้นก็ได้เตรียมโพเดียมแท่นอภิปรายไว้จุดหนึ่งแล้ว เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดในสถานการณ์โควิด-19

ทั้งนี้ การพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 ที่จะเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร ในวาระแรก พรรคฝ่ายค้านหมายมั่นปั้นมือจะอภิปรายชี้ให้เห็นถึงการจัดทำงบประมาณของในหลายกระทรวงของรัฐไม่ไม่เหมาะสม และไม่สอดคล้องกับการแก้ปัญหาการระบาดโควิด-19 ทั้งส่อว่าอาจอาศัยสถานการณ์สร้างความได้เปรียบทางการเมือง โดยมีรายงานข่าวเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ระบุว่า จากการตรวจสอบในเล่มร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปกขาวคาดแดง กลับไม่พบการจัดสรรงบประมาณจัดซื้อวัคซีนป้องกันโควิดของกระทรวงสาธารณสุขแต่อย่างใด

ทั้งที่ตั้งแต่ต้นปี 2564 กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค เสนอจัดหาวัคซีนสำหรับประชาชนด้วยงบประมาณ 12,219,6210.600 บาท แต่กลับไม่ได้รับการบรรจุในร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ 2565 แต่อย่างใด โดยสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ สั่งให้ตัดออกทั้งก้อน อ้างว่าให้ไปใช้งบกลางเพื่อการสำรองจ่ายในกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นที่อยู่ในความรับผิดชอบของนายกรัฐมนตรี หรืองบประมาณจากเงินกู้ แทนที่จะให้กระทรวงสาธารณสุขจัดการงบประมาณเพื่อควบคุมโควิดตามที่ควรจะเป็น

รายงานข่าวแจ้งว่า เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่าการตัดสินใจทำงบประมาณของประเทศ ไม่สะท้อนถึงปัญหาและความต้องการของประชาชน ที่ต้องการฉีดวัคซีนจำนวนมากและโดยเร็ว แต่กลับต้องการให้ทำเนียบรัฐบาลคุมการใช้งบประมาณจัดซื้อวัคซีน นอกจากนั้นยังแสดงให้เห็นถึงการรวบอำนาจของ ศบค. ซึ่งกำลังถูกวิจารณ์อย่างหนักว่าเปลี่ยนนโยบายรายวันเกี่ยวกับการฉีดวัคซีน

รายงานข่าวแจ้งว่า ไม่เฉพาะแต่เรื่องการจัดทำงบประมาณประจำปี 2565 เท่านั้นที่ใช้สภาพัฒน์เป็นหนึ่งในหัวเรือใหญ่ในกรอบความคิดที่ให้ความสำคัญกับการสาธารณสุขต่ำ การกู้เงินตาม พ.ร.ก.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท ก็มีการกำหนดวงเงินให้กระทรวงสาธารณสุขแค่ 3 หมื่นล้านบาท โดยไม่เคยปรึกษาหารือกับกระทรวงสาธารณสุขแต่อย่างใดทั้งสิ้น ทั้งที่ปัญหาการสาธารณสุข จากการระบาดของโควิดเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องจัดการแก้ไข แต่กลับกระจายเงินไปใช้ในการอื่น เช่น นำงบไปให้เกษตรกรเลี้ยงปลาทั้งที่ควรจะไปใส่ในงบ