ทะเลาะไม่จบ! มุสลิมไทยละหมาดอีด 2 วัน(บ้าไปแล้ว)

5317

มุสลิมประเทศไทย ยังคงแตกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายที่เดินตามฮาดิษ เรื่องวันอารอฟะซ์ หรือตามประกาศของซาอุฯ กับฝ่ายที่เดินตามนบีว่าดารดูดวงจันทร์ ตามประเทศของจุฬาราชมนตตรี ทำให้มีการละหมาด 2 วัน ในบางมัสยิด อย่างมัสยิดเพื่อศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย

กลับมาเป็นที่ถกเถียงกันครั้งสำหรับการกำหนดวันอีดิ้ลอัฎฮา หลังสำนักจุฬาราชมนตรี ได้ประกาศผลการดูดวงจันทร์ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม กำหนดวันที่ 1 เดือนซุ้ลฮิจยะห์ ฮ.ศ.1439 ตรงกับวันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ.2561
และวันอีฎิ้ลอัดฮา ฮ.ศ.1439 ตรงกับวันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ.2561 หลังจากนั้น ไม่นานซาอุดิอาระเบียประกาศด้วยคำนวณ กำหนดให้  กำหนดให้วันที่ 1 เดือนซุ้ลฮิจยะห์ ฮ.ศ.1439 ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2561 และวันอีฎิ้ลอัดฮา ฮ.ศ.1439 ตรงกับวันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2561

การประกาศไม่ตรงกันนำไปสู่ปัญหาความขัดแย้งระหว่างมุสลิม 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นมุสลิมคนส่วนมากปฏิบัติตามประกาศของสำนักจุฬาราชมนตรี ซึ่งเป็นไปตามฮาดิษของนบี ในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเป็นสายใหม่และเดินตามแนวทางของซาอุฯ มาตลอด ยึดตามประกาศของซาอุฯ โดยยึดฮาดิษที่ระบุว่า เรื่องวันอารอฟะห์ว่า มีวันเดียว ซึ่งฝ่ายนี้ตีความคำว่าวันเดียว คือวันที่กำหนดที่ซาอุดิอารเบียเท่านั้น  จะนี้จะถือศีลอดในวันอารอฟะห์วันที่ 20 ส.ค. และละหมาดอีดวันที่ 21 ส.ค. ก่อนซาอุฯ 4-5 ชั่วโมง โดยอ.ชาฟีอี (ทวี)นภากร อิหม่ามประจำมูลนิธิเพื่อศูนย์กลางฯ ได้ส่งข้อความในไลน์ เชิญชวนละหมาดอีด วันที่ 21 ส.ค. และนัดละศีลอดค่ำวันที่ 20 ส.ค.

ขณะที่มุสลิมส่วนใหญ่ของประเทศ รวมทั้ง คณะกรรมการมูลนิธิเพื่อศูนย์กลางฯ กำลังละหมาดอีด วันที่ 22 สิงหาคม

ก่อนหน้านี้ สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลา ได้โพสต์ บทความ

