เปิดว๊าป 10 บริษัทมุสลิม ทำรายได้ทะลุ 100 ล้านในปี 2566 ธุรกิจอาหารมาแรง

เปิดรายชื่อ 10 บริษัทมุสลิมของไทย ทำรายได้ทะลุ 100 ล้านในปี 2566 สะท้อนพลังเศรษฐกิจใหม่ของชุมชนมุสลิม โดยธุรกิจอาหารมา่แรง

Mtoday ได้สำรวจผลประกอบการของบริษัทที่มีเจ้าของเป็นมุสลิม แม้ว่า ในยุคที่เศรษฐกิจไทยเผชิญความท้าทายจากภาวะเงินเฟ้อและความไม่แน่นอนของตลาดโลก และผู้บริโภคไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย แต่กลับมีภาพสะท้อนหนึ่งของ “พลังเศรษฐกิจของธุรกิจมุสลิมไทย” ที่กำลังเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะในปี 2566 ที่ผ่านมา มีบริษัทที่ดำเนินกิจการโดยชาวมุสลิมมากถึง 10 แห่ง สามารถทำรายได้ทะลุ 100 ล้านบาทต่อปี ซึ่งครอบคลุมทั้งภาคการผลิต การค้า อาหาร สุขภาพ ไปจนถึงเทคโนโลยีการแพทย์ โดยธุรกิจอาหารเป็นธุรกิจที่น่าสนใจ จาก 10 บริษัท ธุรกิจอาหารครองตำแหน่งไปครึ่งหนึ่ง

รายชื่อ 10 บริษัทมุสลิมไทยที่มีรายได้เกิน 100 ล้านบาทในปี 2566 ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค่า ประกอบด้วย
1. บริษัท ที.จี.คอนโทรล จำกัด – รายได้ 500 ล้านบาท
ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบอัตโนมัติและวิศวกรรมโรงงานระดับประเทศ
2. บริษัท คอมพานี บี จำกัด – รายได้ 500 ล้านบาท
ธุรกิจอาหารในนาม เนื้อแท้ หรือที่คุ้นกันในภาพลักษณ์ อดีตนักร้องชื่อดัง โต ซิลีฟูล
3. บริษัท วิยะเครป โปรดักส์ จำกัด – รายได้ 300 ล้านบาท
ผู้ผลิตเครปแช่แข็งที่ส่งออกไปหลายประเทศและครองตลาดในไทย
4. บริษัท สินธร มีท ซัพพลาย จำกัด – รายได้ 230 ล้านบาท
ธุรกิจค้าส่งเนื้อฮาลาลรายใหญ่ที่ตอบโจทย์ทั้งตลาดใน เจ้าของร้านอาหารใหญ่ที่สุดของมุสลิมในกรุงเทพฯ ชื่อ สินธร ย่าน ถนน ศรีนครินทร์
5. บริษัท กาโนเอ็กเซล เอ็นเตอร์ไพรส์ (ประเทศไทย) จำกัด – รายได้ 170 ล้านบาท
ธุรกิจเครือข่ายด้านสุขภาพที่มีฐานสมาชิกแข็งแรงทั่วประเทศ

6. บริษัท จีระพันธ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด – รายได้ 160 ล้านบาท
ผู้นำด้านอาหารฮาลาล เจ้าของแบรนด์ “จีระพันธ์ไก่ย่าง” ที่เติบโตจากครัวครอบครัวสู่แฟรนไชส์ระดับประเทศกว่า 250 สาขา ในปั้มน้ำมัน ปตท.
7. บริษัท ซูพีเรีย ควอลิตี้ ฟู๊ด จำกัด – รายได้ 130 ล้านบาท
บริษัทผลิตอาหารแช่แข็งและอาหารฮาลาลพร้อมทานสำหรับส่งออก
8. บริษัท ออโรรา เมดเทค จำกัด – รายได้ 110 ล้านบาท
ผู้นำเข้า จำหน่ายและให้บริการเครื่องมือแพทย์ พร้อมให้คำปรึกษา แนะนำ วางแผน ออกแบบ และติดตั้งเครื่องมือแพทย์ด้วยมาตรฐานสากล
9. บริษัท ทีเอส แฟมมิลี่ กรุ๊ป จำกัด – รายได้ 110 ล้านบาท
กลุ่มทุนในนามมูลทรัพย์ เจ้าของโรงแรมชื่อดัง อัลมีรอซ รามคำแหง กรุงเทพฯ
10. บริษัท เอ็น เวนเชอร์ส จำกัด – รายได้ 100 ล้านบาท
กลุ่มทุนที่บริหารธุรกิจโรงแรมในชื่อ โรงแรมนูโว ซิตี บริการห้องพัก ย่านถนนข้าวสาร บางลำภู พร้อมพรั่งไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกระดับ 4 ดาว บริการอาหารฮาลาล จัดเลี้ยงสัมมนา ฟิตเนท สปา

