พรมน้ำดุอารถ-บ้าน ทำได้หรือไม่ ฟังทัศนะ

106

ยังเป็นประเด็นร้อน ถกเถียงกันไม่หยุด ประเด็นการเจิม การพรมน้ำดุอา ทำได้หรือไม่

ผู้ใช้เฟซบุ๊ค Matty Ibnufatim Hamady ระบุว่า ในฐานะที่พ่อของผมเคยเรียนจากท่านบาบอทุกสัปดาห์ในวันเสาร์-อาทิตย์ ทีมัสยิดปัตตานี-ยะลา เเละเห็นการเอาภาพของท่านไปพูดในทางลบ ขออธิบายสักหน่อย เเรกๆ กะว่า จะไม่เขียนเเล้ว! เเต่เห็นเเล้วก็ปวดใจ

การที่ท่านบาบออิสมาเเอล สปัญญัง อัลฟะฏอนีย์เอาน้ำรด หรือพรมน้ำใส่รถคันใหม่ ไม่ใช่เป็นการเจิมตามที่บางคนคิด เเละเอามาเปรียบเทียบ หากเราว่า มันเหมือน ก็ตรรกวิบัติ เพราะ ไม่ครบรุกุ่นตัชบิฮ์ เเละการเจิม ตาม พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 หน้า 240) ได้ให้ความหมายว่า: เป็นการเอาแป้งหอมแต้มเป็นจุด ๆ ที่หน้าผากหรือสิ่งที่ต้องการเพื่อให้มีสิริมงคล ดังนั้น เราไม่ควรไปเปรียบเทียบเละควรเก็บเเป้งทาตัวที่บ้านดีกว่า เพราะเเป้ง อาจจะหมดเเละไม่พอใช้

การพรม หรือรดน้ำใส่รถ หรือพาหนะที่ใช้ในการเดินทาง ไม่ว่า จะใหม่ หรือเก่า ไม่ว่า จะก่อน หรือหลังจากสิ่งที่ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น เป็นการรุกยะห์ประเภทหนึ่ง ที่สามารถทำได้ ตามทัศนะของอุลามาอฺส่วนใหญ่

น้ำมาจากการอ่านดุอาอ์ การซิกิร การอ่านอัลกุรอ่าน ส่วนคนที่ไม่ทำก็ไม่ควรไปโจมตีคนที่ทำ เเท้จริงเเล้ว เจ้าของรถ ก็สามารถอ่านดุอาได้ ตอนขับ ตอนขี่สิ่งดังกล่าว เเต่การรุกยะห์เเค่เป็นการพยายามเอาบารอกัตจากอัลกุรอ่าน จากดุอาอ์ จากบรรดาผู้ที่ดี เพื่อป้องกัตสิ่งที่ไม่ดีเกิดขึ้น เช่นจากสายตาทีอิฉฉา เเละสาเหตุอื่นๆ เท่านั้น มันไม่ได้ทำให้ชิริก เเต่อย่างใด เพราะ เราไม่ได้ยึดว่า สิ่งดังกล่าวให้ผลลัพธ์อย่างเเท้จริง (لذاته)

1. ท่าน อิบนุ มุฟลิฮ อัลฮัมบะลีย์ รอฮิมะฮุลลอฮ์ กล่าวในตำรา อะดะบุล ชัรอียะห์ ว่า

نقل عبدالله أنه رأى أباه يعوذ في الماء ويقرأ عليه ويشربه ، ويصب على نفسه منه

ความว่า ” มีรายงาน ว่า ลูกของท่าน อีหม่าม อะห์หมัด ท่าน อับดุลลอฮ์ เเท้จริงเเล้วท่านได้เห็นพ่อของตัวเอง ทำการอ่านดุอาอฺให้ปลอดภัยบนผิวน้ำ เเละทำการดื่มมัน เเละพรมน้ำดังกล่าวบนร่างตัวเอง”