10 เหตุผลที่การละหมาดอีดคนละวันกับผู้นำขัดแย้งกับซุนนะฮฺ ระบุว่า

  1. การพยายามปลุกเร้าให้ผู้คนทำตามความเห็นของตนในการละหมาดอีดตามซาอุฯ โดยกล่าวหาว่าการออกอีดตามผลการดูดวงจันทร์ในประเทศเป็นบิดอะฮฺ คือ ความคิดสุดโต่งอย่างหนึ่ง เพราะปฏิเสธความเห็นต่างในประเด็นปลีกย่อยทางศาสนา(คิลาฟียะฮฺ) ซึ่งซุนนะฮฺจริงๆจะยอมรับความเห็นต่างในประเด็นปลีกย่อยเช่นนี้ และไม่กล่าวหาความเห็นต่างว่าบิดอะฮฺ ตราบเท่าที่ความเห็นต่างนั้นมาจากการตีความตัวบท หรือการวินิจฉัยที่ให้ผลต่างกัน ตรงกันข้าม หากพิจารณาซุนนะฮฺจริงๆจะพบว่านบีตำหนิการปฏิบัติที่นำสู่ความแตกแยกในหมู่ผู้เห็นต่าง
    ดั้งนั้นการปฏิเสธความเห็นต่าง และดึงดันปฏิบัติตามความเห็นของตน แม้จะเกิดความแตกแยกในสังคม จึงเป็นความสุดโต่งที่ขัดแย้งกับซุนนะฮฺ
  2. การประกาศเชิญชวนให้มุสลิมไทยออกอีดตามซาอุฯ ขณะที่อำนาจการประกาศเป็นของผู้นำ เป็นการก้าวล่วงอำนาจของผู้นำ ซึ่งขัดแย้งกับซุนนะฮฺ และวิถีปฏิบัติของสะลัฟซอและห์ที่จะไม่ก้าวล่วงอำนาจนั้น
  3. วิถีปฏิบัติของซอฮาบะฮฺเมื่อเห็นต่างกับผู้นำในประเด็นปลีกย่อย แม้จะเห็นว่าผู้นำทำไม่ถูกต้อง แต่หากจะปฏิบัติตามความเห็นของตนแล้วเกิดความขัดแย้ง ก็พร้อมจะสละความเห็นของตนเสีย เพื่อรักษาไว้ซึ่งเอกภาพของประชาคม เช่น การกระทำของ อิบนุ มัสอูด กรณีการละหมาดที่มินา ซึ่งท่านละหมาด 4 ร็อกอะฮฺตามอิหม่ามอุสมาน แม้จะเห็นว่าที่ถูกแล้วควรละหมาด 2 ร็อกอะฮฺก็ตาม
    การขัดแย้งกับผู้นำแม้ในเรื่องละหมาดที่มิใช่ฟัรฎู เช่น ละหมาดอีด จึงเป็นการเดินสวนทางกับวิถีแห่งสะลัฟโดยแท้
  4. การประกาศละหมาดอีดคนละวันกับผู้นำ สร้างความแตกแยกให้กับสังคมมุสลิมอย่างเด่นชัด มัสยิดเดียวแต่กลับละหมาดอีด 2 วัน 2 กลุ่ม และแม้กระทั้งคนในครอบครัวเดียวกัน บางครอบครัวยังละหมาดอีดกันคนละวันย่อมขัดกับซุนนะฮฺที่ถือเอกภาพเป็นเรื่องใหญ่ และห้ามการสร้างความแตกแยก แม้ผู้นั้นคิดว่าทำถูกก็ตาม
  5. การละหมาดไม่ว่าจะเป็นละหมาดฟัรฎู หรือละหมาดอีดล้วนเป็นชิอารอิสลามที่เป็นตัวหล่อหลอมความเป็นเอกภาพของมุสลิม และเป็นตัวสร้างพลังอันแข็งแกร่งแก่อุมมะฮฺ แต่การทำให้คนต้องละหมาดอีดคนละวันในชุมชนและประเทศเดียวกัน ขัดแย้งสวนทาง กับเจตนารมณ์ดังกล่าวอย่างสิ้นเชิง
  6. การประกาศวันอีดเสียเองโดยขัดแย้งกับผู้นำ ทั้งๆที่เป็นสิ่งมะรูฟในสังคมไทยว่าอำนาจการประกาศเป็นของผู้นำ เท่ากับเป็นการตั้งตนขึ้นเป็นผู้นำทับซ้อนกับผู้นำที่สังคมให้การยอมรับอยู่แล้ว
