“หมอเพชรดาว”ติง!! สภาพัฒน์ฯ บริหารล้มเหลว แนะ ตั้ง คณะกก. ติดตาม พรก.เงินกู้ฯ

46

“เพชรดาว โต๊ะมีนา” ติง ! สภาพัฒน์ บริหารงบเงินกู้ ล้มเหลว แนะ ตั้ง คณะกรรมการวิสามัญติดตาม พ.ร.ก.เงินกู้ 5 แสนล้าน ตามกรอบ ข้อเสนอแนะจากการอภิปรายฯของ สส.ใน สภาผู้แทนราษฎร

วันที่ 9 มิ.ย. 2564 พญ.เพชรดาว โต๊ะมีนา ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย (ภท.) อภิปราย ระหว่างการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.ก. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 แนะให้ตั้งคณะกรรมการวิสามัญ พ.ร.กเงินกู้ 5 แสนล้าน รวบรวมข้อสังเกตจากการอภิปรายมาแก้ปัญหาอย่างตรงจุด วางแผนรอบคอบ ไม่ได้เกิดความผิดพลาดซ้ำ

โดยกล่าว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการกู้เงินในช่วงสภาวะวิกฤตเช่นนี้ แต่ด้วยความห่วงใย ก่อนหน้านี้ พรรคภูมิใจไทย เคยเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ ติดตามตรวจสอบการใช้เงินกู้ 1.1 ล้านล้านบาท ทั้ง 3 ฉบับ เพื่อแก้ปัญหา เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจ และสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ตนได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาด้านสาธารณสุขของสหภาพรัฐสภา หรือ IPU ได้มีโอกาสในการประชุม ถึงวิกฤตโควิด19 กับสมาชิกสหภาพรัฐสภา จากหลากหลายประเทศ ได้มองเห็นถึงความเหลื่อมล้ำ ทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้ มีความต้องการอยากทราบถึง พ.ร.ก.เงินกู้ 1.1 ล้านล้านบาท สธ.ได้ 45,000 ล้านบาท และ ครั้งนี้ พ.ร.ก.เงินกู้ 5แสนล้านบาท สธ.ได้ 30,000 ล้านบาท เอาฐานการคิดมาจากไหน มีการเอาผลการดำเนินงานที่ผ่านมา สรุป ปัญหาอุปสรรค หรือไม่ บทบาทของสภาพัฒน์ฯ คือ การกำหนดกรอบทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ ให้สอดคล้องตามสภาพเศรษฐกิจและสังคม ทั้งของประเทศและโลก แต่ สภาพัฒน์ ไม่มีความเชี่ยวชาญทางด้านสาธารณสุข ไม่มีการแก้ไขที่ต้นเหตุ

“พ.ร.ก.เงินกู้ 1.1 ล้านล้านบาท สภาพัฒน์ฯ ได้ชะลอโครงการค่าตอบแทนเยียวยา ชดเชยและเสี่ยงภัย สำหรับการปฏิบัติงานของ อสม. เป็นเวลา 3 เดือน แต่ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี และนายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงนายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้มีการคัดค้าน จึงได้มีการอนุมัติต่อมาในที่สุด” พญ.เพชรดาว กล่าวและว่า

การร้องเรียนของชมรมสาธารณสุขทวงถามเรื่องค่าเสี่ยงภัยให้แพทย์และพยาบาล ปี 2563 ราว7 เดือน แล้วยังไม่ได้รับ อีกทั้งค่าเสี่ยงภัยขั้นเงินเดือนโควิด 1% คำจำกัดความเรื่องการกลั่นกรอง การอยู่เวรยังไม่ชัดเจน ต้องเบิกเงินบำรุง รพ.สต. ซึ่งมีอย่างจำกัดอยู่แล้ว ทางสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ทำหนังสือถึงผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ไปแล้ว 2 รอบ รวมถึงงบประมาณปกติ และงบประมาณเงินกู้ ฉบับนี้ ไม่มีการจัดสรรงบประมาณให้กับโรงพยาบาลระดับจังหวัด ชุมชน รพ.สต. ในการจัดสร้างห้องฉุกเกฉินแยกโรคติดเชื้อทางอากาศแรงความดันลบ

“ดังนั้นจึงขอให้ตั้งคณะกรรมการวิสามัญพ.ร.กเงินกู้ 5 แสนล้าน โดยรวบรวมข้อสังเกตจากการอภิปรายทั้งหมดมาติดตามงบประมาณแก้ปัญหาอย่างตรงจุด วางแผนรอบคอบ ไม่ให้เกิดความผิดพลาดซ้ำอีกต่อไป” พญ.เพชรดาว กล่าว