2. ท่าน อิบนุฮิบบาน รอฮิมะฮุลลอฮ์ ได้ตั้งชื่อเรื่องในตำราของท่าน ว่า บทนี้เกี่ยวสิ่งที่ถูกกล่าวว่า ซุนัตเอาบารอกัตจากบรรดาคนดีๆ เเละคนอื่นที่มีคุณลักษฯะคล้ายกัน

باب ذِكْرُ ما يُستحبُّ للمِرء التَّبركُ بالصالحينَ وأشباهِهم

พาหนะที่ใช้การเดินทางสมัยก่อน คือ สัตว์ เช่น อุฐ ม้า ในสมัยนบี ศอลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ขี่อูฐ สาสามารถเอาน้ำรุกยะห์ พรมอูฐ หรือสัตว์อื่นๆ ได้ เพื่อป้องกันไม่ให้มันท้องเสีย ตามคำกล่าวของท่าน อิบนุ อะบี อัชชัยบะห์ ใน ตำรา อัลมุซ๊อนนัฟ ของท่าน

เเต่ในสมัยนี้ เราใช้รถยนต์ เป็นพาหนะในการเดินทาง หากพรม รดน้ำ บนรถ ไม่ได้ รดน้ำ บนสัตว์ ก็ไม่ได้ หากจะอนุมาน หรือ กิยาส ในสมัยก่อน อ่านดุอา ขี่อูฐ สมัยนี้ อ่านดุอาเดียวกัน เเต่ขี่รถ เเละพาหนะอื่นๆ

ท่านอิบนุ ฮะญัร อัลอัศก่อลลานีย์ รอฮิมาฮุลลอฮฺ กล่าวในตำราฟัตฮุลบารีย์ว่า บรรดาอุลามะ ส่วนใหญ่อนุญาต เรียกว่า รุกยะห์ เเต่ด้วยเงื่อนไขต่อไปนี้

1. ต้องทำด้วยอายัตอัลกุรอ่าน บรรดาชื่อของอัลลอฮ์ เเละคุณลักษณะของพระองค์

2. ต้องเป็นภาษาอาหรับ หรือ ด้วยสิ่งที่เราทราบความหมาย

3. ต้องไม่เชื่อว่า สิ่งที่ทำให้ผลลัพท์เเบบ ลีซาตีฮีย์ ( تأثير لذاته) เเต่ด้วยความประสงค์ของอัลลอฮ์ เราเเค่ใช้ความพยายาม ส่วนการตั้งเงื่อนไขมันในเรื่องดังกล่าว บรรดาอุลามะอฺคีลาฟ เเต่ที่มีน้ำหนักคือ ตามเงื่อนไขที่ได้กล่าวมา

จะใช้น้ำพรมคนที่ป่วย ใช้นำพรมสัตว์ที่ไม่สบาย หรือสิ่งของที่เป็นวัตถุ เช่น บ้าน รถ บ่อน้ำ ก็ได้ หรือจะเป็นการป้องกันโรคอัยน์ หรือ ให้มีความปลอดภัยก็ได้ ด้วยความประสงค์ของอัลลอฮ์

ในวัคซีน ในยา เราเชื่อ 100% เเต่ในรุกยะห์ที่มาพร้อมกับดุอาอ์ อัลกุรอ่าน บางคนดันไม่เชื่อ ติว่า เป็นคอรอฟาตบ้าง บิดอะห์บ้าง อีหม่านของเราอยู่ที่ไหนกัน ทุกอย่างมาจากการพยายาม ทั้งหมด ที่ให้ผลลัพธ์ คือ อัลลอฮ์เพียงผู้เดียว.