    การตั้งตนเป็นผู้นำทับซ้อนกับผู้นำที่มีความชอบธรรมอยู่แล้ว เป็นความผิดถึงขั้นที่ซุนนะฮฺใช้ให้ประหารบุคคลนั้นเสีย
  7. การประกาศวันอีดคนละวันกับผู้นำสร้างความเสื่อมเสียแก่ภาพลักษณ์มุสลิมในประเทศ เพราะทำให้ชนต่างศาสนิกมองเห็นรอยปริแยกในสังคมมุสลิมชัดเจน มองเห็นความไม่มีวินัย และไม่มีเอกภาพในการประกอบศาสนกิจ ทำให้ภาพลักษณ์ของอิสลามยิ่งมัวหมองซึ่งสวนทางกับซุนนะฮฺที่พยายามรักษาภาพลักษณ์ของอิสลามให้งดงาม กระทั่ง นบี ซ็อลลอลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ยอมกล้ำกลืนความเจ็บปวดจากการกระทำของเหล่ามุนาฟิกีน โดยไม่ทำอันตรายใดๆแก่คนเหล่านั้น เนื่องจากเกรงจะเกิดภาพลักษณ์มุสลิมฆ่ากันเอง
  8. การประกาศเชิญชวนให้ละหมาดอีดคนละวันกับผู้นำสะท้อนว่าผู้เรียกร้องมิได้ใช้ ฟิกฮฺ อัล เอาละวียาต มาประกอบการพิจารณา ซึ่งโดยซุนนะฮฺแล้วการให้ความสำคัญ กับการรักษาไว้ซึ่งเอกภาพของสังคมมีความสำคัญในลำดับต้นก่อนการกระทำอื่นๆที่ไม่ใช่ข้อบังคับ ยิ่งหากลงมือทำแล้วสังคมอาจจะแตกแยก ท่าน นบี ซ็อลลอลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม จะละเว้นสิ่งนั้นเสีย เช่น กรณีการละเว้นที่จะเคลื่อนย้ายกะบะฮฺไปไว้ที่เดิม ซึ่งท่านไม่ทำทั้งๆที่อยากทำเนื่องจากเกรงความแตกแยกที่อาจเกิดขึ้น
    การละหมาดอีดคนละวันกับผู้นำโดยอ้างว่าตามซุนนะฮฺ ทั้งๆที่เมื่อละหมาดแล้วเกิดความแตกแยกจึงสวนทางกับซุนนะฮฺโดยปริยาย.
  9. การอ้างว่าเอกภาพของประชาชาติจะเกิดเมื่อทุกคนละหมาดอีดตามการประกาศของซาอุดีฯเป็นการอ้างที่ขัดแย้งกับความจริงทางธรรมชาติ และความจริงทางสังคม
    ความจริงทางธรรมชาติคือ โลกมีลักษณะกลมทำให้คนบนโลกมองเห็นดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ไม่ตรงกันนำสู่การปฏิบัติศาสนกิจต่างเวลากันเป็นธรรมดา ยิ่งอยู่ห่างไกลกันมากเท่าใด เวลาการปฏิบัติศาสนกิจยิ่งห่างกันมากขึ้นด้วย
    เวลาการปฏิบัติที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่จึงมิใช่ความขัดแย้ง แต่การเดินสวนทางกับธรรมชาติต่างหากที่จะก่อความขัดแย้งในระหว่างคนที่อยู่ในพื้นที่เดียวกัน และภายใต้ผู้นำคนเดียวกัน.
    ส่วนความจริงทางสังคม คือ ในหมู่นักปราชญ์มุสลิมมีความเห็นต่างในประเด็นปลีกย่อยทางศาสนาอยู่มากมาย รวมทั้งการออกอีดิลอัฎฮาด้วย เห็นต่างว่าเมื่อที่หนึ่งที่ใดเห็นดวงจันทร์จะมีผลให้ภูมิภาคอื่นต้องนำการเห็นนั้นมากำหนดวันสำคัญของตนเองด้วยหรือไม่ หรือแต่ละภูมิภาคมีสิทธิ์ที่จะกำหนดวันสำคัญตามผลการดูดวงจันทร์ในท้องถิ่นของตนเอง แต่ละฝ่ายล้วนต้องมีเหตุผลที่ล้วนยึดโยงไปยังซุนนะฮฺ และแนวปฏิบัติของสะลัฟซอและห์ทั้งสิ้น
