โรคที่ควรพิจารณาหลีกเลี่ยงการถือศีลอด เพราะจะเป็นอันตราย

ผู้ป่วยโรคต่อไปนี้ อาจพิจารณาหลีกเลี่ยงการถือศีลอด เพราะจะเป็นอันตราย

ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1   ผู้ป่วยไตวาย ไตเสื่อม ผ่าตัดเปลี่ยนไต หรือนิ่วที่ไต  โรคปอดและหัวใจที่รุนแรง    เลือดออกในทางเดินอาหาร หรือโรคกระเพาะที่เป็นแผล    โรคลมชักที่ยังไม่สงบ  โรคไมเกรนที่กำเริบบ่อย

สำหรับผู้ที่ไม่สามารถถือศีลอดได้ในกรณีนี้สามารถชดเชยโดยการให้อาหารแก่คนยากจน (หนึ่งมื้อต่อการงดเว้นหนึ่งวัน)
อ้างอิงจาก…..

ใครก็ตามที่ได้เข้าสู่เดือนรอมาฏอน โดยที่เขาไม่มีความสามารถที่จะถือศีลอด  เนื่องจากความชราภาพ  หรือประสบกับโรคที่ไม่มีทางรักษาได้ และไม่มีโอกาสจะหายแล้ว ซึ่งในกรณีเช่นนี้เขาไม่จำเป็นต้องถือศีลอด  ถ้าเขาไม่มีความสามารถ ให้เขาไม่ต้องถือศีลอด แต่ต้องให้อาหารแก่คนยากจนทุกวัน

อัลลอฮ์  ได้ตรัสไว้ว่า

قال الله تعالى : ( يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا كُتِبَ عَلَيْكُمُ الصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلَى الَّذِينَ مِنْ قَبْلِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُونَ * أَيَّاماً مَعْدُودَاتٍ فَمَنْ كَانَ مِنْكُمْ مَرِيضاً أَوْ عَلَى سَفَرٍ فَعِدَّةٌ مِنْ أَيَّامٍ أُخَرَ وَعَلَى الَّذِينَ يُطِيقُونَهُ فِدْيَةٌ طَعَامُ مِسْكِينٍ فَمَنْ تَطَوَّعَ خَيْراً فَهُوَ خَيْرٌ لَهُ وَأَنْ تَصُومُوا خَيْرٌ لَكُمْ إِنْ كُنْتُمْ تَعْلَمُونَ ) البقرة/183-184.

“ โอ้บรรดาผู้ที่ศรัทธา  การถือศีลอดได้ถูกกำหนดให้แก่พวกเจ้า  เหมือนที่ได้ถูกกำหนดให้แก่บรรดาผู้ที่มาก่อนหน้าพวกเจ้า 

เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้มีความยำเกรง  * ( คือถูกกำหนดให้ถือ ) ในวันต่างๆ ที่ถูกนับไว้

ดังนั้นผู้ใดจากพวกเจ้าเจ็บป่วย หรือว่าเดินทาง  ก็ให้ถือใช้ในวันอื่น และหน้าที่ของผู้ที่ถือศีลอดลำบาก (โดยที่เขาได้งดเว้นจากการถือ)

การชดเชย คือ การให้อาหารแก่คนยากจน (หนึ่งมื้อต่อการงดเว้นหนึ่งวัน)

ดังนั้นผู้ใดที่ทำความดีด้วยความสมัครใจ ก็เป็นการดีแก่เขา  และการที่พวกเจ้าถือศีลอดนั้นเป็นการดีแก่พวกเจ้า หากพวกเจ้ารู้ ”

          รายงานโดย อิหม่ามบุคอรีย์ หะดีษที่ 4505 จากท่านอิบนู  อับบาส โดยที่ท่านอิบนู  อับบาสได้กล่าวว่า

” ไม่ได้ถูกยกเลิก ผู้ชายที่สูงอายุ  และหญิงที่สูงอายุที่ทั้งสองไม่สามารถจะถือศีลอดได้ ให้ทั้งสองให้อาหารแก่คนยากจนทุกวัน”

           ท่านอิบนู  กูดามะห์ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัลมุฆนีย์ เล่มที่ 4 / 396  ชายสูงอายุ  และหญิงสูงอายุ  หากการถือศีลอดสร้างความลำบากแก่ทั้งสอง เป็นความลำบากอย่างยิ่ง อนุญาตให้ทั้งสองนั้นไม่ต้องถือศีลอด แต่ให้อาหารแก่คนยากจนทุกวัน  หากเขาไม่มีความสามารถที่จะให้อาหารได้ ก็ไม่ต้องชดใช้อะไร (เนื่องจากอัลลอฮ์ไม่ได้บังคับชีวิตหนึ่งเกินความสามารถที่จะทำได้ ) สำหรับคนป่วยที่ไม่มีโอกาสที่หายขาดได้   ไม่ต้องถือศีลอดเช่นกัน และให้อาหารแก่คนยากจนทุกวัน วันละหนึ่งคน เนื่องจากเขาอยู่ในสถานะเดียวกับ คนชราที่ไม่ความสามารถที่จะถือศีลอด

وفي الموسوعة الفقهية (5/117) :  ในหนังสือ อัลเมาซูอะ อัลฟิกอียะ (5/117)

          บรรดาแนวมัสอับ ฮานีฟีย์ และมัสชาฟีอีย์ มัสฮับฮัมบาลีย์ ได้มีความเห็นตรงกันว่า  เป็นการเสียค่าชดเชยแก่ผู้ที่ไม่มีความสามารถที่จะถือศีลอดชดเชย ในวันที่เขาไม่ได้ถือศีลอด เนื่องจากความชราทำให้เขาถือศีลอดชดใช้ไม่ได้  หรือ คนที่ป่วยที่ ไม่มีโอกาสที่หายขาด  จุดประสงค์ คือคนที่การถือศีลอดสร้างความลำบากให้แก่เขา เนื่องจากคำดำรัสของอัลลอฮ์ ที่ว่า

قوله تعالى : ( وَعَلَى الَّذِينَ يُطِيقُونَهُ فِدْيَةٌ طَعَامُ مسكين))

“และหน้าที่ของผู้ที่ถือศีลอดลำบาก(โดยที่เขาได้งดเว้นจากการถือ)

การชดเชยก็คือ การให้อาหารแก่คนยากจน (หนึ่งมื้อต่อการงดเว้นหนึ่งวัน)”