ท่าน อีหม่าม อัลค็อตฏอบีย์ รอฮิมะฮุลลอฮ์ กล่าวในตำรา มะอาลิมว่า

فأما الرقى فالمنهي عنه : هو ما كان منها بغير لسان العرب ، فلا يدرى ما هو ؟ ولعله قد يدخله سحر أو كفر ، فأما إذا كان مفهوم المعنى ، وكان فيه ذكر الله تعالى ؛ فإنه مستحب متبرك به والله أعلم

ความว่า : รุกยะห์ที่ถูกห้าม คือง สิ่งที่มาจากสิ่งนั้ร ได้ด้วยภาษาอาหรับ เนื่องจากเราไม่รู้ว่า มันคือ อะไ เพราะเกรงว่า อาจจะมีการซิเฮร เเละกุฟุรอยู่ในนั้นด้วย อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่สิ่งนั้น เรารู้ความหมาย เเละมาจากการซอกิรต่ออัลลอฮ์ เเท้จริงเเล้ส เป็นที่ส่งเสริมในการเอาความบารอกัตด้วยมัน วัลลอฮุอะลัม ”

ดังนั้น คนที่ทำก็มีหลักฐานจากตำรา จากการกิยาส การอิสติดลาล อิสติมบาทจากตัวบท เป็นต้น ส่วนคนที่ไม่ต้องการทำ ก็ไม่ต้องทำ ไม่มีใครว่าอะไร หากซื้อรถมาใหม่ จะขับเลยก็ได้ ใช้ให้มันสกปรกก่อน เเล้วค่อยอาบน้ำให้มัน มองคนอื่นในเเง่ดี ชีวิตจะมีความสุข เเละขอให้เราได้เรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อความเข้าใจที่มีมากขึ้น.

อ.อาลี เสือสมิง ตอบเรื่องการเจิมรถ ระบุว่า

การเจิม หมายถึง การเอาแป้งหอมแต้มเป็นจุดๆ ที่หน้าผากหรือสิ่งที่ต้องการให้มีสิริมงคล(พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 หน้า 240) เคยเห็นเขาเจิมที่หน้าผากของเจ้าบ่าวเจ้าสาวหรือลูกศิษย์ที่มาครอบครู บางทีก็เห็นการเจิมที่กระจกบานใหญ่หน้าสำนักงานหรือสถานที่สำคัญๆ ส่วนการเจิมรถยนต์ก็เคยเห็นจากในโฆษณาประกันชีวิต เข้าใจว่าการเจิมเป็นคติความเชื่อที่คนไทยรับมาจากเขมรเพราะโดยมากจะเขียน อักขระภาษาเขมรกำกับ และเขมรก็คงรับมาจากพราหมณ์ฮินดูอีกทอดหนึ่ง

เรื่องการเจิมจึงไม่ใช่เรื่องที่ชาวมุสลิมกระทำกัน และไม่มีในหลักคำสอนของศาสนาอิสลาม การเจิมจึงเป็นการกระทำอุตริกรรมที่ต้องห้าม(บิดอะฮฺ มุฮัรรอมะฮฺ) และเป็นการเลียนแบบศาสนิกชนในศาสนาอื่นซึ่งมีเค้ามูลมาจากความเชื่อทาง ศาสนา มุสลิมจำต้องหลีกห่าง ถึงแม้ว่าบางคนอาจจะอ้างว่า คนเจิมเป็นมุสลิมและถ้อยความเป็นภาษาอาหรับก็ตาม สิ่งที่คนมุสลิมควรปฏิบัติในกรณีการออกรถใหม่จึงไม่ใช่การเจิมรถ แต่เป็นเรื่องของการขอบคุณต่ออัลลอฮฺ(ซ.บ.) ที่ทรงประทานรถใหม่ให้เป็นพาหนะสำหรับการใช้สอยและการอ่านดุอาอฺขณะขี่ยวดยานพาหนะและซิกรุ้ลลอฮฺตลอดจนการขอความคุ้มครองอุบัติภัยทางยวดยานจากพระองค์อัลลอฮฺ(ซ.บ.) การกระทำเช่นนี้ถึงจะถือว่าเป็นการตะบัรรุก(เอาสิริมงคล) ที่ถูกต้องตามหลักการของศาสนา

والله تعالى أعلى وأعلم

http://alisuasaming.org/webboard/index.php?topic=85.0

เครดิตภาพ: เพจ babaismail sepanjang alfathoni..