    ยิ่งปัจจุบันที่มีการแบ่งแยกดินแดนของมุสลิมออกเป็นประเทศต่างๆมากมาย แต่ละประเทศมีเอกราชของตนเอง การแสวงหาเอกภาพของประชาชาติอิสลามทั้งหมด ผ่านการละหมาดอีดพร้อมเพรียงกัน โดยยึดการวุกูฟเป็นหลัก ยิ่งเป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น
    การตามซุนนะฮฺต้องอยู่กับความจริง(ฟิกฮุลวากิอฺ) ยอมรับในข้อจำกัดต่างๆที่มีอยู่แล้ว และดำเนินการไปตามความเป็นจริงนั้น มิใช่ดำเนินการตามอุดมคติและความคิด โดยไม่คำนึงถึงสถานการณ์ ความเป็นจริงที่ดำรงอยู่ จนกลายเป็นการสร้างความเสื่อมเสียแก่สังคมแทน
  10. การตามซุนนะฮฺเฉพาะประเด็นการละหมาดแต่ไม่ตามซุนนะฮฺในประเด็นการปกครอง เป็นการแยกส่วนซุนนะฮฺ ซึ่งไม่ถือว่าเป็นการตามซุนนะฮฺจริงๆ เพราะซุนนะฮฺคือ แนวทางการใช้ชีวิตทุกมิติ ที่บูรณาการทุกส่วนเข้าด้วยกันอย่างบรรสานสอดคล้องไม่มีสภาวะขัดแย้งกันเองอยู่ในซุนนะฮฺ แม้แต่การละหมาดเองก็สอนให้ผู้ละหมาดผ่อนปรนการปฏิบัติบางอย่างของตนเอง เพื่อให้สอดคล้องกับผู้นำละหมาด(อิหม่าม) เช่น กรณีการรุกัวะตามอิหม่ามทันทีโดยไม่ต้องอ่านฟาติฮะฮฺ หรือการยืนตามอิหม่ามโดยไม่ต้องนั่งตะซะฮุด เป็นต้น. และจะแยกตัวจากผู้นำได้เมื่อผู้นำทำให้การละหมาดเป็นโมฆะเท่านั้น
    แต่การตามซุนนะฮฺแบบแยกส่วน กลับทำให้คนละหมาดอีดคนละวันกับผู้นำ ปฏิบัติสิ่งที่สวนทางกับที่ละหมาดสอน โดยการที่ผู้นำทำอย่างหนึ่งแล้วตนเองกลับทำอีกอย่าง ทั้งๆที่เป็นปัญหาคิลาฟียะฮฺ ซึ่งผู้นำมีสิทธิ์เลือกความเห็นที่คิดว่าตามซุนนะฮฺมากที่สุดได้ แม้จะไม่ตรงกับความเห็นของคนบางกลุ่มก็ตาม
    การที่ผู้นำเลือกความเห็นหนึ่งแล้ว คนบางกลุ่มนอกจากไม่ยอมทำตาม ซ้ำยังแยกตัวออกเป็นอิสระอีกต่างหาก เสมือนหนึ่งผู้นำทำสิ่งที่ร้ายแรงชนิดหลุดจากความเป็นมุสลิม สะท้อนว่ากลุ่มที่แยกตัวนี้ไม่ได้เอาซุนนะฮฺนบีที่ใช้ในส่วนของการปกครองเลย
    ประเด็นความเห็นต่างเช่นนี้ไม่มีใครสามารถบังคับให้ผู้อื่นเห็นคล้อยตามตน และปฏิบัติตามความเห็นของตนได้ การจะให้ทุกภูมิภาคออกอีดโดยดูการวูกุฟเป็นหลักพร้อมเพรียงกันทุกประเทศที่มีมุสลิมอยู่จึงไม่เคยเกิดขึ้นตลอด 1400 กว่าปีที่ผ่านมา

    https://www.facebook.com/islamicsk/photos/a.972283632794422.1073741828.972251282797657/1951375524885223/?type=3&theater