ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ: กรณีข้อตกลงปารีส เมื่อทรัมป์ ไม่ได้รับการตอบรับจากอเมริกัน

120

ผมตื่นเต้นกับบทความใน Financial Time วันนี้ ตื่นเต้นมากถึงขนาดว่าผมอยากจะแบ่งปันบางส่วนของบทความนี้เลยครับ

“เมืองต่างๆสร้างความเชื่อมโยงกันเพื่อหลีกเลี่ยงความล้มเหลวของผู้นำประเทศ”

Ivo Daalder ผู้เขียนบทความและประธานสภาเมืองชิคาโกด้านการต่างประเทศ ได้เขียนถึงท่าทีของเมืองและผู้นำรัฐบาลท้องถิ่นถึงการประกาศของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าสหรัฐฯจะถอนตัวออกจากข้อตกลงปารีส 2558 ว่าด้วยเรื่องความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ นับว่าบทความนี้น่าสนใจมากเพราะเกี่ยวกับความร่วมมือแบบใหม่ของผู้นำท้องถิ่นในประเด็นปัญหาโลก ในขณะที่ผู้นำประเทศกลับไม่ได้ให้ความสนใจทั่งในระดับประเทศหริอในระดับความร่วมมือนานาชาติ

“ท่าทีต่อการตัดสินใจของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ในการทอนตัวออกจากข้อตกลงปารีสนั้นเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้ว่าการเมือง ผู้ว่าการรัฐ และขผู้บริหารระดับสูงทั่วสหรัฐฯ ต่างออกมาแสดงท่าทีว่า ไม่ว่ารัฐบาลกลางของสหรัฐฯจะตัดสินใจอย่างไร แต่ละเมือง แต่ละรัฐ และ ภาคเอกชน จะยังคงปฏิบัติตามข้อตกลงและร่วมมือกันทำให้เป้าหมายของข้อตกลงปารีสนั้นสัมฤทธิ์ผล”

ในบทความยังได้กล่าวต่อว่า “หากเป็นเมื่อประมาน 10 ปีที่แล้ว ข้อตกลงและคำมั่นสัญญาเรื่องนี้ก็คงจะเป็นแค่คำพูดที่ไม่มีน้ำหนักอะไร แต่ในวันนี้ไม่ได้เป็นอย่างนั้นอีกต่อไป โลกในยุคโลกาภิวัฒน์ได้ทำลายข้อจำกัดของการเชื่อมต่อสื่อสาร อิทธิพลของเศรษฐกิจและประชาชนโดยผู้นำท้องถิ่นมีความแข็งแรงมากขึ้นโดยเฉพาะผู้ว่าของเมืองต่างๆทั่วโลก”

“ผลจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางการเมืองโลก: อำนาจนั้นถูกกระจายตัวระหว่างส่วนกลางและท้องถิ่น โดยเฉพาะเมื่อมีเหตุการณ์ที่ต้องหาทางออกให้กับปัญหาที่ทั่วโลกต้องร่วมกันเผชิญ อาทิ โลกร้อน โรคระบาด ความเหลื่อมล้ำ และการก่อการร้าย อนาคตที่เมืองจะมีบทบาทมากขึ้นนั้นปรากฎให้เห็นเด่นชัดมากขึ้นเรื่อยๆ ประชากรโลกกว่าครึ่งนั้นอาศัยอยู่ในเมือง มีคนเกือบ 200,000 นั้นย้ายถิ่นฐานเข้าเมืองในแต่ละวัน และภายในปี 2593 ประชากรโลก 2 ใน 3 จะเป็นประชากรเมือง”

“การเติบโตของเศรษฐกิจก็เกิดจากคน ทุกวันนี้ เมืองใหญ่ที่มีประชากรมากกว่า 500,000คน สร้างผลผลิตมากกว่า 3 ใน 4 ของผลผลิตทั้งหมดของโลก นับจากวันนี้ไปจนถึงปี 2573 เมืองใหญ่ๆเหล่านี้จะมีผลผลิตมากกว่า 4 ใน 5 ของการเติบโตทั้งหมด สำหรับมิติการเมืองและสังคม ความเป็นเมืองยังคงเปรียบเหมือนทัพหน้าที่จะเปิดรับและแข่งขันในกระแสโลกาภิวัฒน์”


สุรินทร์ พิศสุวรรณ
ระหว่างการเดินทางบนสายการบิน ANA จากโตเกียวสู่จาการ์ต้า