กกต.เร่งเลือกผู้ตรวจการเลือกตั้ง 77 จว. ไม่รอ กกต. ชุดใหม่

ศุภชัย สมเจริญ ประธาน คณะกรรมการการเลือกตั้ง

                กกต. ชุดปัจจุบันกังวลทำงานไม่คุ้มเงินหลวง เร่งคัดเลือกผู้ตรวจการเลือกตั้ง 77 จังหวัดเสร็จแล้ว ไม่รอ กกต. ชุดใหม่เข้ามาทำหน้าที่ หวั่นทำช้าอาจกระทบเลือกตั้งเพราะมีกระบวนการขั้นตอนอีกมาก ขณะที่ อดีต กกต. เคยชี้ผู้สมัครส่วนใหญ่ผู้ที่เกษียญอายุจากสำนักงาน กกต. และคนที่รู้จักใกล้ชิดกับ 4 กกต. ชุดปัจุบัน

นายศุภชัย สมเจริญ ประธาน คณะกรรมการการเลือกตั้ง

มติชนออนไลน์ รายงานถึงการให้สัมภาษณ์ของนายศุภชัย สมเจริญ ประธาน กกต. คนปัจจุบัน ซึ่งเผยถึงผลการประชุมของ กกต. เมื่อวันที่ 31 ก.ค. ที่ผ่านมาว่า ที่ประชุม กกต. ได้ดำเนินการพิจารณาคัดเลือกผู้ตรวจการเลือกตั้งทั้ง 77 จังหวัดเรียบร้อยแล้ว โดยเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งการพิจารณาใช้เวลาคัดเลือกนาน เพราะต้องดูหลายเรื่อง เช่น มีประสบการณ์ผ่านงานเลือกตั้งมาหรือไม่  เนื่อกงจากต้องไปควบคุมการทำงานของกรรมการประจำหน่วย และหากพบว่ามีการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง ก็ต้องมีการรายงานให้กับ กกต. ทราบ ยืนยันว่าไมได้เร่งพิจารณา แม้ตอนนี้กำลังจะมี กกต. ชุดใหม่เข้าทำหน้าที่ แต่เห็นว่าถ้าจะมีการเลือกตั้งในต้นปีหน้า หากรอให้ กกต. ชุดใหม่มาคัดเลือกอาจจะดำเนินการไม่ทัน เนื่องจากตามกระบวนการ เมื่อได้รายชื่อมาจะต้องมีการส่งไปยังจังหวัด เพื่อปิดประกาศราบชื่อ เปิดโอกาสให้มีการคัดค้าน ถ้าพบว่ามีคุณสมบัติที่ไม่เหมาะสม เช่นไม่เป็นกลาง ฝักใฝ่การเมือง มีคดี ต้องโทษที่ไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้ตรวจการเลือกตั้ง ต้องมีการคัดเลือกใหม่ และก็ต้องมีการจัดการอบรม ให้ความรู้เพื่อความเข้าใจ เรื่องข้อกฎหมาย และการปฏิบัติต่างๆ ไม่อยากให้มองว่า เร่งพิจารณาเพราะต้องวางคนของตนเอง เพราพคนจะเป็นผู้ตรวจการเลือกตั้งต้องสมัครผ่านจัดหวัดต่างๆ และต้องเป็นคนที่มีภูมิลำเนาในจังหวัดนั้นๆ

“เราไม่สามารถจะมีคนของตัวเองที่มีภูมิลำเนาใน 77 จังหวัดได้ ในความคิดเราต้องทำให้ดี เราจะทำไม่ดีไปเพื่ออะไร ก่อนจะพ้นจากหน้าที่เราต้องทำความดี ไม่ใช่เราเลิกจากตรงนี้แล้ว สุดท้ายต้องไปอยู่ในที่จำกัด เราต้องทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด อย่าคิดว่าเขาปลดเราแล้ว เราก็นั่งกินเงินหลวงฟรีไปวันๆ มันไม่ใช่เรื่อง ต้องทำงานคุ้มค่า อันไหนเป็นประโยชน์บ้านเมืองเราก็ต้องทำ” ศุภชัย กล่าว

