จังหวัดแพร่แพร่ เบนเข็มแก้ปัญหาที่ดินพิพาทมัยิดแพร่ เป็นปัญหาความมั่นคง เหตุมีการนำแรงงานต่างด้าวมาทุบทำลายที่ละหมาด เผยมีการแอบอิงผู้ใหญ่ในคณะกรรมการกลางฯ สร้างอิทธิพล
วันที่ 29 พ.ย.2567 เวลา 13.00 -15.00 น. ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดแพร่ มีการประชุมไกล่เกลี่ย เพื่อหาทางออกการใช้ที่ดิน 4 ไร่กลางใจเมืองแพร่เป็นสถานที่ละหมาด ซึ่งอิหม่ามประจำมัสยิดเด่นชัย จ.แพร่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน ปิดล็อคกุญแจทางเข้า และห้ามมุสลิมจ.แพร่ เข้าไปใช้เป็นสถานที่ละหมาด
โดยพ.ต.ท.ปรีชา อับดุลเลาะห์ ประธานชมรมผู้ไกล่เกลี่ย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ ผู้ช่วยเลขาธิการประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้รับเรื่องราวร้องทุกข์ จาก ข้อพิพาทกรณี ที่มีการปิดห้ามไช้สถานที่ละหมาด ทุบทำลายอาคาร ศูนย์จริยธรรมอิสลาม สถานที่ประกอบศาสนกิจ ละหมาด ศูนย์จริยธรรม สุสาน อำเภอเมืองจังหวัดแพร่
ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยคณะกรรมการชมรมผู้ไกล่เกลี่ย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีหน้าที่ไกล่เกลี่ย ข้อพิพาท มีรายชื่อดังต่อไปนี้
1.นายทองอินทร์ จุมพิศ ( ผู้ไกล่เกลี่ย )
2.นายไอศูรย์ อำพันพงษ์ ( ผู้ไกล่เกลี่ย )
3.ว่าที่.ร.ต.จักรพันธ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ( ผู้ไกล่เกลี่ย )
4.นายประมาณ มุตตารี ( ผู้สังเกตุการณ์ )
5.ดร.สุนทรี ศรีสุวรรณ์(ผู้สังเกตุการณ์ )
รวมทั้ง ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ปลัดจังหวัดแพร่ ผู้อำนวยการกลุ่มงานศูนย์ดำรงค์ธรรมจังหวัดแพร่ ตำรวจสันติบาลจังหวัดแพร่ ศูนย์วัฒนธรรม ฝ่ายปกครอง นายกเทศมนตรีตำบลป่าแมต จังหวัดแพร่ และฝ่ายพิพาททั้ง 2 ฝ่ายเข้าร่วมประชุม โดยมีพี่น้องมุสลิมนับ 100 คนมาสังเกตุการณ์อยู่ภายนอกห้องประชุม
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ชมรมผู้ไกล่เกลี่ย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ รายงานว่า สรุปการไกล่เกลี่ย ไม่สำเร็จในข้อพิพาทในวันนี้
รายงานแจ้งว่า ในที่ประชุมเบื้องต้นได้ข้อสรุปให้มีการใช้ที่ดินดังกล่าวเป็นสถานที่ละหมาดได้ โดยอิหม่ามประจำมัสยิดเด่นชัด เห็นชอบ แต่นายอับดุลญ่าลีล ค่านเคน ประธาน กอจ.ลำปาง ซึ่งสนิทสนมกับอิหม่ามมัสยิดเด่นชัย และสนิทกับพล.ต.ต.สุรินทร์ ปาลาเร่ เลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นเชื้อสายปาทานด้วยกันได้โต้แย้ง โดยอ้างจุฬาราชมนตรีว่า การละหมาดบนที่ดินกูโบร์ไม่ถูกต้อง เป็นบาป ทำให้ที่ประชุมไม่ได้ข้อสรุปในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ในหารือกับทางจังหวัด เห็นร่วมกันว่า ปัญหาการใช้ที่ดินไม่ใช่ปัญหาศาสนา การแก้ปัญหาจึงไม่ต้องรอหนังสือจากจุฬาราชมนตรี แต่เป็นปัญหาการสร้างอิทธิพลของคนบางกลุ่ม ในพื้นที่จ.แพร่ โดยพยายามอ้างผู้ใหญ่ในคณะกรรมการกลางอิสลามฯ และซึ่งกลุ่มนี้ดาวะห์อยู่ในกลุ่มแรงงานเมียนมา และนำแรงงานเมียนเข้ามาทุบมัสยิดหรือสถานที่ละหมาดบนที่ดินพิพาทด้วย ทางจังหวัดจึงอาจมุ่งเน้นการแก้ปัญหาไปที่ปัญหาความมั่นคงที่เกี่ยวข้องกับแรงงานต่างด้าว ซึ่งน่าจะแก้ปัญหาในระดับหนึ่ง