“ดีป้า”เดินเครื่องสร้างธุรกิจดิจิติล 500,000 ราย ส่งทีมลุยทั่วประเทศเทรนด์ผู้ประกอบการสู่ออนไลน์

221

“ดีป้า” เดินเครื่องสร้างคนพันธุ์ดิจิทั5 แสนราย ด้วย Channel Management System ระบบเชื่อมต่อตลาดอิเล็กทรอนิกส์  อัพสินค้าขายผ่านตลาดดอทคอม และเอไอเอส  เสริมแกร่ง “SMEs – วิสาหกิจชุมชน – OTOP” แข่งขันในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล  มั่นใจพลิกโฉมชุมชนสู่ “ดิจิทัล คอมมิวนิตี้” ด้าน “ผู้ประกอบการ” ยิ้มรับ ออนไลน์เปลี่ยนชีวิต-สร้างโอกาส

 เมื่อวันพุธที่ 5 เมษายน 2560 เวลา 14.00 น. ที่ โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า)  พร้อมด้วยนายพงษ์ศักดิ์ ตันวิสุทธิ์  vp-network quality management (AIS) นายนพทัต บุณยเกียรติ รองประธานกรรมการเครือข่ายธุรกิBiz clubประเทศไทย นางฐะปะนีย์ อัมรินทร์รัตน์  ผู้จัดการฝ่ายตลาดขนส่ง ไปรษณีย์ไทย และนายภาวุธ พงษ์วิทยภานุ  กรรมการผู้จัดการตลาด ดอท คอม จำกัด  ร่วมแถลงข่าวการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล พร้อมเปิดตัวระบบChannel Management System (CMS) และแอปพลิชัน Thailand I Love U  และร่วมรับฟังการเสวนาในหัวข้อ “การผลักดันให้ผู้ประกอบการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในยุคการแข่งขันเศรษฐกิจดิจิทัล

ดร.ณัฐพล  กล่าวว่า  ดีป้าได้มีเป้าหมายส่งเสริม SMEs พันธุ์ใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ Thailand 4.และตอบสนองนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลของรัฐบาล ซึ่งโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลมีเป้าหมายมุ่งเน้นให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน SMEs และ OTOP สามารถเข้าถึงและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการค้าออนไลน์ โดยผ่านระบบและแอปพลิเคชันที่ดีป้าได้พัฒนาขึ้น ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ           ใช้ประโยชน์จากดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ โครงการนี้นำร่องในพื้นที่ 10 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำปาง น่าน สกลนคร ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา ภูเก็ต นครศรีธรรมราช และ   สุราษฎร์ธานี โดยมีการฝึกอบรมวิทยากรอาสา (Agent) จำนวน 400 คนในพื้นที่ 10จังหวัดนำร่อง เพื่อกระจายอบรมผู้ประกอบการในพื้นที่ 10 จังหวัดนำร่อง จังหวัดละ 400 ราย รวม 4,000 ราย ถือเป็นการส่งเสริมกลุ่มการเรียนรู้ในท้องถิ่นตนเอง และการสร้างสังคมดิจิทัลคอมมิวนิตี้ในระดับชุมชน เพราะมีการใช้วิทยากรอาสา 400 คน กลับไปเผยแพร่ความรู้ให้กับชุมชนของตนเอง ทำให้องค์ความรู้เกิดความยั่งยืน        

“ดีป้าตั้งเป้าสร้างบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญจำนวน 4,400 ราย จากเป้าหมาย 5 แสนรายที่จะสร้างใน 20 ปี กลุ่มคน 4 ,400 คนจะเป็นกลุ่มนำร่องในการพัฒนาอุตสาหกรรมดิจิทัล นอกจากนี้ดีป้าจะส่งเสริมผู้ประกอบการต่างประเทศให้เข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทยเพิ่มขึ้นและง่ายขึ้น”นายณัฐพล กล่าวและว่า  การค้าบนโลกออนไลน์สิ่งสำคัญคือ สินค้าต้องมีความปลอดภัยและมีคุณภาพ ผู้ประกอบการต้องมีระเบียบวินัยจึงจะทำให้การค้ามีความยั่งยืน  ทั้งนี้มีการตั้งเป้าจะมียอดสั่งซื้อในระบบประมาณ  200 ล้านบาท