สำหรับการประชุม ได้มีการพิจารณาเลือกผู้ตรวจการเลือกตั้งทั้ง 77 จังหวัด จากบัญชีราบชื่อที่แต่ละจังหวัดคัดเลือกส่งมาจังหวัดละ 16 คน เพื่อให้ กกต. พิจารณาเลือกให้เหลือจังหวัดละ 8 คน รวมทั้งทั้งหมดมี 616 คน โดยการพิจารณาของ กกต. เป็นการลงคะแนนลับ ขั้นที่เหลือต่อจากนี้สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง จะจัดทำบัญชีผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อส่งไปยังสำนักงาน กกต. ประจำจังหวัดทั้ง 77 แห่ง เพื่อประกาสเป็นเวลา 15 วัน ให้ประชาชนได้รับทราบ และสามารถให้ข้อมูลเพิ่ม หากพบว่าผู้ที่รับการคัดเลือกมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม หากมีการคัดค้าน กกต. จะดำเนินการคัดเลือกใหม่ แต่หากไม่มีการคัดค้าน กกต. จะประกาศขึ้นทะเบียนเป็นเวลา 5 ปี ให้บุคคลทั้งหมดเป็นผู้ตรวจการเลือกตั้ง

เมื่อถึงช่วงเวลาที่มีการเลือกตั้ง กกต.จะแต่งตั้งผู้ตรวจการเลือกตั้งประจำจังหวัดด้วยการจับฉลาก โดยแบ่งเป็น หนึ่ง ผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัด หรือ “คนในพื้นที่” จำนวน  2 คน และสอง ผู้ที่ไม่มีภูมิลำเนาในจังหวัด หรือ “คนนอกพื้นที่” ทั้งนี้ ในกรณีที่ไม่อาจแต่งตั้งผู้ตรวจการเลือกตั้ง “คนในพื้นที่” ได้ ให้กกต.แต่งตั้ง “คนนอกพื้นที่” แทนได้ โดย กกต.จะต้องมีคำสั่งแต่งตั้งเสร็จไม่ช้ากว่า 10 วัน แต่ไม่เร็วกว่า 30 วันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งมีผลใช้บังคับ และทำหน้าที่จนถึงวันประกาศผลการเลือกตั้ง โดยจะมีระยะเวลาทำงานประมาณ 60 วัน ได้รับค่าตอบแทน 5 หมื่นบาทต่อเดือน เบี้ยเลี้ยงวันละ 400 บาท ค่าที่พัก 1500 บาท และค่าพาหนะ 1000 บาทต่อวัน

อย่างไรก็ตาม การคัดเลือกดังกล่าวถูกตั้งคำถามถึงความเหมาะสม เพราะ กกต. ชุด ปัจจุบัน ทราบดีอยู่แล้วว่าจะมี กกต. ชุดใหม่เข้ามาทำงาน รวมทั้งก่อนหน้านี้ กกต. ได้วางแนวทางไว้ว่าจะดำเนินการเพียงแค่ขั้นตอนของการเปิดรับสมัครเท่านั้น ส่วนการคัดเลือกให้เป็นหน้าที่ของ กกต. ชุดใหม่ ขณะเดียวกันมีรายงานว่าผู้สมัครส่วนใหญ่เป็นผู้ที่เกษียญอายุจากสำนักงาน กกต. และบางคนเป็นผู้ตรวจที่กำลังจะเกษียณอายุ รวมทั้งบุคคลที่รู้จักใกล้ชิดกับ กกต. ทั้ง 4 คน

สำนักข่าวประชาไท รายงานด้ยว่า กลไกการเลือกตั้งที่มีผู้ตรวจการเลือกตั้งเพิ่มเข้ามานี้จะทำงบค่าใช้จ่ายสำหรับการเลือกตั้งจากเดิมในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาใช้งบประมาณไปทั้งสิ้น 3000 ล้านบาท เพิ่มสูงขึ้นเป็น 5800 ล้านบาท โดยผู้ตรวจการเลือกตั้งนี้จะทำหน้าที่แทน กกต. จังหวัดที่ได้ยกเลิกไป จาการประกาศใช้ พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 โดยมีเจตนารมย์เพื่อแก้ปัญหาความสัมพันธ์ส่วนตัวที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างกกต.จังหวัดกับนักการเมืองท้องถิ่น บนฐานคิดที่ว่าผู้ตรวจการเลือกตั้งซึ่งเป็นคนนอกพื้นที่จะช่วยปราบปรามการทุจริตเลือกตั้งและทำให้เกิดการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรรมได้

อย่างไรก็ตาม สมชัย ศรีสุทธิยากร อดีต กกต. เคยให้สัมภาษณ์กับ ไทยรัฐออนไลน์ ว่า คุณสมบัติที่วางไว้สำหรับผู้ตรวจการเลือกตั้งนั้น สุดท้ายแล้วจะทำให้ได้ผู้ตรวจการเลือกตั้งที่เป็นอดีตข้าราชการเข้ามาทำหน้าที่ เพราะการเป็นผู้ตรวจการเลือกตั้งนั้นเรียกร้องเวลาทำงานเต็มเวลาตลอด 60 วัน จึงทำให้บุคคลที่ทำงานอยู่ในภาคเอกชน หรือภาคประชาสังคม ไม่สามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้

Source:prachatai.com/www.matichon.co.th/