เรือนราชา: จากอดีตอันรุ่งเรืองสู่ความโรยราแห่งปตานี สะท้อนวิถี 3 จังหวัดโดยนักเขียนฝรั่งเศส

466

ตั้งใจเข้ามาเยี่ยมชมหอสมุดเมืองกรุงเทพมหานครเพียงช่วงเวลาสั้นๆ เท่าที่โอกาสอำนวยในฐานะคนที่รักหนังสือ แต่ก้าวแรกที่ผ่านทางเข้า สายตาเหลือบไปเห็นหนังสืออัลบัมภาพและเรื่องเล่าที่เคยโพสต์ไว้ก่อนหน้านี้เมื่อตอนที่หนังสือเล่มนี้กำลังจะจัดพิมพ์ จึงอดไม่ได้ที่จะหยิบดูภาพและอ่านสักหน่อย ตั้งใจอ่านผ่านๆ แล้วไปเยี่ยมชมมุมหนังสืออื่นๆ ต่อ แต่เมื่อเริ่มต้นอ่านไปได้นิดหน่อย ก็รู้สึกเหมือนต้องมนต์สะกด จนไม่สามารถจับวางได้

… หนังสือ “เรือนราชา จากอดีตอันรุ่งเรืองสู่ความโรยราแห่งปตานี”

ซาเวียร์ โคมาส ฝรั่งชาวสเปนผู้เป็นช่างภาพและผู้เขียนของหนังสือเล่มนี้ เล่าเรื่องจากประสบการณ์ที่ไปฝังตัวอยู่ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อดูว่าที่นั่นเป็นดินแดนที่อันตรายอย่างที่เขาพบเห็นในสื่อหรือไม่ เขาถ่ายทอดเรื่องด้วยภาพและเรื่องราวที่อ่านได้เพลินและชวนให้ติดตามได้ด้วยวิธีการที่เรียบง่ายแต่เต็มไปด้วยอรรถรสตลอดเล่ม

“การทักทายชวนคนแปลกหน้าคุยเป็นเรื่องที่ไม่ต้องอาศัยความพยายามใดๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามร้านชา แหล่งหลบภัยแดดเที่ยงปรากฏอยู่ทั่วทุกแห่งหนและเป็นที่ที่ผมได้ทำความรู้จักกับตัวละครมากหน้าหลายตา เช่น อิหม่ามเครายาวหน้าตาเข้ม ผู้เคยชักชวนให้ผมร่วมวงกินอาหารกับเหล่านักเรียนดะวะห์ที่มัสยิดของเขา…..
ความเป็นมิตรของคนที่นี่ทำให้มันยากที่จะเชื่อว่า นี่คือหนึ่งในสถานที่ที่อันตรายที่สุดในเอเชีย สิ่งที่ผมพบเห็นแทนที่จะเป็นกระสุนหรือระเบิด ผมกลับพบกับความเปิดเผยและความจริงใจแบบไม่คิดมาก มากกว่าหนึ่งครั้งที่เมื่อผมเรียกคิดเงินในร้านอาหารและพบว่า มีลูกค้าอีกโต๊ะหนึ่งจ่ายค่าอาหารให้เรียบร้อยแล้วก่อนที่พวกเขาจะออกจากร้านไป เมื่อผมเดินเข้าไปในซอยตันที่ถูกตกแต่งประดับประดาจัดงานเลี้ยงพิธีแต่งงานแบบมุสลิม ผมก็ถูกดึงให้เข้าไปร่วมสังสรรค์เฮฮาและกลายเป็นส่วนหนึ่งของความทรงจำในภาพถ่ายของวันที่มีความสุขที่สุดในชีวิตของคู่บ่าวสาว ความเป็นมิตรไมตรีมีอารีนั้นปรากฏชัดที่สุดในหมู่ชาวมุสลิมผู้มักจะชวนผมไปที่บ้าน และแนะนำให้รู้จักกับครอบครัวของพวกเขา ทั้งยังเตรียมสำรับอาหาร เครื่องดื่ม และบทสนทนาออกรสออกชาติ”

ความตอนหนึ่งในเรื่องเล่าช่วงวันเวลาที่ใช้ชีวิตอยู่ที่บางนรา นราธิวาส ของซาเวียร์ ในหนังสือข้างต้น

Cr.Zulfiqar Ali Fakhruddeen Dhorajeewala