น่าตกใจ!ข้อมูลกรมสุขภาพจิต เด็กปัตตานีเครียดสูง จากเหตุรุนแรงที่ต่อเนื่องมากว่า 10 ปี

176

วันที่ 19 ตุลาคม.2560  แพทย์หญิงเพชรดาวโต๊ะมีนาผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพที่ 12 เปิดเผยว่า นาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิตได้ลงพื้นที่จังหวัดปัตตานีโดยมีภารกิจในการติดตามผลการดำเนินงานของศูนย์สุขภาพจิตที่ 12 ครอบคลุมพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ได้แก่ สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล พัทลุง และตรังพบว่าปัญหาความไม่สงบเกิดขึ้นในพื้นที่มานานกว่า10 ปี ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน สะท้อนจากผลการสำรวจปัญหาสุขภาพจิตในกลุ่มประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปที่อยู่ใน จ.สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ซึ่งปี 2559 มีอัตราป่วยเป็นโรคทางจิตเวช ร้อยละ 3.4 สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศแพทย์หญิงเพชรดาวกล่าวเพิ่มเติมว่าปัญหาสุขภาพจิตที่น่าห่วงที่สุด คือโรคพีทีเอสดี (PTSD) หรือภาวะเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ ซึ่งจะมีภาพหลอนผุดซ้ำขึ้นมา ผลสำรวจในปี 2557 พบว่า เหตุความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ทำให้มีอัตราเกิดโรคดังกล่าวสูงถึงร้อยละ 2.6 มากกว่าพื้นที่ทั่วไปประมาณ 5 เท่าตัว กลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดกลุ่มเด็กนักเรียนประถมศึกษา จากกลุ่มที่ทำการสำรวจพบมีเด็กเสี่ยงป่วยโรคพีทีเอสดี เช่น มีอาการหวาดผวาเป็นพัก ๆ ร้อยละ 27 พบสูงที่สุดใน จ.ปัตตานี ร้อยละ 39 จ.สงขลา ร้อยละ 31 ยะลาร้อยละ 21 และนราธิวาสร้อยละ 18 นับเป็นการค้นพบข้อมูลครั้งสำคัญของประเทศ เด็กที่เป็นโรคนี้จะมีปัญหาการเรียนใช้ชีวิตอย่างยากลำบากหากไม่ได้รับการรักษาจะมีโอกาสกลายเป็นผู้ป่วยจิตเวชในที่สุด ซึ่งทีมจิตแพทย์จะให้การดูแลรักษาทันทีเบ็ดเสร็จที่โรงเรียนและติดตามต่อเนื่องโดยจะดำเนินการขยายโครงการนี้เพิ่มขึ้นในปีงบประมาณ 2561ทั้งนี้กรมสุขภาพจิตได้พัฒนาสถานพยาบาลในพื้นที่ คือ โรงพยาบาลชุมชน และอบรมพยาบาลจิตเวชเป็นเครือข่ายบริการ เพื่อให้ผู้ป่วยและผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตได้รับการรักษาและสามารถอยู่ในชุมชนได้โดยไม่ต้องล่ามโซ่ตรวนเช่นในอดีตโดยเฉพาะผู้ป่วยจิตเวชที่มีอาการรุนแรง ซับซ้อน ทั้ง 7จังหวัดขณะนี้อยู่ในความดูแลของจิตแพทย์เชี่ยวชาญ รพ.จิตเวชสงขลาฯเพิ่มขึ้นจาก 481 คน ในปี2558 เป็น750 คนในปี 2560“กรมสุขภาพจิต แนะนำให้ผู้ปกครองและคนใกล้ชิดควรดูแลผู้ป่วยควรเน้นการปฐมพยาบาลทางจิตใจเพื่อให้กำลังใจ ลดความเครียดตื่นตระหนก คลายความวิตกกังวล หรืออาการท้อแท้สิ้นหวังให้แก่ผู้ป่วยทุกวัยอย่างรวดเร็วและให้ได้มากที่สุดป้องกันปัญหาสุขภาพจิตและโรคจิตเวชที่อาจเกิดตามมา ควรสร้างความมั่นใจให้กับผู้ป่วยว่าเขายังมีผู้ปกครองและคนใกล้ตัวที่อยู่ข้างๆเสมอ หากต้องการปรึกษาสุขภาพทางจิตสามารถติดต่อได้ที่ สายด่วน 1323 หรือศูนย์สุขภาพจิตที่ 12 หมายเลขโทรศัพท์ 073-350363 ในวันและเวลาราชการ”ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพที่ 12 กล่าว”รู้จักโรคพีทีเอสดี ข้อมูลจากเว็บไซต์ healthandtrend.comให้ข้อมูลว่าโรคพีทีเอสดี (PTSD :Post-Traumatric Stress Disorder)เป็นโรคที่มีอาการเครียดและเจ็บป่วยหลังจากเหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อจิตใจอย่างรุนแรงโดยส่วนหนึ่งจะมาจากเหตุการณ์หายนะภัยพิบัติต่างๆเช่นไฟไหม้ น้ำท่วม การก่อเหตุความไม่สงบในพื้นที่ ฯลฯนอกจากนี้ยังมาจากเหตุการณ์สะเทือนใจที่เกิดจากมนุษย์ด้วยกันเอง เช่น การถูกทำร้ายอย่างรุนแรงการถูกข่มขืนการสูญเสียคนที่รักจากเหตุการณ์สะเทือนใจโดยทั่วไปจะพบได้หลังเกิดเหตุการณ์ 3-6 เดือน แต่บางคนอาจเกิดได้เร็วกว่า”สัญญาณที่บ่งบอกว่าอาจป่วยด้วยโรค PTSD ประกอบด้วย.1) ยังรู้สึกถึงเหตุการณ์เลวร้ายที่เกิดขึ้นนั้นอยู่ คือ ยังคิดถึงเหตุการณ์บ่อยๆฝันร้ายถึงเหตุการณ์นั้นบ่อย ๆ รู้สึกเจ็บปวดทรมานเป็นทุกข์อย่างมากเมื่อมีสิ่งเร้าที่มากระตุ้นให้เรานึกถึง เช่นเห็นทะเลก็นึกถึงภาพตอนตัวเองจมน้ำซ้ำแล้วซ้ำอีก.2) หลีกเลี่ยงเหตุการณ์สถานที่หรือบุคคลคือหลีกเลี่ยงที่จะคิดหรือพูดถึงเหตุการณ์นั้นแยกตัวหรือรู้สึกห่างเหินออกจากเพื่อนครอบครัวหรือบุคคลใกล้ชิดอื่นๆไม่สนใจกิจกรรมที่เคยชอบหรือไม่กล้าขับรถ เพราะเคยขับรถชนคนตายเป็นต้น.3)มีอาการที่บ่งถึงความเครียดเป็นการนอนไม่หลับ หลับยากไม่มีสมาธิตื่นเต้นตกใจง่าย(อาการเหล่านี้หากเกิดในเด็กเล็กจะส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองทำให้ตัดสินใจไม่ดีไม่มีสมาธิการเรียน รู้สึกไม่มีคุณค่าอาจมีอารมณ์ก้าวร้าวเมื่อโตขึ้น)หงุดหงิดง่ายแสดงอารมณ์ต่างๆอย่างรุนแรงกว่าที่เคยเป็นหรือมีอาการทางกายอื่นเช่นความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็วมีความตึงกล้ามเนื้อสูง คลื่นไส้ ท้องร่วง เป็นต้น