รายได้ของ 10 บริษัท แสดงให้เห็นว่า ชุมชนมุสลิมในประเทศไทยมีศักยภาพที่น่าทึ่งในโลกของธุรกิจ ไม่ใช่เพียงแค่การสร้างรายได้ระดับร้อยล้านบาทต่อปีเท่านั้น แต่ธุรกิจเหล่านี้ยังสะท้อนถึง “พลังทางวัฒนธรรมและศรัทธา” ที่สามารถแปรเปลี่ยนเป็น Soft Power ทางเศรษฐกิจ ได้อย่างทรงพลัง ในบริบทของเศรษฐกิจมุสลิมไทย ไม่ได้หมายถึงเพียงการนำเสนอสินค้าและบริการฮาลาลให้เป็นที่ยอมรับในวงกว้างเท่านั้น แต่คือการผสาน “อัตลักษณ์” ทางศาสนา “ความศรัทธา” ที่มั่นคง และ “นวัตกรรม” ที่ตอบโจทย์ยุคใหม่ ให้เกิดเป็นธุรกิจที่มีคุณค่าทางจิตวิญญาณควบคู่กับความสามารถในการแข่งขันเชิงพาณิชย์

ธุรกิจบริษัทมุสลิมอย่าง จีระพันธ์ คอร์ปอเรชั่น, วิยะเครป, สินธร มีท, ออโรรา เมดเทค และอีกหลายแห่ง จากการเดิมเป็นธุรกิจครอบครัว มีผลกำไรส่วนตัว กำลังกลายเป็นธุรกิจของสังคม เป็นกลไกขับเคลื่อนภาคประชาสังคม ที่จับต้องได้อย่างแท้จริง ทั้งในด้าน การ สร้างงาน สร้างอาชีพ ให้กับเยาวชนและชุมชนในวงกว้าง, การ ยกระดับมาตรฐานอาหารฮาลาล และอุตสาหกรรมสุขภาพในประเทศไทย, การ ถ่ายทอดคุณค่าทางศาสนาในรูปแบบร่วมสมัย ผ่านแบรนด์และบริการ โดยที่สำคัญคือ การเป็น ต้นแบบของการพัฒนาเศรษฐกิจภายใต้บทบัญญัติอิสลาม

ในมิติการสนับสนุนธุรกิจของชาวมุสลิมจึงไม่ควรเป็นแค่ “ทางเลือก” แต่ควรเป็น “ความร่วมมือทางกลยุทธ์” ของชุมชนมุสลิมไทย เพื่อสร้างระบบเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง เป็นธรรม และตั้งอยู่บนคุณธรรมอิสลาม เพราะเมื่อธุรกิจมุสลิมเติบโตได้ สังคมมุสลิมก็จะเข้มแข็งได้ และเมื่อสังคมมุสลิมเข้มแข็ง เศรษฐกิจไทยก็จะยั่งยืนไปด้วย ในยุคที่ผู้บริโภคมีอำนาจในการตัดสินใจสูงสุด ชุมชนมุสลิมไทยจึงสามารถร่วมกันใช้พลังของตนเองในการสร้าง “เครือข่ายเศรษฐกิจศรัทธา” ที่จะเปลี่ยนอนาคตของธุรกิจมุสลิมให้กลายเป็นพลังหลักในเวทีระดับชาติได้อย่างแท้จริง

อย่างไรก็ตาม ยังมีธุรกิจมุสลิมอีกจำนวนหนึ่งที่ Mtoday อาจสำรวจไปไม่ถึง ซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ ทางMtoday ต้องขออภัยมี ณ ที่นี้ด้วย หรือจะส่งข้อมูลมาให้ก็จะขอบพระคุณอย่างสูง