เหตุไฟไหม้ครั้งใหญ่ที่สุดในอิสราเอลซึ่งเริ่มขึ้นในวันที่ 30 เมษายน 2568 และยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดนั้น มีสาเหตุประการหนึ่งมาจากการปลูกต้นสนจำนวนมากโดยรัฐบาลอิสราเอล
.
.
ย้อนไปในปี ค.ศ. 1930 หรือเมื่อ 95 ปีที่แล้ว กองทุนแห่งชาติของยิว หรือชื่อภาษาอังกฤษว่า The Jewish National Fund (JNF) ที่ระบุวัตถุประสงค์ไว้ชัดเจนว่าเป็นกองทุนเพื่อ “การกู้ชาติและทวงคืนดินแดนของชาวยิว” (Redeems and Reclaims the Land of Israel) ได้นำต้นสนจากยุโรปจำนวนมากมาปลูกในพื้นที่ในแถบชนบทของปาเลสไตน์ เพื่อเตรียมการยึดครองดินแดนของชาวพื้นเมือง โดยพวกเขาทำได้สำเร็จส่วนหนึ่งในปี ค.ศ. 1948 เมื่อสามารถก่อตั้งรัฐอิสราเอลขึ้นมาได้โดยการสนับสนุนจากอังกฤษและพันธมิตรในยุโรป
ในปีค.ศ.1935 กองทุนแห่งชาติยิว หรือ JNF ได้ปลูกต้นสนไปถึง 1.7 ล้านต้น ครอบคลุมบริเวณถึง 1,750 เอเคอร์ และตลอดระยะเวลา 50 ปี
.
JNF ได้ปลูกต้นสนไปกว่า 260 ล้านต้น โดยส่วนใหญ่ปลูกในบริเวณดินแดนของชาวปาเลสไตน์ที่ถูกยึดครองโดยอิสราเอล การกระทำดังกล่าวเป็นความพยายามอย่างยิ่งยวดของอิสราเอลที่จะปกปิดความเสียหายอันเกิดจากการทำลายล้างหมู่บ้านชาวปาเลสไตน์ รวมทั้งเพื่อลบล้างอดีตของชาวพื้นเมืองเจ้าของดินแดนแห่งนี้
JNF ได้ปลูกต้นสนไปกว่า 260 ล้านต้น โดยส่วนใหญ่ปลูกในบริเวณดินแดนของชาวปาเลสไตน์ที่ถูกยึดครองโดยอิสราเอล การกระทำดังกล่าวเป็นความพยายามอย่างยิ่งยวดของอิสราเอลที่จะปกปิดความเสียหายอันเกิดจากการทำลายล้างหมู่บ้านชาวปาเลสไตน์ รวมทั้งเพื่อลบล้างอดีตของชาวพื้นเมืองเจ้าของดินแดนแห่งนี้
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กองทุนแห่งชาติยิว ได้พยายามทุกวิถีทางที่จะลบล้างอารยธรรมและประวัติศาสตร์ของชาวปาเลสไตน์ และขณะเดียวกันชาวยิวเหล่านี้ก็พยายามทำให้อิสราเอลมีลักษณะเหมือนยุโรป ซึ่งเป็นดินแดนที่พวกเขาเคยอยู่อาศัยก่อนการอพยพเข้ามายึดครองดินแดนจากชนพื้นเมืองชาวปาเลสไตน์
.
พืชพรรณและป่าไม้ในปาเลสไตน์ต่างถูกทำลายล้าง ต้นมะกอก ซึ่งเป็นพืชพื้นเมืองของปาเลสไตน์ถูกทำลายและปลูกแทนที่ด้วยต้นสน บริเวณหนึ่งที่ถูกไฟไหม้อย่างรุนแรงในปี ค.ศ. 2016 คือทางตอนใต้ของภูเขาคาเมล (Mount Camel) ซึ่งชาวอิสราเอลเรียกขานกันว่าเป็น Little Switzerland แต่ในปีนั้น “ดินแดนจำลองแห่งสวิสเซอร์แลนด์” แห่งนี้ถูกไฟไหม้จนแทบไม่เหลือซาก โดยก่อนหน้านั้นในปี ค.ศ. 2010 ก็ได้เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ขึ้นในอิสราเอลในบริเวณดังกล่าวแล้วเช่นกัน
พืชพรรณและป่าไม้ในปาเลสไตน์ต่างถูกทำลายล้าง ต้นมะกอก ซึ่งเป็นพืชพื้นเมืองของปาเลสไตน์ถูกทำลายและปลูกแทนที่ด้วยต้นสน บริเวณหนึ่งที่ถูกไฟไหม้อย่างรุนแรงในปี ค.ศ. 2016 คือทางตอนใต้ของภูเขาคาเมล (Mount Camel) ซึ่งชาวอิสราเอลเรียกขานกันว่าเป็น Little Switzerland แต่ในปีนั้น “ดินแดนจำลองแห่งสวิสเซอร์แลนด์” แห่งนี้ถูกไฟไหม้จนแทบไม่เหลือซาก โดยก่อนหน้านั้นในปี ค.ศ. 2010 ก็ได้เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ขึ้นในอิสราเอลในบริเวณดังกล่าวแล้วเช่นกัน
.
ความจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งและเป็นเรื่องที่ทำให้ JNF ต้องประสบกับความเสียหายอย่างหนักคือ ต้นสนที่อิสราเอลพยายามนำมาปลูกในดินแดนปาเลสไตน์นั้นไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพภูมิอากาศของท้องถิ่นได้ เช่นเดียวกับชาวอิสราเอลที่ต่างล้มเหลวในการปรับตัวเข้ากับดินแดนตะวันออกกลาง
ความจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งและเป็นเรื่องที่ทำให้ JNF ต้องประสบกับความเสียหายอย่างหนักคือ ต้นสนที่อิสราเอลพยายามนำมาปลูกในดินแดนปาเลสไตน์นั้นไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพภูมิอากาศของท้องถิ่นได้ เช่นเดียวกับชาวอิสราเอลที่ต่างล้มเหลวในการปรับตัวเข้ากับดินแดนตะวันออกกลาง
จากข้อมูลทางสถิติของ JNF ต้นสนที่นำมาปลูกจำนวน 6 ใน 10 ต้นไม่สามารถอยู่รอดได้ และส่วนที่เหลือก็ได้กลายเป็นกับดักเชื้อเพลิงอย่างดี ต้นสนเหล่านี้ โดยเฉพาะพันธุ์ที่ชื่อว่า สนอเลปโป หรือ Aleppo pine (Pinus halepensis) ซึ่งปลูกไว้จำนวนมากนั้นติดไฟได้ง่ายมาก เพราะมีเนื้อไม้ที่มียางไม้และมีลักษณะใบแหลมที่หนาแน่น ทำให้กลายเป็นแหล่งกำเนิดที่อันตรายของไฟป่า โดยเฉพาะในสภาพอากาศที่ร้อน แห้ง และมีลมแรง ป่าสนอเลปโปเหล่านี้ซึ่งปลูกเป็นจำนวนมากที่เนินเขาเยรูซาเล็ม ภูเขาคาเมล และเบน เชเมน มักจะได้รับความเสียหายซ้ำๆ จากไฟป่า
.
ดังนั้นทุกช่วงปลายฤดูร้อน ป่าสนทุกแห่งในอิสราเอลจึงกลายเป็นหลุมพรางแห่งอเวจีที่รอการเผาไหม้ เหตุเพลิงไหม้ครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของอิสราเอลในปลายเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 2025 และขณะนี้ยังไม่สามารถควบคุมเพลิงได้นั้นก็มีสาเหตุหลักประการหนึ่งมาจากการที่อิสราเอลได้วางกับดักตัวเองไว้นั่นเอง
ดังนั้นทุกช่วงปลายฤดูร้อน ป่าสนทุกแห่งในอิสราเอลจึงกลายเป็นหลุมพรางแห่งอเวจีที่รอการเผาไหม้ เหตุเพลิงไหม้ครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของอิสราเอลในปลายเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 2025 และขณะนี้ยังไม่สามารถควบคุมเพลิงได้นั้นก็มีสาเหตุหลักประการหนึ่งมาจากการที่อิสราเอลได้วางกับดักตัวเองไว้นั่นเอง
ถึงแม้อิสราเอลจะมีความเป็นเลิศด้านนิวเคลียร์ มีกองกำลังทางทหารที่โหดเหี้ยมได้เทียมทาน รวมทั้งมีหน่วยราชการลับมอสสาดและขบวนการลอบบี้กระจัดกระจายอยู่ทั่วโลก แต่อิสราเอลก็ดูจะเปราะบางเสียเหลือเกิน ชาวอิสราเอลช่างเป็นคนแปลกหน้าต่อดินแดนที่พวกเขาอ้างเสมอว่าเป็นเจ้าของและต้องการยึดครองแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เช่นเดียวกับต้นสนที่พวกเขานำมาปลูกในปาเลสไตน์ ขบวนการไซออนิสต์ ชาวอิสราเอล และรัฐเถื่อนของพวกเขาต่างก็เป็นสิ่งแปลกปลอมในพื้นที่แห่งนี้ และธรรมชาติก็ดูจะไม่ต้อนรับพวกเขาเอาเสียเลย
.
.
แปลและเรียบเรียงโดย สุรัยยา สุไลมาน
อ้างอิงจาก:
Why Israel is Burning? ของ Gilad Atzmon
What sparked the wildfires in Israel?
ข้อมูลเพิ่มเติม:
ข้อมูลและคำอธิบายประกอบภาพจากอัลจาซีราที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกัน
บรรดาสาวกไซออนิสต์พยายามโยนความผิดเรื่องไฟป่าให้ชาวปาเลสไตน์ แต่ไม่สำเร็จเพราะใคร ๆ ก็รู้ว่านักเผาตัวยงคือพวกตั้งถิ่นฐานผิดกฏหมายชาวยิวที่ใช้วิธีเผาไล่ที่ชาวปาเลสไตน์ตลอดมา