ทำไมต้องอิสฟาฮาน? อิสฟาฮานคือครึ่งหนึ่งของโลก

40
ถ้าคุณเป็นผู้ติดตามเรื่องการท่องเที่ยวแถบตะวันออกกลางและเปอร์เซีย คุณอาจจะเคยได้ยินคำขวัญภาษาฟารซีที่กล่าวว่า “เอสฟาฮาน เนสเฟ จาฮอน”… “อิสฟาฮานคือครึ่งหนึ่งของโลก” มันเป็นคำบรรยายที่มีเสน่ห์ที่เป็นลักษณะพิเศษที่ทำให้มองเห็นภาพความนับถือ ตัวเองอย่างเหลือล้นของชาวเปอร์เซีย ดังนั้น จึงไม่น่าประหลาดใจเลยที่ชาวอิสฟาฮานจะมีความภาคภูมิใจอย่างยิ่งกับเมืองและวัฒนธรรมของพวกเขา
ปัจจุบัน อิสฟาฮานเป็นเมืองใหญ่ที่สุดอันดับสามของอิหร่าน มีประชากรมากถึงสองล้านคน แก่นแท้ของมันคือเพชรเลอค่าของศิลปะอิสลาม สถาปัตยกรรมและการวางแผน และเนื้อหาของวัฒนธรรมเปอร์เซีย ที่ได้รับการรับรองจากยูเนสโก้ให้เป็นมรดกโลก กระเบื้องสีน้ำเงินเทอร์คอยส์ที่สวยงามจากมรดกของราชวงศ์เซลจุคและซาฟาวิด มาจนถึงสะพานสง่างามข้ามแม่น้ำซายันเดห์ ไปยังจัตุรัสอิมาม (Imam Square) อันตระการตา ทำให้เราหลงรักอิสฟาฮาน และตกเป็นทาสความงามของมันได้อย่างง่ายดาย

