มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ผนึกกำลัง คัดค้าน การขยายสัมปานรถไฟฟ้าสายสีเขียว

67

สส.ภท. ศรีษะเกษ “สิริพงศ์” แย้ม คมนาคม เตรียม “วอล์คเอาท์” หากวาระขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว เข้า ครม.ทำคลอด ลั่น จะยื่นฟ้องศาล ทันที ขณะที่ เวทีเสวนา ค้าน! ลักไก่ ต่อสัมปทาน BTS 30 ปี แลก ยกหนี้! แนะ! ตั้งคณะทำงานพิจารณาหาทางออก

วันที่ 31 พ.ค. 2564 เวลา 13.30 น. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และ สภาองค์กรของผู้บริโภค จัดเสวนา ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ด้วยโปรแกรม “Zoom” คัดค้าน การต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ที่จะถูกบรรจุเป็นวาระเร่งด่วนให้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาให้ความเห็นชอบใ นการประชุม วันอังคารที่ 1 มิ.ย.ที่จะถึงนี้ ระบุ หากมติ ครม. ยืนยันเก็บ 65 บาท รัฐบาลก็ไม่ควรเป็นรัฐบาล เพราะไม่ได้รักษาผลประโยชน์ให้ประชาชน โดยมี น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ส.ส. จ.ศรีสะเกษ เขต 1 พรรคภูมิใจไทย (ภท.) ดร.สุเมธ องกิตติกุล ผอ.วิจัยนโยบายด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ ของ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) รศ.ดร.ชาลี เจริญลาภนพรัตน์ อ.ประจำสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร ม.ธรรมศาสตร์ และ นายคงศักดิ์ ชื่นไกรลาศ ผู้ประสานงานโครงการขนส่งมวลชน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมการเสวนา

น.ส.สารี อ๋องสมหวัง กล่าวว่า ตกใจและผิดหวังที่จะนำเรื่องการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว บรรจุเข้าเป็นวาระเร่งด่วนให้ ครม.พิจารณา ดังนั้น สิ่งที่อยากเห็นในมติ ครม.จะเป็นประโยชน์กับผู้บริโภค โดยเฉพาะเรื่องราคา ค่าโดยสาร ต้องต่ำกว่า 44 บาท เพราะเป็นการต่อสัญญาล่วงหน้า และ ยืนยันว่าแม้จะเป็น 25 บาท กทม.ก็ยังมีกำไรถึง 23,200 ล้านบาท อีกทั้งหวังว่า จะมีการชะลอการต่อสัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียว และตั้งคณะทำงานที่มาจากทุกภาคส่วน พิจารณาแก้ปัญหา เพื่อหาทางออกร่วมกัน และหากพรุ่งนี้ มติ ครม. ยืนยันจะเก็บราคาค่าโดยสาร 65 ไป-กลับ 130 บาท หรือ 40% ของค่าแรงขั้นต่ำ รัฐบาลก็ไม่ควรเป็นรัฐบาล เพราะไม่ได้รักษาผลประโยชน์ให้ประชาชน ซึ่งรัฐบาลมีหน้าที่รักษาประโยชน์ไม่ได้มีหน้าที่สร้างภาระให้กับประชาชนไปอีก 38 ปี

นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ กล่าวว่า ในส่วน ของ กระทรวงคมนาคม ที่พรรคภท.ดูแลก็ไม่เห็นด้วยกับการนำเรื่องนี้ เข้า ครม. และได้ยื่นหนังสือคัดค้าน ถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีแล้ว ส่วนกรณีความครบถ้วนของสัญญาสัมปทาน. และ เหตุใด กทม.ไม่สามารถชำระหนี้ได้ จึงโอนหนี้ไปให้เอกชน สามารถโอนหนี้ได้หรือไม่ รวมถึงประเด็นข้อกฎหมายที่ กทม. ไปตั้ง บริษัท กรุงเทพธนาคม และจ้างบริษัทอื่นเดินรถ เป็นการหลบเลี่ยงทางกฎหมายหรือไม่ ทั้งนี้ หากจะมีการบรรจุเข้าเป็นวาระเร่งด่วนให้ครม.พิจารณาให้ความเห็นชอบ กระทรวงคมนาคม จะไม่เข้าร่วมการพิจารณาใดๆทั้งสิ้น และ ในส่วนตนเอง อาจยื่นฟ้องศาลปกครองอีกครั้ง