ทั้งนี้  การอบรมจะเริ่มตั้งแต่พื้นฐานเบื้องต้นการใช้อินเตอร์เน็ตและโซเชียลมีเดีย และการใช้เทคโนโลยีเพื่อการค้าขายออนไลน์ผ่านระบบและแอปพลิเคชัน ที่ประกอบไปด้วย ระบบChannel Management System (CMS) เป็นระบบศูนย์กลางการเชื่อมต่อตลาดอิเล็กทรอนิกส์ ช่วยทำให้ผู้ประกอบการสามารถลงสินค้าขายบน E Market Place ที่เชื่อมต่อกับระบบ CMS ทำให้การค้าขายออนไลน์สะดวกและง่ายขึ้น ซึ่งตอนนี้ได้มีผู้ให้บริการ E Market Place ที่เข้าร่วมเชื่อมต่อระบบ CMS แล้ว 2 ราย คือ TARAD.com และ ฟาร์มสุข ของAIS รวมถึงระบบ Enterprise Resource Planning หรือ ERP       เป็นระบบบริหารคลังสินค้า เชื่อมโยงกระบวนการทางธุรกิจทุกขั้นตอนเพื่อผลกำไรสูงสุด M Account เป็นระบบบัญชีเบื้องต้นใช้งานง่าย และสามารถใช้ได้บน Smart phone โดยสามารถเข้าใช้งานได้ฟรีผ่าน http://maccount.com/mAccount/login/auth     

 นางเนาวรัตน์ ธรรมกิจวัฒนำ ผู้ประกอบการจังหวัดภูเก็ตที่เข้าร่วมอบรมในโครงการ กล่าว่า ที่ผ่านมา ทำการค้าขายแบบออฟไลน์มาโดยตลอด และเห็นว่าเรื่องออนไลน์เป็นเรื่องไกลตัว ไม่เคยคาดหวังว่าจะขายออนไลน์ได้ ซึ่งต้องขอขอบคุณดีป้าที่มีโครงการนี้ขึ้นมา ทำให้เปลี่ยนชีวิตและเห็นโอกาสว่า การขายออนไลน์เป็นเรื่องใกล้ตัวมาก และเป็นเรื่องที่สามารถค่อยๆ เรียนรู้ได้

นอกจากนี้ ดีป้าได้สร้างแอปพลิเคชัน THAILAND I Love U เป็นแอปพลิเคชันเพื่อการท่องเที่ยว ที่มีการรวบรวมสถานที่และเส้นทางที่สำคัญในแต่ละจังหวัด พร้อมข้อมูลสินค้าและบริการ ที่ทำการปักหมุดไว้บนแผนที่ดิจิทัลกว่า 50,000 จุด ใน 10 จังหวัดนำร่องที่ครอบคลุมโรงแรม ร้านอาหาร ร้านค้า แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และสถานที่สำคัญไว้  แอปพลิเคชัน THAILAND I Love U จะเป็นช่องทางประชาสัมพันธ์ และขยายช่องทางการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศให้แก่ผู้ประกอบการได้อีกด้วย   THAILAND I Love U จะเชื่อมโยงข้อมูลสินค้าและบริการไปยังระบบซื้อขาย โดยจะมีเครื่องมือ  ที่มีชื่อว่า Story tellingเป็นกลยุทธ์ในการสร้างมูลค่าให้แก่สินค้า โดยสร้าง Template Website เชื่อมต่อกับระบบTHAILAND I Love U ทำให้ผู้ประกอบการสามารถ บอกเล่าเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และการบริการ เพื่อดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวได้มากขึ้น โดย Story tellingประกอบด้วย 4 รูปแบบหลัก ๆ ได้แก่ การเล่าเรื่องสินค้าเชิงวิถีชุมชน การเล่าเรื่องสินค้าเชิงประวัติความเป็นมา การเล่าเรื่องสินค้าเชิงความยอดเยี่ยม       ของฟังก์ชันการทำงาน และการเล่าเรื่องสินค้าเชิงสาธิตวิธีการ ซึ่ง     แอปพลิเคชันนี้ได้พัฒนามาจาก Chiangmai I Love Uรองรับระบบ iOS   และ Android   ผู้ใช้งานทั่วไปและนักท่องเที่ยว สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันมาใช้งาน เพื่อประโยชน์ในการเดินทาง และการออกแบบ     ทริปท่องเที่ยวได้อีกด้วย โดยแอปพลิชัน THAILAND I Love U จะเปิดให้ดาวน์โหลดใช้งานอย่างเป็นทางการทั้งในระบบ iOS และ Android ในวันที่  20 เมษายนนี้ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่www.thailandiloveyou.com

ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ
ฝ่ายมาตรการส่งเสริม สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทั
อีเมล์ bpd@depa.or.th เบอร์โทรศัพท์ 021417165 และ 021417199
ธนัตสวัลลภ์ (ก้อย) 094 515 9269