แม่น้ำซายันเดห์ รูด(แม่น้ำ) ที่ทอดผ่านอิสฟาฮานถูกประดับประดาด้วยสะพานหลายแห่ง ที่เก่าแก่ที่สุดคือสะพานชาห์เรสตาน(Shahrestan) จากศตวรรษที่ 12 ที่ทอดตัวไปทางตะวันออก เราได้เห็นสะพาน ซี-โอ-เซห์ โพล(Si-o-Seh Pol) หรือสะพาน 33 ซุ้มประตู สะพานชูบิ(Chubi) และสะพานคาจู(Khaju) สะพานเหล่านี้น่าจะมองเห็นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เพราะแสงไฟฉายให้เห็นอิฐและซุ้มประตูที่เป็นระเบียบน่าชมของสะพานเหล่านี้ ข้างบนและเบื้องล่างของสะพานในสวนสาธารณะข้างทาง ชาวอิสฟาฮานเป็นกลุ่มๆ กำลังมีความสุขกับการปิกนิกหรือเดินเล่นท่ามกลางอากาศยามเย็นที่สดชื่นของ ฤดูใบไม้ร่วง
สถาปัตยกรรม ของอิสฟาฮานก็เป็นอีกอย่างหนึ่งที่น่าตื่นตาตื่นใจ และมัสญิดที่มีอยู่มากมายก็เปิดโอกาสให้แก่ความน่าตื่นตาเช่นนั้น ไม่ต้องสงสัยเลยว่า หนึ่งในมัสญิดที่สวยที่สุดในโลก มัสญิดอิมาม มั่งคั่งไปด้วยกระเบื้องเคลือบดินเผาสีน้ำเงินหลากหลายและสัดส่วนที่งดงาม อย่างน่าทึ่ง บางคนอาจใช้เวลาอยู่ที่มัสญิดหลังนี้ได้เป็นชั่วโมงๆ เพื่ออ่านตัวอักษรที่ประดับประดา และดื่มด่ำกับกระเบื้องเคลือบดินเผาเหล่านี้ จากรูปทรงเรขาคณิตไปจนถึงลักษณะแบบอาหรับที่อยู่ในพื้นผิวสีน้ำเงินของ ท้องฟ้าที่ร่มเย็นเหล่านี้ ขีดคั่นเล็กน้อยด้วยสีเหลือจากกระเบื้อง เมื่อผ่านประตูทางเข้าเข้าไปแล้ว คุณจะพบว่าบริเวณมัสญิดทั้งหมดหันไปทางขวา เพราะตามปกติแล้วทิศทางของมัสญิดนั้นหันไปทางมักกะฮ์ ประตูใหญ่ด้านหน้าที่สง่างามด้วยหินย้อยนี้เริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ.1611 และใช้เวลาอีก 18 ปี ก่อนที่ส่วนอื่นทั้งหมดของมัสญิดจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์
ผ่าน ไปทางด้านใต้ เราเข้าไปยังห้องโถงหลัก เป็นพื้นที่กว้างใหญ่ที่มีเพดานสองชั้นบนโดม โดยเพดานด้านในวัดตามแนวเฉียงได้ 36.3 เมตร และหลังคาด้านนอกสูงถึง 51 เมตรลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งของช่องว่างนี้คือเสียงสะท้อน มัคคุเทศก์ของเราสาธิตให้ดูด้วยการเคาะหินสีน้ำที่ตั้งอยู่ตรงกลางห้อง เรานับเสียงสะท้อนได้ประมาณ 12 ครั้ง แต่ปรากฏว่าสามารถวัดได้มากกว่านั้นด้วยเครื่องมือที่ถูกต้อง
มิฮ์รอบที่เว้าเข้าไปมีหน้าต่างเล็กๆ ลึกลับข้างบน ตอนนี้ถูกปิดไว้ เหตุผลคือ ด้วยจัตุรัสที่มีมุมแตกต่างจากมัสญิด จึงมีความกังวลว่าจะเกิดความคลาดเคลื่อนของทิศกิบลัตที่ถูกต้อง สถาปนิคฝันว่า เปิดหน้าต่างข้างบนมิฮ์รอบแล้วจะเห็นกิบลัตได้
ด้วยที่ตั้งใจกลางเมืองอิสฟาฮานเคียงข้างกับเชฮาร์ บัค(Chehar Bagh) อัญมณีทางสถาปัตยกรรมและการแตกต่างของโรงแรมแห่งนี้เป็นจุดหมายปลายทางของ ตัวมันเอง ด้วยสิ่งที่พึงพอใจของโรงแรมระดับโลก รวมทั้งพิพิธภัณฑ์อัลกุรอาน ตรงกลางคือลานที่เต็มไปด้วยดอกไม้ ต้นพลับและต้นควินซ์ และสระน้ำกับน้ำพุ เรานั่งพักในโอเอซิสแห่งนี้ มองดูโดมสีน้ำเงินเทอร์คอยส์ของมัสญิดเมเดอร์-อี ชา(Mader-e Shah) และฟังเสียงน้ำพุ อากาศเย็นยามค่ำคืนของฤดูใบไม้ร่วงไม่ได้ขัดขวางนักท่องเที่ยว ทั้งชาวอิหร่านและชาวต่างชาติ จากการทานอาหารค่ำกลางแจ้งในลานแห่งนี้ และค่ำวันหนึ่งเราทานอาหารค่ำน่าจดจำด้วย “อาช”(Aash) ซุปโบราณที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ภายใต้ดวงดาว
จัตุรัส เมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในโลก (รองจากเทียนอันเหมินในจีน) จัตุรัสอิมามแห่งนี้ครั้งหนึ่งเคยมีชื่อเรียกว่า นักชี จาฮาน หรือ “แผนที่โลก” และต่อมาชื่อ จัตุรัสชาห์ จัตุรัสรูปทรงสี่เปลี่ยมที่งดงามแห่งนี้ หรือมัยดาน เป็นที่เดินสวนสนามให้เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ได้ชมจากระเบียงพระราชวังอาลี กอปู(Ali Qapu) ปัจจุบันนี้ถูกปรับเป็นสวนหย่อมที่มีการติดตั้งสระน้ำและน้ำพุมากมายในภาย หลังโดยปาห์เลวี และเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของหลายครอบครัว ซึ่งบางคนอาจนั่งรถม้าที่รอผู้มาอุดหนุนเพื่อชื่นชมบรรยากาศที่มีกลิ่นของ ม้า
ทิวทัศน์ จากระเบียงของพระราชวังอาลี กอปู แห่งศตวรรษที่ 16 แห่งนี้งดงามอลังการ ซึ่งไม่เป็นที่สงสัยเลยว่าชาห์ อับบาสที่ 1 คิดอะไรในใจเมื่อครั้งที่เขาสร้างพระราชวังแห่งนี้ขึ้น ด้วยการตั้งชื่อของอิมามอาลี ผู้เป็นวีรบุรุษของกษัตริย์องค์นี้ ตำหนักหลวงแห่งนี้ถูกออกแบบมาเพื่อทำหน้าที่เป็นประตูถาวรของจัตุรัสแห่งนี้ เมื่อมองข้ามไปยังจัตรัสอิมามที่กว้างใหญ่ในวันที่สดใสอบอุ่น เราสามารถเกิดภาพขึ้นในใจถึงการเดินสวนสนามที่น่าตื่นเต้นจนฝุ่นตลบที่เกิด ขึ้นในจตุรัตรแห่งนี้อย่างน่าพิศวงเลยทีเดียว
“อิสฟาฮานครึ่งหนึ่งของโลก”
โดย

Prasert Suksaskaawin