ดร.สุเมธ องกิตติกุล กล่าวว่า รู้สึกผิดหวังที่จะมีการนำเรื่องต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวบรรจุเข้าเป็นวาระเร่งด่วน ทั้งที่ไม่มีเปิดเผยรายละเอียด รวมทั้งกรณีจะแก้ไขสัญญา รียกเก็บค่าโดยสาร 65 บาท ตลอดสาย โดยไม่พิจารณาทางเลือกอื่นๆมาเปรียบเทียบ แต่ยังเอาเรื่องเดิมๆ ร่างสัญญาสัมปทานเดิม ที่ไม่เปิดเผยรายละเอียด รวมถึงค่าโดยสาร 65 บาท โดยไม่มีที่มาที่ไป บรรจุวาระเร่งด่วนใน ครม. ซึ่งในมุมมองตน อยากเห็นรถไฟฟ้าของ กทม.เป็นระบบเดียวกันเหมือนกับประเทศอื่นๆ เพราะที่ผ่านมารัฐบาลคือ กระทรวงคมนาคม และ กทม. พัฒนาโครงการแยกกันคนละโครงข่าย ทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย ส่งผลให้ค่าโดยสารสูงขึ้น

ด้าน รศ.ดร.ชาลี เจริญลาภนพรัตน์ ยืนยันไม่เห็นด้วยที่จะต่อสัญญาสัมปทานไป 30 ปี และเรียกเก็บค่าโดยสาร 65 บาทตลอดสาย เพราะต้นทุนจริง เพียง 13 บาทต่อเที่ยวเท่านั้น ดังนั้น เมื่อหมดสัญญาสัมปทาน การเก็บต่าโดยสาร 25 บาท จึงมีความเป็นไปได้ เพราะไม่มีเรื่องโครงสร้างต้นทุน นอกจากนี้ บีทีเอส ยังมีรายได้อื่นๆ เช่น โฆษณาจากทุกช่องทาง อีกทั้ง ตั้งข้อสังเกตว่าทำไมจึงเร่งรีบนำเข้า ครม. ในช่วงที่คนกำลังให้ความสนใจเรื่องวัคซีนโควิด-19

นายคงศักดิ์ ชื่นไกรลาศ กล่าวว่า มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้ออกมาเรียกร้องเรื่องอัตราค่าโดยสารที่มีราคาแพง จึงขอให้เก็บ 25 บาทตลอดสาย และชะลอการต่อสัญญาสัมปทานไป ก่อนไม่ต้องเร่งรีบ เพราะยังเหลือเวลาอีก 8 ปี จึงจะหมดสัญญา ทั้งนี้ อยากให้มีการตั้่งคณะทำงานร่วมกันเอาข้อมูลที่ถูกต้องเป็นประโยชน์กับผู้บริโภคมาหารือกัน

“เมื่อเดือน เมษายน นายกรัฐมนตรีเคยออกมาพูดเรื่องรถไฟฟ้า ว่า ต้องคำนึงถึงเดือดร้อนของประชาชน ซึ่งถือว่าเป็นคำมั่นสัญญา หากพรุ่งนี้ ครม.มีมติออกมาว่า ต่อสัญญาสัมปทาน ก็คงจะต้องร่วมกับทาง ส.ส.สิริพงศ์ ว่าเราจะไปฟ้องศาลปกครองและเราก็จะหยุดเรื่องนี้ และเดินหน้าฟ้องศาลปกครองแน่นอน” นายคงศักดิ์ กล่าว